ดูกันตาแฉะ! "ทีวีดิจิทัล" แห่ซื้อซีรีส์ตปท. ดันลิขสิทธิ์เกาหลีพุ่ง3เท่า

ดูกันตาแฉะ! "ทีวีดิจิทัล" แห่ซื้อซีรีส์ตปท. ดันลิขสิทธิ์เกาหลีพุ่ง3เท่า

ดูกันตาแฉะ! "ทีวีดิจิทัล" แห่ซื้อซีรีส์ตปท. ดันลิขสิทธิ์เกาหลีพุ่ง3เท่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระเบิดสมรภูมิทีวีดิจิทัล หน้าใหม่ตบเท้าซื้อคอนเทนต์ต่างประเทศ ทั้งซีรีส์-ภาพยนตร์-วาไรตี้ เหตุผลิตรายการไม่ทัน ทั้งตอบโจทย์เรื่องธุรกิจ ถูกกว่าผลิตเอง ดันค่าลิขสิทธิ์พุ่ง 2-3 เท่าตัว "เวิร์คพอยท์" เปิดแผนเฟส 2 ส่งละครไทยทดลองตลาด ก.ค.นี้

การแพร่ภาพสัญญาณในระบบดิจิทัล ที่เริ่มทดลองออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ส่งผลให้จำนวนช่องฟรีทีวีเพิ่มจำนวนขึ้นเป็น 24 ช่อง ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมทีวีขนานใหญ่ ซึ่งทุกค่ายต่างพยายามหา "คอนเทนต์" เด็ดมามัดใจผู้ชมเพื่อชิงเม็ดเงินโฆษณากันอย่างคึกคัก 

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อกำหนดของ กสทช.ให้ทุกช่องต้องออกอากาศภายในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ ก็ส่งผลให้การซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศกลายเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของทีวีดิจิ ทัล ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งเรื่องธุรกิจและเวลาที่กระชั้นชิดในการแพร่ภาพ โดยเฉพาะกับซีรีส์และภาพยนตร์ที่สามารถเข้าถึงผู้ชมได้ในวงกว้าง โดยพบว่ามีการไปซื้อซีรีส์ทั้งเกาหลี ไต้หวัน จีนและอื่น ๆ เข้ามา

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์บรอดคาสติ้ง จำกัด ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล "พีพีทีวี" เปิดเผยว่า การนำคอนเทนต์ต่างประเทศหลาย ๆ ประเภท โดยเฉพาะซีรีส์เอเชียและภาพยนตร์มาออกอากาศ ไม่ได้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการทีวี เพราะเมื่อ 40 ปีก่อน ช่อง 3 ก็เคยนำหนังจีนมาออกอากาศในช่วงเริ่มต้นเช่นกัน เพราะผลิตคอนเทนต์ไม่ทัน หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ ทยอยลดสัดส่วน 

เช่นเดียวกับการเริ่มต้นของที วีดิจิทัลปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้เล่นรายใหม่ อาทิ พีพีทีวี ไทยรัฐ เวิร์คพอยท์ ครีเอทีฟทีวี เป็นต้น ที่นำคอนเทนต์ต่างประเทศมาออกอากาศ ทั้งนี้ มองว่ามาจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.สถานีทีวีผลิตรายการไม่ทันออกอากาศ 2.ค่าโปรดักชั่นการผลิตละครสูงกว่าการซื้อคอนเทนต์ต่างประเทศประมาณ 2 เท่าตัว 

3.ผู้ผลิตรายการและสถานีทีวีที่เกิดใหม่ไม่มีนักแสดงใน สังกัด และ 4.ซีรีส์หรือคอนเทนต์ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น อเมริกา จะเป็นรายการที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศมาก่อนแล้ว ซึ่งการันตีเบื้องต้นว่ารายการน่าจะได้รับความนิยมจากผู้ชมด้วย

ด้าน นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานดิจิทัลทีวี บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล "เวิร์คพอยท์ ครีเอทีฟทีวี" กล่าวว่า การเริ่มต้นออกอากาศของช่องทีวีดิจิทัลตั้งแต่ 25 เมษายนที่ผ่านมา พบว่าซีรีส์และภาพยนตร์ต่างประเทศกลายเป็นคอนเทนต์ที่ทุกสถานีนำมาออกอากาศ ซึ่งบริษัทก็ได้นำซีรีส์เกาหลีมาออกอากาศเช่นกัน เนื่องจากไม่สามารถผลิตคอนเทนต์ไทยได้ทันตามกำหนดออกอากาศ อีกทั้งการซื้อลิขสิทธิ์ดังกล่าวถือว่ามีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับการ ผลิตคอนเทนต์ใหม่ 

"จากระยะเวลาการประมูลช่องทีวีดิจิทัล ปลายที่ผ่านมา กำหนดต้องเริ่มออนแอร์ภายในวันที่ 25 พ.ค.นี้ ทำให้ผลิตโลคอลคอนเทนต์ไม่ทัน ดังนั้น การซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศจึงน่าจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุด"

นายชลากรณ์กล่าวอีกว่า จากแนวโน้มดังกล่าวส่งผลให้ราคาคอนเทนต์ต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม 2-3 เท่าตัว โดยเฉพาะซีรีส์และภาพยนตร์จากต่างประเทศ เนื่องจากทุกช่องต่างให้ความสนใจนำคอนเทนต์เหล่านี้มาออกอากาศในช่วงเริ่ม ต้น ในส่วนของบริษัทถือว่าไม่ได้รับผลกระทบจากราคาคอนเทนต์ที่ปรับตัวสูงขึ้น เพราะได้ซื้อลิขสิทธิ์ต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้แล้ว 

แม้ว่าซีรีส์และ ภาพยนตร์เอเชียจะได้รับความนิยมจากผู้ชม แต่ก็ยังไม่เทียบเท่ากับละครไทยที่มีความสด ใหม่ และใกล้ตัวผู้ชม ดังนั้น ในเดือนกรกฎาคมนี้ บริษัทจึงเตรียมส่งละครชุดตามแบบฉบับของเวิร์คพอยท์มาออกอากาศในวันเสาร์และ อาทิตย์เพื่อทดลองตลาด และศึกษาพฤติกรรมของผู้ชมว่าให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด ก่อนจะพิจารณาขยายระยะเวลาการออกอากาศละครไทยในอนาคต 

ก่อนหน้านี้ นายจักรพงษ์ สุธีสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสทีจี มัลติมีเดีย จำกัด เจ้าของลิขสิทธิ์รายการสารคดีและซีรีส์จากต่างประเทศ ให้มุมมองว่า ทีวีดิจิทัลทำให้การซื้อคอนเทนต์จากต่างประเทศมีความคึกคักขึ้น โดยมีผู้ติดต่อเข้ามาขอซื้อลิขสิทธิ์จำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเคเบิลและทีวีดาวเทียม 

ขณะที่นาย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล "วัน" และ "บิ๊ก" กล่าวว่า ขณะนี้คอนเทนต์ทุกอย่างถูกเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว ถ้าสถานการณ์การแข่งขันของธุรกิจทีวีดิจิทัลเพิ่มดีกรีขึ้น โฆษณา (แบรนด์สินค้า) พร้อมใช้เม็ดเงินกับช่องทีวีดิจิทัล และการวัดเรตติ้งมีความพร้อม บริษัทก็จะย่นระยะเวลาในการวางผังรายการให้เต็มจากเดิมที่กำหนดไว้ในต้นปี หน้า โดยนำคอนเทนต์หลักมาดึงดูดผู้ชม ซึ่งทั้งหมดขึ้นอยู่กับสถานการณ์และจังหวะทางการตลาด

"ถ้าเรตติ้งไม่ ชัด ประกอบกับการแจกคูปองสนับสนุนการรับชมทีวีดิจิทัลยังไม่เริ่มต้น ก็ยังไม่นำคอนเทนต์แม่เหล็กมาออกอากาศ เพราะแม้บริษัทจะเริ่มนับหนึ่งปล่อยคอนเทนต์เด็ดออกไป แต่การวัดผลเรตติ้งยังไม่พร้อม รายได้โฆษณาก็ยังไม่เกิดเช่นกัน" นายไพบูลย์กล่าว

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook