คดีร้องเรียนคอนโดพุ่ง "ริบเงินดาวน์" มาแรง!

คดีร้องเรียนคอนโดพุ่ง "ริบเงินดาวน์" มาแรง!

คดีร้องเรียนคอนโดพุ่ง "ริบเงินดาวน์" มาแรง!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถิติ ร้องเรียนอสังหาฯพุ่ง 768 ราย ปัญหา "กู้ไม่ผ่าน-ริบเงินจอง-ยึดเงินดาวน์" ติดอันดับสูงสุดกว่า 100 รายผลพวงแบงก์เข้มงวดปล่อยสินเชื่อ สคบ.เผย 6 เดือนแรกมีคดีให้ไกล่เกลี่ย 41 ราย คอนโดฯแซงหน้าจัดสรรแนะผู้บริโภคดูรายละเอียดก่อนเซ็นสัญญา

นางสุกัญญา สันทัด ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถิติเรื่องร้องเรียนอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สคบ. ช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 พบว่า ประเด็นร้องเรียนที่กำลังมาแรงติดอันดับท็อป 10 มีทั้งบ้านจัดสรร อาคารชุด และทาวน์เฮาส์-อาคารพาณิชย์ แยกเป็นประเด็นกู้ไม่ผ่าน-กู้ได้ไม่เต็มจำนวน และไม่ได้รับคืนเงินมัดจำ-เงินจอง สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังชะลอตัว ทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น

 

6 เดือนร้องเรียนเพียบ 

สถิติช่วง 6 เดือนแรกของปีงบฯ 2557 นับจากวันที่ 1 ต.ค. 2556-30 เม.ย. 2557 มีเรื่องร้องเรียนทั้ง 2 ประเด็นรวมกัน 41 ราย แยกเป็นบ้านจัดสรร 11 ราย, อาคารชุด 20 ราย และทาวน์เฮาส์-อาคารพาณิชย์ 10 ราย สูงกว่ากรณีเรื่องร้องเรียนก่อสร้างแต่ไม่แล้วเสร็จ และก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบแปลนที่ขออนุญาต สถิติย้อนหลังปีงบ ประมาณ 2555 และ 2556 มีจำนวนผู้ร้องเรียนเกินกว่าปีละ 100 ราย โดยปีงบประมาณ 2555 พบว่า สถิติเรื่องร้องเรียนประเด็นกู้ไม่ผ่าน-กู้ได้ไม่เต็มจำนวน และไม่ได้รับคืนเงินมัดจำ-เงินจอง มีจำนวนรวมกัน 122 ราย ถือว่าค่อนข้างสูง แยกเป็น บ้านจัดสรร 38 ราย ,อาคารชุด 64 ราย และทาวน์เฮาส์-อาคารพาณิชย์ 20 ราย ส่วนปีงบประมาณ 2556 (1 ต.ค. 2555-30 ก.ย. 2556) พบว่า สถิติร้องเรียนทั้ง 2 ประเด็นรวมกัน 104 ราย แยกเป็น บ้านจัดสรร 31 ราย, อาคารชุด 54 ราย และทาวน์เฮาส์-อาคารพาณิชย์ 19 ราย

"ถ้าดูสถิติปีงบ ประมาณ 2555-2556 และ 6 เดือนแรก 2557 มีจำนวน 122 ราย 104 ราย และ 41 รายตามลำดับ อาจดูว่าสถิติลดลง แต่ถือว่ายังสูงอยู่ เพราะตั้งแต่ต้นปีมีเหตุชุมนุมปิดถนนด้านหน้าศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ น่าจะมีผู้บริโภคบางส่วนไม่สะดวกจะเดินทางมา"

 

แนะผู้บริโภคดูสัญญาก่อนเซ็น

นางสุกัญญากล่าวว่า ปัญหากู้ไม่ผ่าน-กู้ได้ไม่เต็มจำนวน และไม่ได้รับคืนเงินมัดจำ-เงินจอง เป็นประเด็นที่ สคบ.ได้รับร้องเรียนอยู่เรื่อย ๆ โดยก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการไกล่เกลี่ยกัน ไม่ได้ และ สคบ.ได้เสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองชุดใหญ่พิจารณาส่งฟ้องศาลดำเนิน คดีมาแล้ว เพื่อขอเงินดาวน์คืนให้ผู้บริโภค แต่เงินจองและทำสัญญาให้ยึดได้ แต่ปรากฏว่าทางคณะอนุกรรมการมีความเห็นไม่ส่งฟ้องเพราะข้อความในสัญญาจะซื้อ จะขายระบุให้สามารถยึดเงินดาวน์ได้หากผู้ซื้อไม่ยอมรับโอนบ้านดังนั้น สคบ.จึงแนะนำว่า ก่อนเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านจัดสรร อาคารชุด ทาวน์เฮาส์-อาคาร พาณิชย์ ผู้บริโภคควรตรวจสอบข้อความที่ระบุในสัญญาอย่างละเอียด เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อาทิ พ.ร.บ.อาคารชุด ฯลฯ ไม่มีข้อบังคับให้ผู้ประกอบการคืนเงินจอง-เงินดาวน์แก่ลูกค้าที่กู้ไม่ผ่าน ยกเว้นในขั้นตอนการไกล่เกลี่ย ทางผู้ประกอบการยินดีที่จะคืนเงินดาวน์ให้ทั้งหมดหรือบางส่วน

 

ร้องเรียนคอนโดฯแซงจัดสรร

นางสุกัญญากล่าวอีกว่า จากสถิติร้องเรียนอสังหาริมทรัพย์ช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2557 มีจำนวนรวม 768 ราย แยกเป็น อาคารชุด 306 ราย ประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนสูงสุดคือไม่เป็นไปตามที่ระบุในสัญญา 71 ราย, บ้านจัดสรร 184 ราย ประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนสูงสุดคือชำรุดหลังปลูกสร้าง 33 ราย และทาวน์เฮาส์-อาคารพาณิชย์ 37 ราย ประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนสูงสุดคือชำรุดหลังปลูกสร้าง 8 ราย คดีอพาร์ตเมนต์ หอพัก ห้องเช่า 29 ราย ประเด็นที่มีผู้ร้องเรียนสูงสุดคือขอเงินประกันคืน 10 ราย และปัญหาที่ดิน 6 ราย ประเด็น ที่มีผู้ร้องเรียนสูงสุดคือขอคำปรึกษา 2 ราย, เช่าช่วง เช่าพื้นที่ 183 ราย ไม่ดำเนินการตามที่โฆษณา 141 ราย และ ปัญหาว่าจ้างก่อสร้าง 23 ราย เป็นเรื่องก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ 7 ราย 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถิติร้องเรียนช่วง 6 เดือนแรกปีงบประมาณ 2557 เป็นที่สังเกตว่าจำนวนเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาคารชุดแซงหน้าบ้านจัดสรร แล้ว เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อคอนโดฯเป็นที่อยู่อาศัยหลังแรก 

 

อสังหาฯแจงแล้วแต่หลักปฏิบัติ

ด้าน นายอธิป พีชานนท์ กรรมการ บมจ.ศุภาลัย เปิดเผยว่า กรณีลูกค้ากู้ไม่ผ่านแล้วถูกผู้ประกอบการริบเงินจอง-เงินดาวน์ ขึ้นกับหลักปฏิบัติของแต่ละบริษัท กรณีศุภาลัยหากเป็นลูกค้าที่ซื้อบ้านหรือคอนโดฯสร้างเสร็จพร้อมโอนอยู่แล้ว บริษัทจะให้ตรวจสอบประวัติการเงิน หากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อ บริษัทจะคืนเงินจองและทำสัญญาให้ลูกค้า แต่หากเป็นบ้านหรือคอนโดฯที่ลูกค้าซื้อตั้งแต่ช่วงผ่อนดาวน์จะไม่คืนเงิน จอง-เงินดาวน์ เพราะบริษัทก็มีภาระต้นทุนดอกเบี้ยในระหว่างก่อสร้างและค่าเสียโอกาสในการ ขาย

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียม บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท เปิดเผยว่า ที่สถิติการร้องเรียน สคบ.เรื่องกู้ไม่ผ่านและถูกริบเงินจอง-เงินดาวน์ บางส่วนอาจเป็นกลุ่มผู้ซื้อเก็งกำไรแล้วขายต่อไม่ได้ต้องถูกริบเงินจึงมา ร้องเรียน อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตามสัญญา หน้าที่ของลูกค้าคือหาเงินงวดสุดท้ายมาชำระให้ครบตามราคาซื้อขายในสัญญา แต่หากกู้ไม่ผ่านไม่มีเงินมาชำระตามหลักก็ต้องถูกยึดเงินจอง-เงินดาวน์ เพราะผู้ประกอบการก็มีค่าใช้จ่ายการตลาดและโฆษณา ขณะที่ฝั่งผู้ประกอบการถ้าก่อสร้างไม่เสร็จหรือส่งมอบล่าช้าก็ต้องเสียค่า ปรับชดเชยให้ผู้บริโภคเช่นกัน อย่างไรก็ตามสำหรับพฤกษาฯจะพิจารณาเจตนาของผู้ซื้อเป็นราย ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook