คนกรุงสุดทนรถเมล์-รถตู้ขับหวาดเสียว เซ็งวลีแท็กซี่ "ส่งรถ-แก๊สหมด"

คนกรุงสุดทนรถเมล์-รถตู้ขับหวาดเสียว เซ็งวลีแท็กซี่ "ส่งรถ-แก๊สหมด"

คนกรุงสุดทนรถเมล์-รถตู้ขับหวาดเสียว เซ็งวลีแท็กซี่ "ส่งรถ-แก๊สหมด"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ "พฤติกรรมสุดยี้ของรถบริการสาธารณะ" พบคนส่วนใหญ่ไม่ชอบพฤติกรรมคนขับรถเมล์-รถตู้ เพราะขับหวาดเสียว ฝ่าไฟแดง แย่งผู้โดยสาร ส่วนแท็กซี่มักปฏิเสธผู้โดยสาร ชอบอ้างไปส่งรถ-แก๊สหมด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "พฤติกรรมสุดยี้ของรถบริการสาธารณะ" จากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,249 หน่วยตัวอย่าง เริ่มที่ รถเมล์สาธารณะ (ขสมก. และรถของบริษัทเอกชน) พบส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.72 ระบุว่า ชอบขับรถหวาดเสียว ขับแข่งกัน ขับแย่งผู้โดยสาร ขับปาดหน้า ขับผ่าไฟแดง ขณะที่การให้บริการของรถตู้สาธารณะ ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน แต่สูงถึงร้อยละ 65.31

ส่วนปัญหารองลงมา คือ การไม่จอดรับ – ส่ง ผู้โดยสารตามป้าย จอดรถเลยป้าย จอดรถรับ-ส่งผู้โดยสารในเลนกลาง จอดซ้อนคัน // พนักงานพูดจา หรือมีพฤติกรรมไม่สุภาพ กับผู้โดยสาร หรือผู้ใช้รถใช้ถนน // ชอบจอดแช่ที่ป้ายเดียวนาน ๆ ทำให้รถติด และผู้โดยสารเสียเวลา /รวมถึงปล่อยรถไม่สม่ำเสมอ บางช่วงรถมาติด ๆ กัน บางช่วงไม่มีรถ // นอกจากนี้ สภาพรถเก่า ไม่สะอาด ประตูชำรุด แอร์ – พัดลมไม่เย็น กริ่งไม่ดัง และพนักงานดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ขณะขับรถ บางทีทอนเงินไม่ครบ ตั๋วเก่ามาขาย ขาดความซื่อสัตย์สุจริต พูดจาส่อไปในทางเพศ หรือแสดงพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ และใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ

ส่วนการให้บริการของรถแท็กซี่ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.28 ระบุว่า ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร เลือกผู้โดยสาร โดยชอบอ้างว่า ไปส่งรถ แก๊สหมด อยู่นอกเส้นทาง เลือกรับเฉพาะผู้โดยสารต่างชาติ รองลงมาร้อยละ 7.20 ระบุว่า คนขับพูดจาหรือมีพฤติกรรมไม่สุภาพ กับผู้โดยสาร หรือผู้ใช้รถใช้ถนนอื่น ๆ ร้อยละ 6.78 ระบุว่า คนขับขาดความซื่อสัตย์สุจริต เช่น ทอนเงินไม่ครบ เรียกเก็บค่าโดยสารเกินกว่าอัตราที่ทางราชการกำหนด พาผู้โดยสารไปเส้นทางที่อ้อม ออกนอกเส้นทาง ร้อยละ 3.27 ระบุว่า คนขับชอบพูดเรื่องการเมือง

นอกจากนี้ ร้อยละ 1.93 ระบุว่า มีพฤติกรรมส่อเจตนาไปทางการก่ออาชญากรรม หรือการล่วงละเมิดทางเพศ คนขับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ขณะขับรถ ชอบถามเรื่องส่วนตัวผู้โดยสาร ร้อยละ 1.26 ระบุว่า อื่นๆ เช่น ไล่ผู้โดยสารลงกลางทาง คนขับรถใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ สภาพคนขับไม่พร้อม เปิดเพลงเสียงดัง แต่งกาย ไม่สุภาพ ไม่ทราบเส้นทาง และขับรถช้า

ท้ายสุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อแนวทางในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุด "ยี้" ของการบริการ การขับขี่รถบริการสาธารณะ ร้อยละ 45.88 ระบุว่า ควรกำหนดบทลงโทษการกระทำผิดของผู้ขับขี่รถบริการสาธารณะให้สูงกว่าผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล รองลงมา ร้อยละ 43.31 ระบุว่า ผู้ขับขี่รถบริการสาธารณะต้องผ่านการอบรมการขับขี่รถสาธารณะไม่น้อยกว่า 1 ปี ร้อยละ 1.36 ระบุว่า ควรกำหนดอายุของผู้ขับขี่ โดยมีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ส่วนร้อยละ 0.64 ระบุว่า ควรกำหนดระดับการศึกษาของผู้ขับขี่ จบการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป และร้อยละ 8.81 ระบุว่า อื่นๆ เช่น บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเข้มงวด มีเจ้าหน้าที่สุ่มตรวจสอบรถและพนักงานตามจุดต่างๆ ควรตรวจสอบประวัติและมีการคัดเลือกผู้ขับขี่อย่างเข้มงวด พร้อมปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม มารยาท และวินัยในการขับขี่และการบริการ และควรมีการอบรมพนักงานทุก 1-2 ปี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook