"สภาพัฒน์" ชี้คนไทยเสี่ยง "เบี้ยวหนี้" ยอดค้าง "บัตรเครดิต-ส่วนบุคคล" อื้อ

"สภาพัฒน์" ชี้คนไทยเสี่ยง "เบี้ยวหนี้" ยอดค้าง "บัตรเครดิต-ส่วนบุคคล" อื้อ

"สภาพัฒน์" ชี้คนไทยเสี่ยง "เบี้ยวหนี้" ยอดค้าง "บัตรเครดิต-ส่วนบุคคล" อื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี 2557 ว่า ในปี 2557 ครัวเรือนส่วนใหญ่ของไทยมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น แม้ว่าในไตรมาสแรกการก่อหนี้ของครัวเรือนจะชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ แต่ยอดคงค้างของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ทั้งสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลกลับเพิ่มขึ้นถึง 31.3% เช่นเดียวกับสินเชื่อภายใต้การกำกับผิดนัดชำระเกิน 3 เดือน ที่เพิ่มขึ้นกว่า 42% รวมทั้งยอดคงค้างชำระบัตรเครดิตเกิน 3 เดือนขึ้นไป ก็เพิ่มขึ้นถึง 36.4%

ในปี 2556 ที่ผ่านมา ครัวเรือนไทยมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 25,194 บาท เพิ่มขึ้น 4.1% แต่ก็มีรายจ่ายเฉลี่ย 19,061 บาท เพิ่มขึ้น 4.7% ขณะที่หนี้สินเฉลี่ยนั้นมีมากถึงครัวเรือนละ 163,087 บาท เพิ่มขึ้น 9.95% และหากพิจารณาการใช้จ่ายและหนี้สินครัวเรือนบางกลุ่ม พบว่ายังมีความเสี่ยงต่อการดำรงชีพและความมั่นคงของครัวเรือนในช่วงต่อไป โดยครัวเรือนกว่า 8.52 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 42.25% จากครัวเรือนทั้งหมดมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายและการชำระหนี้

ขณะที่อีก 4.7 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของครัวเรือนที่เป็นหนี้ได้ก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคมูลค่ามากกว่า 70% ของมูลค่าหนี้รวมของครัวเรือน ส่วนครัวเรือนคนงานเกษตรและคนงานทั่วไปมีรายจ่าย 89% และ 85% ของรายได้รวม สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการก่อหนี้ นอกจากนี้ยังพบว่าการก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคของครัวเรือนคนในกลุ่มดัง กล่าวยังมีสัดส่วนสูงถึง 68% และ 61% ของการก่อหนี้รวม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้เอ็นพีแอลและไม่เกิดสะสมเป็นมูลค่าทรัพย์สิน

อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าในภาพรวมทั้งหมดมีครัวเรือนเพียง 75% เท่านั้นที่มีเงินออม และ 11.4 ล้านครัวเรือน หรือ 1 ใน 2 ของครัวเรือนรวมมีเงินออมไม่เกิน 100,000 บาท ขณะที่ครัวเรือนที่มีเงินออมมากกว่า 500,000 บาท มีเพียง 700,000 ครัวเรือนเท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนไทยยังขาดภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง และอาจมีความเสี่ยงต่อการดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุการทำงาน โดยยังต้องติดตามเรื่องภาวการณ์มีงานทำและรายได้เกษตรที่อาจได้รับผลกระทบ จากภาวะภัยแล้ง การปรับลดแรงงานของผู้ประกอบการ เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองและแนวโน้มการว่างงานของผู้จบการศึกษาใหม่ ระดับปริญญามีสูงขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook