ไทยส่งออกปลาทูน่าอันดับ1ของโลก
ไทยส่งออกปลาทูน่าอันดับ1ของโลก
แม้ประเทศไทยจะเจอมรสุมทางการเมืองมานานหลายปี แต่อุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงเติบโตได้เรื่อยๆ และยังคงเป็นฐานการผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับสมาชิกกลุ่มประเทศอาเซียน
เมื่อปีที่ผ่านมามีกลุ่มยานยนต์ญี่ปุ่นอย่างน้อย 3 บริษัทเตรียมโยกฐานการผลิตเข้าไทย เงินลงทุนหลายพันล้านบาท
โดยมองว่าประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ดีที่สุด
ขนาดใช้คำว่าคุณภาพการผลิตดีกว่าในญี่ปุ่น
ผู้ประสานงานด้านการลงทุนระหว่างประเทศรายหนึ่ง เปิดเผยกับ “สยามธุรกิจ” ว่าได้ไปประสานงานเพื่อดึงกลุ่มนักธุรกิจยานยนต์ของญี่ปุ่นมาลงทุนในเมืองไทย ปรากฏว่ามีอย่างน้อย 3 บริษัทรับปากจะมาลงทุนในเมืองไทยแน่นอน โดยขอให้ตนช่วยประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมเม็ดเงินลงทุนหลายพันล้านบาท
ญี่ปุ่นมองว่าไทยยังน่าลงทุนมากที่สุดในกลุ่มอาเซียนเพราะมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี มีแรงงานฝีมือ ขนาดใช้คำว่า คุณภาพการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นในเมืองไทยวันนี้ดีกว่าที่ญี่ปุ่นเสียอีก
ในอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์จะโยกออกจากญี่ปุ่นมากขึ้น ญี่ปุ่นจะกลายเป็นเพียงศูนย์เทรนนิ่ง ส่วนฐานการผลิตทั้งหมดจะอยู่ที่เมืองไทย และประเทศแถบอาเซียน
ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ก็เพิ่งออกประกาศส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ ระยะที่ 2 มีค่ายรถยนต์สนใจผลิตรถยนต์อีโกคาร์ถึง 10 ค่าย มากกว่าโครงการ 1 หนึ่งเท่าตัว
นั่นหมายความว่าเป้าหมายการผลิตรถยนต์ 3 ล้านต่อปีของไทย ใกล้แค่เอื้อม!
ในปี 2556 ที่ผ่านมาไทยผลิตรถยนต์ทะลุ 2.45 ล้านคัน แม้จะต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 2.55 ล้านคันแต่ก็นับเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 52 ปี
ทำให้ไทยผงาดติดอันดับ 9 การผลิตของโลก
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยมากกว่า 2 พันบริษัท ทั้งที่เป็นบริษัทร่วมทุนและบริษัทท้องถิ่น
มูลค่าการส่งออกปีหนึ่งมากกว่า 8 หมื่นล้านบาท
เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน
“สยามธุรกิจ” มีโอกาสสัมภาษณ์ “ลิลลี่ ฐิตะสมบูรณ์” ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ บริษัท ยูนิคอม ออโตพาร์ท จำกัด บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ป้อนให้กับค่ายรถเกือบทุกยี่ห้อในต่างประเทศ
เธอกล่าวถึงสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมาว่า ยอดการสั่งซื้อยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตจากยางพารา เนื่องจากประเทสไทยมียาง พาราจำนวนมาก
“ลูกค้าหลักๆ ของเราคือผู้ผลิตรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ในกลุ่มตะวันออก กลางก็สั่งออเดอร์เข้ามาเยอะมาก เนื่อง จากค่าจ้างเราไม่แพงมากนัก แต่คุณภาพระดับมาตรฐานโลก ทำให้ลูกค้ามีความไว้วางใจว่าเขาจะได้รับของดีแน่นอน”
ลิลลี่ยังกล่าวอีกว่า ในกลุ่มประเทศอาเซียน ยูนิคอมฯก็ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ป้อนให้กับค่ายรถยนต์ในประเทศฟิลิปปินส์ สปป.ลาว และกัมพูชา
รวมมูลค่าการส่งออกปีหนึ่ง 500-1,000 ล้านบาท
เมื่อถามว่าเศรษฐกิจโลกและปัญหาการเมืองไทยส่งผลกระทบต่อยอดขายหรือไม่ เธอตอบว่า มีบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะรถยนต์ถือเป็นปัจจัยหลักของชีวิต แม้เศรษฐกิจจะมีปัญหา คนยังคงใช้รถ เพราะฉะนั้นความต้องการชิ้นส่วนยานยนต์จึงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีในการผลิตยานยนต์ จนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็นดีทรอยต์ ออฟ เอเชีย หรือศูนย์กลางการผลิตรถยนต์แห่งเอเชีย มีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการ อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับยานยนต์จึงมีทิศทางเติบโตอย่างต่อเนื่อง
“ความภาคภูมิใจของเราคือเราผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตจากยางพารา ทำให้รายได้ส่วนหนึ่งไหลกลับไปสู่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตยางพารา ช่วยพยุงราคายางพาราไม่ให้ตกต่ำ” ลิลลี่กล่าว
เมื่อถามว่ามีปัญหาวัตถุดิบขาด แคลนหรือไม่ เธอกล่าวว่า บริษัทมีซัพพลายเออร์ที่ทำสัญญาการผลิตระยะยาว จึงไม่มีปัญหาเรื่องวัตถุดิบขาดแคลน
ส่วนการสร้างความเชื่อถือในกลุ่มคู่ค้านั้น นอกจากจะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในโครงการ “กรีน อินดัสตรี้” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป้าหมายคือเป็นองค์กรสีเขียว
“การทำธุรกิจวันนี้อาจจะยากกว่าสมัยก่อน เพราะมีคู่แข่งและนวัตกรรมมากมาย แต่ก็เป็นเรื่องดีสำหรับผู้บริโภค ที่จะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง”
เธอจบคำสัมภาษณ์ด้วยคำยืนยันว่า ไทยยังเป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ดีที่สุดในอาเซียน!!