เปิด 28 โครงการถูกตรวจสอบ /บีโอไออนุมัติ18 โครงการ เงินลงทุน 1.2 แสนล้าน

เปิด 28 โครงการถูกตรวจสอบ /บีโอไออนุมัติ18 โครงการ เงินลงทุน 1.2 แสนล้าน

เปิด 28 โครงการถูกตรวจสอบ /บีโอไออนุมัติ18 โครงการ เงินลงทุน 1.2 แสนล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

@บีโอไอเคาะลงทุน1.2แสนล.

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่กองบัญชาการกองทัพบกมีการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ชุดใหม่ นัดแรก มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน

ภายหลังการประชุม นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการ บีโอไอ กล่าวว่า ที่ประชุมได้อนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 18 โครงการ รวมมูลค่าเงินลงทุน 122,837.7 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ลงทุนกิจการบริการรับฝากห้องเย็น รวม 3 โครงการ รวมวงเงิน 2,700 ล้านบาท 2.บริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย จำกัด ลงทุนกิจการผลิต กระเบื้องเซรามิค วงเงิน 1,748 ล้านบาท 3.บริษัท ไทย มาลายา กลาส จำกัด ลงทุนกิจการผลิตขวดแก้ว เพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม 3 โครงการ รวมเงินลงทุน 5,527 ล้านบาท

4.บริษัท โพสโค โค้ทเต้ด สตีล (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนกิจการผลิตเหล็กแผ่นเคลือบเพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทผลิตรถยนต์ เงินลงทุน 10,014 ล้านบาท 5.นายเปียโตร อเลซซานโดร มอตตา และนายบัณฑิต เกิดวงศ์บัณฑิต (จะจัดตั้งบริษัทในภายหลัง) ลงทุนกิจการผลิตยางยานพาหนะ ลงทุนทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท

 @ โตโยต้าผลิตปิกอัพเพิ่ม5.7แสนคัน

6.บริษัท แอลแอลไอที (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนกิจการผลิตยางยานพาหนะ ลงทุน 18,860.3 ล้านบาท 7.บริษัท บริดจสโตน เอ็นซีอาร์ จำกัด ลงทุนผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรวงเงิน 1,450 ล้านบาท 8.บริษัท โทเพร (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เงินลงทุน 2,753 ล้านบาท 9.บริษัท ซัมมิท คีย์เลกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนกิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เงินลงทุน 1,450 ล้านบาท 10.บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ลงทุนผลิตรถยนต์ เงินลงทุนทั้งสิ้น 51,523 ล้านบาท กำลังการผลิตรถยนต์ปิกอัพรวม 570,000 คัน กำลังการผลิตชิ้นส่วนรวมปีละประมาณ 4,800,000 ชิ้น

11.บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด ลงทุนผลิตรถยนต์ กำลังการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคลปีละประมาณ 52,000 คัน เงินลงทุน 9,200 ล้านบาท 16.บริษัท เอสอีไอ ไทย อิเล็คทริค คอนดัคเตอร์ จำกัด ลงทุนผลิต สายไฟฟ้าอะลูมิเนียม เงินลงทุน 1,712.6 ล้านบาท 12.บริษัท ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) จำกัด ลงทุนกิจการศูนย์ข้อมูล ขนาด 6,800 ตร.ม. เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,900 ล้านบาท 13.นายมาริโอ ดีแองเจโล (จะจัดตั้งบริษัทในภายหลัง) ลงทุนกิจการศูนย์ฝึกอบรมด้านเทคนิคสำหรับนักบิน เงินลงทุน 2,407 ล้านบาท

@ ตั้งอนุกก.กรองโครงการยักษ์

นายอุดมกล่าวว่า ที่ประชุมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ จำนวน 15 คน โดยมีตนเอง เป็นประธาน ผู้บริหารระดับสูงของบีโอไอ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เป็นกรรมการ ทำหน้าที่พิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนแก่โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 200-750 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน และโครงการที่เป็นกิจการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ และมีขนาดการลงทุนเกิน 200 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการกลั่นกรองการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโครงการที่มีขนาดการลงทุนเกิน 750 ล้านบาท ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

 

 

@ แอร์เอเชียสะดุดซื้อเครื่องบิน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และกรรมการ บีโอไอ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้ให้นโยบายการส่งเสริมการลงทุนจะต้องเน้นธุรกิจที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศ ที่มุ่งไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ตั้งคณะอนุกรรมการบีโอไอ 2 ชุด ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายบีโอไอ โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าเศรษฐกิจ คสช. เป็นประธาน และ 2.คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการส่งเสริมการลงทุน มีนายอุดม เป็นประธาน

รายงานข่าวจากบีโอไอ แจ้งว่า การประชุมครั้งนี้มีโครงการเสนอเข้าที่ประชุมรวม 22 โครงการ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาท แต่ที่ประชุมอนุมัติ 18 โครงการ ส่วนอีก 4 โครงการให้กลับไปทบทวนใหม่ เนื่องจากมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับความจำเป็นในการเร่งอนุมัติการลงทุน และรายละเอียดโครงการที่จะต้องสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติสูงสุด โดยทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการบริษัท อิชิตัน ผลิตเครื่องดื่ม มูลค่าลงทุน 2.6 พันล้านบาท 2.พีทีที โกลบอลเคมีคอล ในเครือ ปตท. วงเงินลงทุน 9,825 ล้านบาท 3. บริษัท ทีโอซี ไกลคอลโพลีน กลุ่มเคมีภัณฑ์ วงเงินลงทุน 2,826 ล้านบาท และ 4.โครงการลงทุนจัดซื้อเครื่องบินของสายการบิน แอร์เอเชียเอ็กซ์ วงเงินลงทุน 9 พันล้านบาท

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook