"ทิเบตัน" หมายักษ์ หลักล้าน เพาะเจาะตลาดมหาเศรษฐี

"ทิเบตัน" หมายักษ์ หลักล้าน เพาะเจาะตลาดมหาเศรษฐี

"ทิเบตัน" หมายักษ์ หลักล้าน เพาะเจาะตลาดมหาเศรษฐี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นกระแสอีกระลอกกับสุนัขพันธุ์ใหญ่ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ ที่คนไทยฮิตมาสักพักหนึ่งแล้ว จากข่าวเศรษฐีจีนเลี้ยงสุนัขพันธุ์นี้ ค่าตัวสูงถึง 60 ล้านบาท คนไทยขั้นมหาเศรษฐีแห่หามาเลี้ยง ไม่นานมานี้ หมาพันธุ์นี้เคยนำเข้าจากจีน แต่ตอนนี้ออร์เดอร์ทะลักเฉลี่ย 30 ตัวต่อเดือน จนผู้ประกอบการรายนี้ตัดสินใจเพาะพันธุ์ขายในไทย

เพาะขายครั้งแรกในไทย

นางสาววราภรณ์ ธนศักดิ์รังษี เจ้าของฟาร์มพะเยา ด็อก เคนเนล (Phayao dogs kennel) ธุรกิจนำเข้าสุนัขสายพันธุ์ใหญ่และพันธุ์ยักษ์กว่า 10 สายพันธุ์ เช่น ซามอยด์, ไจแอนต์ อะลาสกัน มาลามิวต์ และทิเบตัน มาสทิฟฟ์ มาจากฟาร์มในจีนมากว่า 2 ปีแล้ว กล่าวว่า

"ตอนนี้สุนัขพันธุ์ใหญ่มียอดจองโตกว่าเท่าตัว โดยเฉพาะสองสายพันธุ์ คือ ไจแอนต์ อะลาสกัน มาลามิวต์ และทิเบตัน มาสทิฟฟ์ จนตอนนี้เราต้องสั่งสุนัขถึงเดือนละ 4 รอบ ราว 20-30 ตัว/เดือน/สายพันธุ์ จากเดิม 5-10 ตัว/เดือน โดยราคาเฉลี่ยของทิเบตัน มาสทิฟฟ์ อยู่ที่ตัวละ 7 หมื่น-1 ล้านบาท ขณะที่ไจแอนต์ อะลาสกัน มาลามิวต์ เฉลี่ย 5 หมื่นบาท-หลักแสนบาท"

ในปีนี้ เธอจึงตัดสินใจลงทุนเปิดฟาร์มเพาะพันธุ์สุนัขสายพันธุ์ทิเบตัน มาสทิฟฟ์ และไจแอนต์ อะลาสกัน มาลามิวต์ เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการที่สูงขึ้น

ในปลายปี 2557 เตรียมจะนำเข้าพ่อพันธุ์ 2 ตัว และแม่พันธุ์อีก 10 ตัว ขณะที่สายพันธุ์ไจแอนต์ อะลาสกัน มาลามิวต์ จะมีการนำพ่อพันธุ์ 4 ตัว และแม่พันธุ์ 10 ตัวเข้ามา และจะเริ่มจำหน่ายลูกสุนัขลอตแรกในปลายปีนี้แน่นอน

เพาะในไทยทำไมถูก

นางสาววราภรณ์ กล่าวว่า สำหรับลูกสุนัขครอกแรกทั้งสองสายพันธุ์ ราคาจะต่ำลงกว่าการนำเข้า เพราะไม่ต้องเสียภาษี

"สุนัขที่เพาะพันธุ์ภายในประเทศจะมีข้อดี คือไม่ต้องมีภาระจากการเสียภาษีนำเข้ามาจากประเทศจีน ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งเป็นการขนส่งภายในประเทศ หรือบางครั้งผู้ซื้อสามารถมารับสุนัขได้ที่ฟาร์ม ราคาจะถูกลงประมาณ 10-20% ทำให้ราคาปรับลงมาในระดับที่สามารถจะจับต้องได้มากขึ้น ปลุกกระแสคนแห่มาซื้อกันในปริมาณที่แพร่หลายมากขึ้น

ในส่วนของฟาร์มก็สามารถทำราคาได้ จากสุนัขที่สีเป็นที่นิยมหรือหายาก เช่น ทิเบตันสีขาว อะลาสกันสีทองแดง ทำให้สุนัขมีราคาแพงขึ้นเป็นหลักล้านบาทได้เช่นกัน หรือแล้วแต่กระแสช่วงนั้นว่าฮิตสีอะไร หรือตามความชื่นชอบของผู้เลี้ยงจะมีการเลือกสี"

พูดง่ายๆ ว่า การเพาะในไทยเป็นการลดในส่วนของภาษี แต่จะเพิ่มในส่วนของปริมาณที่มากขึ้นนั่นเอง

หมาแพงแต่ยังซื้อซ้ำ

ในส่วนฐานลูกค้านั้น มีทั้งกลุ่มที่เป็นกลุ่มเศรษฐี เจ้าของธุรกิจ มีการบอกต่อกันและเป็นฐานลูกค้าเดิมที่เคยสั่งซื้อมาก่อน ที่สำคัญก็คือมีการรวมกลุ่มของผู้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ใหญ่ที่จะมาคอยแลกเปลี่ยนข่าวสาร ก็น่าจะทำให้ตลาดเป็นที่รู้จักไม่ยากรวมทั้งการติดต่อผ่านเฟซบุ๊ก ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ มีทั้งลงรูปสุนัข รวมถึงคลิปที่เห็นถึงการเคลื่อนไหว เป็นช่องทางรองจากการมาดูตัวสุนัขที่ฟาร์ม

สำหรับลูกสุนัขลอตแรกของฟาร์ม คาดว่าปลายปีนี้เธอจะมีลูกสุนัขที่พร้อมออกจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 100 ตัว ทั้ง 2 สายพันธุ์

ฟาร์มเพาะสุนัขสายพันธุ์ยักษ์ถือว่ายังใหม่ ราคาต่อตัวสูง โอกาสของธุรกิจมีมาก ทั้งนี้ การที่เจ้าของธุรกิจจะอยู่ได้ ก็ต้องรักษาคุณภาพของสุนัขให้น่าเชื่อถื่ออีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook