ล้อมคอกหัวหิน! หั่นราคา "ตำปูม้า" เหลือ 149บ.ซีฟู๊ด เผา350บ. ข้าวผัด 199บ. เร่งรื้อร้านล้ำชายหาด!

ล้อมคอกหัวหิน! หั่นราคา "ตำปูม้า" เหลือ 149บ.ซีฟู๊ด เผา350บ. ข้าวผัด 199บ. เร่งรื้อร้านล้ำชายหาด!

ล้อมคอกหัวหิน! หั่นราคา "ตำปูม้า" เหลือ 149บ.ซีฟู๊ด เผา350บ. ข้าวผัด 199บ. เร่งรื้อร้านล้ำชายหาด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่  14     สิงหาคม   ที่ห้องประชุมดำเนินเกษม  เทศบาลเมืองหัวหิน  จ.ประจวบคีรีขันธ์  นายพรชัย ถมกระจ่าง นายอำเภอหัวหิน  เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกฎหมายเพื่อจัดระเบียบชายหาดในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 15  พ.ต.อ.ดำรงศักดิ์ ทองงามตระกูล รอง ผบก.ภ.จว.ประจวบฯ รักษาการแทน ผกก.สภ.หัวหิน นายนพพร  วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน    ฝ่ายปกครอง   ตัวแทนสำนักงานการค้าภายใน และผู้ประกอบการ 22 รายบริเวณชายหาดหัวหินด้านข้างโรงแรมเซนทารา แกรนด์ บีซ รีสอร์ท แอนด์ วิลล่า หัวหิน  เข้าร่วมประชุมเพื่อจัดระเบียบชายหาดตามนโยบายเร่งด่วนของ คสช. และการแก้ไขปัญหาราคาอาหารแพง โดยมีนักท่องเที่ยวนำไปเผยแพร่ในโลกออนไลน์   และบางรายเข้าแจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.หัวหิน โดยมีการยอมความหลังจากผู้ประกอบการยอมขอโทษเนื่องจากมีการแก้ไขราคาอาหารในเมนู

นายพรชัย   กล่าวว่า ที่ผ่านมามีคำสั่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  โดยนายวีระ   ศรีวัฒนตระกูล  ผู้ว่าราชการจังหวัดฯให้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายสิ่งของออกจากพื้นที่บริเวณชายหาดภายในวันที่ 13 สิงหาคม หลังจากมีการขอผ่อนผันจากเดิมกำหนดในวันที่ 7 สิงหาคม    แต่เมื่อครบกำหนดผู้ประกอบการได้ส่งตัวแทนเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมถึงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ศูนย์บริการประชาชน ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ได้รับเรื่อง โดยแนะนำให้ไปยื่นเรื่องร้องทุกข์กับจังหวัดโดยตรง

“ ที่ประชุมสรุปให้ผู้ประกอบการร้านค้าที่บุกรุกชายหาด  ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างถาวรให้เสร็จภายในวันที่  18 - 22 สิงหาคมนี้  รวม 5 วัน  จากนั้นทางคณะกรรมการฯจะเข้าไปจัดระเบียบในวันที่ 23 สิงหาคม   โดยตอกหมุดกำหนดพื้นที่การเก็บสิ่งของ การประกอบอาหาร ร่มและเตียงผ้าใบ ไม่ให้ล้ำพื้นที่ที่ทางราชการกำหนด  และให้ตั้งเต๊นท์ชั่วคราวจำหน่ายอาหารถึง 18.00 น จากนั้นเมื่อครบเวลาผู้ประกอบการต้องรื้อเต็นท์  และเคลื่อนย้ายสิ่งของเพื่อให้ชายหาดต้องโล่ง  มีพื้นที่สันทนาการสำหรับประชาชนทั่วไป    ส่วนมาตรการในการจัดระเบียบชายหาด   มีการจัดทำแผนผังโดยให้ผู้ประกอบการแต่ละรายมีพื้นที่กว้าง 6 เมตร ยาว 15 เมตร เก็บอุปกรณ์ห่างจากแนวกำแพงริมหาด 1 เมตร และให้พื้นที่ปรุงอาหาร  3 เมตร   มีการเว้นช่องทางเดิน 2 เมตร"  

นายพรชัย กล่าวว่า จากนั้นให้มีการวางเก้าอี้ผ้าใบรายละ 48   และ โต๊ะกลาง 6 ตัว   ร่ม 50 คัน โดยจะประเมินผลภายใน 6 เดือน  ซึ่งในอนาคตะมีการจัดเก็บภาษีจากร้านค้า  การจัดการปัญหาการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอร์   และผู้ประกอบการอาจจะต้องเช่าพื้นที่กับทางราชการ เนื่องจากที่ผ่านมาประกอบการโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า  และ หลังการจัดระเบียบหากยังมีทัศนอุจาดหรือมีปัญหารุกล้ำออกมานอกเขต  นักท่องเที่ยวร้องเรียนคณะกรรมการก็จะเข้าไปจัดการตามกฎหมายทันที

นายพรชัย กล่าวอีกว่า มี ข้อตกลงให้ผู้ประกอบการหยุดกิจการทุกวันพุธเพื่อร่วมกันพัฒนาทำความสะอาดชายหาด   ล่าสุดมีตัวแทนจากสำนักงานการค้าภายในจังหวัด กำหนดราคาอาหารให้มีความเป็นธรรมกับนักท่องเที่ยว โดยจัดทำเมนูกลาง  พร้อมทั้งติดป้ายแสดงราคาอาหารขนาดใหญ่จำนวน 2 จุดทางลงชายหาดหัวหินเพื่อแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบ   หากผู้ประกอบการร้านค้ารายใดฝ่าฝืนก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดต่อไป สำหรับเมนูอาหารพิเศษของแต่ละร้านก็จะขอให้นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อกำหนดราคาตามต้นทุนการผลิต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการประชุมตัวแทนผู้ประกอบการได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในการรื้อสิ่งปลูกสร้างทุกบุกรุกชายหาด   โดยเฉพาะร้านอาหารขนาดใหญ่  โรงแรม ที่พัก ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล  ข้าราชการระดับสูงและเครือญาตินักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งมีการก่อสร้างเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรรุกล้ำชายหาดบดบังภูมิทัศน์ บริเวณริมถนนนเรศดำริห์  ตั้งแต่สะพานปลาหัวหินถึงศาลเจ้าแม่ทับทิม  โดยมีการสร้างห้องสุขา การทิ้งขยะ และ การปล่อยน้ำเสียลงทะเลโดยไม่ผ่านการบำบัด  ต่อมาการชี้แจงว่าการดำเนินการในส่วนดังกล่าวขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระบวนการยุติธรรม   หลังจากเทศบาลเมืองหัวหินได้แจ้งความดำเนินคดีตามพรบ.ควบคุมอาคาร 2522

นางจงกลนี ฤทธิรงค์  แกนนำผู้ประกอบการ 22 ร้านค้าชายหาดหัวหิน  กล่าวว่า หลังจากทราบว่าจะมีการจัดระเบียบชายหาด โดยให้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำชายหาด เพื่อจัดระเบียบใหม่  ทำให้ผู้ประกอบการหวั่นวิตก เกรงจะไม่มีที่ทำกิน เนื่องจากที่ผ่านมาถูกขับไล่มาหลายครั้ง   และ ผลการประชุมล่าสุด การจัดระเบียบถือว่าน่าพอใจ และทุกรายยินดีทำตามข้อตกลงโดยจะไม่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของเมืองท่องเที่ยวอย่างเด็ดขาด 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สำหรับมาตรการด้านการกำหนดราคาอาหาร สำนักงานการค้าภายในจังหวัด ได้กำหนดราคากลาง โดยแยกราคาเตียงผ้าใบ ออกจากราคาอาหาร ให้คิดราคาเตียงผ้าใบชั่วโมงละ 20 บาท ต่อคน ส่วนราคาอาหารมีการปรับลดราคา    เช่น สัมตำปูม้าเหลือราคาจานละ 149 บาท จาก 250 บาท , ทะเลเผาชุดละ 350 บาท ข้าวผัดปูสำหรับ 4 คน จานละ 199 บาท ทุกร้านจะต้องปิดป้ายแสดงราคาให้ชัดเจน และจะต้องมีใบเสร็จระบุชื่อร้าน เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ในภายหลัง  ซึ่งคณะกรรมการฯจะสุ่มตรวจร้านค้าอย่างต่อเนื่อง  หากพบเห็นการกระทำผิด ครั้งแรกจะมีการเปรียบเทียบปรับ หากพบการกระทำผิดครั้งที่ 2 จะมีดำเนินตามโทษขั้นสูงคือปรับ 10,000 บาท และหากพบเห็นร้านค้าใดมีการเปลี่ยนเมนู จะมีการดำเนินการตามมาตรา 29มีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 140,000 บาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook