กสิกรฯคาดกินเจปีนี้ คนกรุงใช้จ่าย 3,700 ล้าน เพิ่มขึ้น 15% ชี้กินเจ 2 ช่วงช่วยหนุน

กสิกรฯคาดกินเจปีนี้ คนกรุงใช้จ่าย 3,700 ล้าน เพิ่มขึ้น 15% ชี้กินเจ 2 ช่วงช่วยหนุน

กสิกรฯคาดกินเจปีนี้ คนกรุงใช้จ่าย 3,700 ล้าน เพิ่มขึ้น 15% ชี้กินเจ 2 ช่วงช่วยหนุน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ตลอดช่วงเทศกาลกินเจปี 2557 ของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ จะมีเม็ดเงินใช้จ่ายทางด้านอาหารและเครื่องดื่มเจสะพัดกว่า 3,700 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 (YoY) หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยวันละ 240 บาทต่อคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย วันละ 200 บาทต่อคน

โดยเหตุผลหลักมาจากจำนวนคนกรุงเทพฯ ที่กินเจในปีนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และบางส่วนอาจจะเป็นผลมาจากราคาวัตถุดิบที่สำคัญบางชนิด เช่น ผักสด หรือโปรตีนเกษตร ที่ส่วนใหญ่จะปรับราคาสูงขึ้นในช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งคนที่ซื้ออาหารสดมาประกอบอาหารเองอาจจะได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่คนที่ซื้ออาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูปมารับประทานอาจจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากผู้ประกอบการได้มีการปรับกลยุทธ์โดยเฉพาะร้านอาหารเจตักขายแบบจานเดียวหรือตามสั่ง รวมไปถึงร้านค้าปลีกที่จำหน่ายอาหารสำเร็จรูปเจแช่แข็ง ที่พยายามควบคุมราคาจำหน่ายอาหารไม่ให้แตกต่างไปจากอาหารคาวที่จำหน่ายนอกช่วงเทศกาลกินเจมากนัก ซึ่งถือเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคได้บ้าง อย่างไรก็ดี อาหารเจส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยแป้งและเส้นใย จึงอาจทำให้ผู้บริโภครู้สึกหิวเร็วขึ้น ดังนั้น ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารเจทานเล่นในระหว่างมื้อที่เพิ่มขึ้น


นอกจากนี้ เนื่องจากปีนี้ มีเทศกาลกินเจถึง 2 ช่วง และผู้ประกอบการหลายรายก็มีการวางแผนที่จะจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มเจ เพื่อจับกลุ่มผู้บริโภคบางคนที่มีการกินเจทั้ง 2 ช่วง ซึ่งจากปัจจัยหนุนดังกล่าว ก็น่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายของผู้ประกอบการให้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา
 

โดยสรุปแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า บรรยากาศในช่วงเทศกาลกินเจของคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ปีนี้ แม้ว่าจะถูกกดดันจากปัจจัยทางด้านค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ถึงกระนั้น การจับจ่ายใช้สอยสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเจอาจจะเป็นกลุ่มที่ผู้บริโภคสามารถปรับตัวได้ และคาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะเป็นสินค้าที่มีความจำเป็น ประกอบกับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ที่ตั้งใจบริโภคอาหารเจในปีนี้ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานที่หันมาใส่ใจสุขภาพและสนใจบริโภคอาหารเจกันมากขึ้น ซึ่งน่าจะทำให้ภาพรวมของตลาดเจในปีนี้ยังคงเติบโตจากปีก่อนหน้า และทำให้ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับอานิสงส์ในช่วงเทศกาลกินเจ ได้แก่ ธุรกิจจำหน่ายวัตถุดิบอาหารเจ ธุรกิจร้านค้าปลีก และธุรกิจร้านอาหาร มีโอกาสทำยอดขายในช่วงเทศกาลกินเจได้เพิ่มขึ้น

สำหรับเทศกาลกินเจ ในปีนี้มีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกระหว่างวันที่ 24 กันยายนถึง 2 ตุลาคม และตามปฏิทินจีนอีกช่วงหนึ่งคือระหว่างวันที่ 24 ตุลาคมถึง 1 พฤศจิกายน (ซึ่งคาดว่าความนิยมในการกินทั้งสองช่วงนั้น น่าจะได้รับความนิยมเฉพาะในจังหวัดที่มีการจัดเทศกาลกินเจอย่างยิ่งใหญ่ อาทิ ภูเก็ต นครสวรรค์)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook