คุณรู้หรือไม่... หลังเกษียณเรามีรายได้จากแหล่งใดบ้าง
อีกไม่ถึง10วัน หลายคนจะมีอายุครบเกษียณ คงมีหลายคนที่ไม่ได้วางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณคงสับสน วันนี้ขอนำความรู้ดีๆจากtsi-thailand.org ในเรื่องแหล่งรายได้หลังเกษียณมานำเสนอว่าเรามีรายได้จากแหล่งใดบ้างมานำเสนอ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารการเงินหลังเกษียณต่อไป
กองทุนประกันสังคม
หากเราจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญ
ชราภาพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน คิดจากเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท
ตามข้อกำหนดของกองทุน และถ้าจ่ายสมทบเกินกว่า 15 ปี ก็จะได้โบนัสอีกปีละ
1.5% สมมติเราจ่ายสมทบมา 30 ปีก่อนเกษียณ จะได้โบนัส 15 ปีหรืออีก
3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ได้ปรับด้วยเงินเฟ้อ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเป็นข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน จะได้รับเงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ)
/ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หรืออาจเป็นเงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ
ตามเงื่อนไขทางราชการ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน ถ้าเราเริ่มทำงานและสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท ถ้าเงินเดือนเพิ่มขึ้นปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 1.2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แต่ถึงแม้ว่า... เราจะมีเงินได้จากกองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ หรือเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินจาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการแล้วก็ตาม หากพิจารณาตัวเลขอย่างรอบคอบและปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้น ก็จะพบว่าเงินที่คาดว่าจะได้เหล่านั้น น่าจะยังไม่พอใช้จ่ายหากเราต้องการรักษามาตรฐานการใช้ชีวิตไว้ในระดับเดิม เราจึงควรวางแผนการลงทุนและทำประกันชีวิตระยะยาวเพิ่ม เพื่อเป็นแหล่งเงินได้สำหรับการใช้จ่ายในวัยเกษียณด้วย ซึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ได้แก่
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “RMF” ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุนให้เราได้ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเรายังได้รับประโยชน์ทางภาษีในช่วงที่ลงทุนอีกด้วย ปัจุบันมีกองทุนรวม RMF มากมาย ให้เราเลือกได้ตามนโยบายการลงทุนที่ต้องการ
การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แม้ว่าผลตอบแทนที่แท้จริงจากการทำประกันชีวิตจะไม่มากมายนัก แต่การทำประกันชีวิตแบบระยะยาว มีข้อดีก็คือ สร้างวินัยทางการเงินให้เราได้ มีให้เลือกหลายแบบ มีวงเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และยังได้ประโยชน์ในทางภาษีด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก www.tsi-thailand.org