ตะลึง!ที่ดินบางขุนเทียนราคาพุ่งกว่า4พันเท่า′ตจว.′ระยองแรงจัด3,999เท่า

ตะลึง!ที่ดินบางขุนเทียนราคาพุ่งกว่า4พันเท่า′ตจว.′ระยองแรงจัด3,999เท่า

ตะลึง!ที่ดินบางขุนเทียนราคาพุ่งกว่า4พันเท่า′ตจว.′ระยองแรงจัด3,999เท่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่จะมีการเสนอไปยังรัฐบาลนั้น มีข้อหนึ่งที่ควรคำนึงคือการเปลี่ยนฐานราคาที่ดินที่จะนำมาคำนวณภาษีที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ให้เป็นปัจจุบัน

โดยขณะนี้การจัดเก็บภาษีภาษีบำรุงท้องที่ใช้ฐานราคาปานกลางของที่ดินเมื่อปี2521– 2524 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้จากภาษีน้อยมาก ซึ่งสศค.เคยศึกษาฐานของราคาที่ดินปี 2521-2524 เปรียบเทียบกับราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินปี 2547 – 2550 พบว่าราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินปรับเพิ่มขึ้นบางพื้นที่กว่า 4,137 เท่า

ทั้งนี้ราคาประเมินของที่ดินในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เพิ่มขึ้นสูงสุดคือ เขตบางขุนเทียน ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 82 เท่าถึง 4,137 เท่า, ส่วนเขตอื่น ๆ อาทิ พระนคร ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 5 เท่า ถึง 19 เท่า, เขตราชเทวี ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 8 เท่าถึง 30 เท่า, เขตลาดพร้าว ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 4 เท่าถึง 81 เท่า,  เขตยานนาวา ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 8 เท่าถึง 93 เท่า, เขตตลิ่งชัน ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 14 เท่าถึง 213 เท่า, เขตภาษีเจริญ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 28 เท่าถึง 215 เท่า,เขตมีนบุรี ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 12 เท่าถึง 432 เท่า, เขตหนองจอก ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 42 เท่าถึง 259 เท่า

นอกจากนี้ยังได้มีการสุ่มตัวอย่างที่ดินที่จัดเก็บภาษีในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอื่นๆ 16องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินปี 2547 – 2550 เพิ่มขึ้นจากราคาปานกลางของที่ดินปี 2521 – 2524 เป็นจำนวนตั้งแต่ 1 เท่า ถึง 3,999 เท่า โดยราคาประเมินของที่ดินที่เพิ่มสูงสุดคือในจังหวัดจังหวัดระยอง เทศบาลนครระยอง ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 32 เท่าถึง 3,999 เท่า รองลงมาคือ จังหวัดนครปฐม เทศบาลนครนครปฐม ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 2 เท่าถึง 2,416 เท่า,จังหวัดภูเก็ต เทศบาลนครภูเก็ต ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 2 เท่าถึง 1,362 เท่า

ส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อบต. สมุทรสาคร ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 19 เท่าถึง 599 เท่า จังหวัดอื่น อาทิจังหวัดลำปาง เทศบาลนครลำปาง ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 5 เท่าถึง 283 เท่า,จังหวัดลำปาง อบต.วังเหนือ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 1 เท่าถึง 4 เท่า,จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 18 เท่าถึง 999 เท่า,จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลตำบลเวียงฝาง ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 21 เท่าถึง 24 เท่า,จังหวัดนครราชสีมา เทศบาลเมืองบัวใหญ่ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 1 เท่าถึง 499 เท่า

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลตำบลท่าเรือ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 7 เท่าถึง 399 เท่า  , จังหวัดปทุมธานี เทศบาลเมืองปทุมธานี ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 37 เท่าถึง 499 เท่า,จังหวัดชลบุรี เทศบาลเมืองศรีราชา ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 6 เท่าถึง 70 เท่า,จังหวัดชลบุรี เทศบาลตำบลแหลมฉบัง ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 16 เท่าถึง 499 เท่า,จังหวัดสงขลา เทศบาลนครหาดใหญ่ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 5 เท่าถึง 319 เท่า,จังหวัดสุราษฎร์ธานี เทศบาลเมืองท่าข้าม ราคาที่ดินเพิ่มขึ้น 199 เท่าถึง 401 เท่า

อย่างไรก็ตามขณะนี้สศค.กำลังรอข้อมูลราคาประเมินที่ดินล่าสุดที่จะประกาศในปีใช้ในรอบปี2559-2562ซึ่งเป็นรอบของการประกาศทุก4 ปี จากกรมธนารักษ์ ที่คาดว่าจะทำแล้วเสร็จในปี 2558 มาศึกษาอีกรอบว่าปรับเปลี่ยนมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้สอดคล้องกับภาษีที่ดินฯ ที่รัฐบาลจะนำมาใช้ โดยขณะนี้นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้กรมธนารักษ์ เร่งประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลงทั่วประเทศจำนวน 30 ล้านแปลงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะขณะนี้มีราคาประเมินที่ดินรายแปลงเพียง 7 ล้านแปลง ที่เหลือจะเป็นราคาประเมินรายบล็อก(พื้นที่)

สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะประกาศใช้นั้นจะเป็นจัดเก็บภาษีตามราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างบ้านห้องชุดที่เป็นปัจจุบันโดยมีมูลค่าที่ดิน ซึ่งจะมีราคาแตกต่างกันตามทำเลที่ตั้งของที่ดิน ซึ่งจะให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เสียภาษีด้วยกันเอง เช่น จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งลูกสร้างปี 2555 ก็จะใช้บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุดปี 2555 – 2558 ในการประเมินภาษี ถ้าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ริมถนนใหญ่ก็จะมีราคาประเมินทุนทรัพย์สูงกว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างห่างจากริมถนนใหญ่ดังกล่าวลึกเข้าไปในซอย

นอกจากนี้ยังมีภาษีที่เกี่ยวข้องคือภาษีโรงเรือนและที่ดินใช้ค่ารายปีหรือค่าเช่าต่อปีเป็นฐานภาษีซึ่งมีความซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ที่จัดเก็บจากรายได้ค่าเช่าโดยการจัดเก็บภาษีดังกล่าวให้ใช้ดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดการทุจริตมาก ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องได้เพียงปีละ 1,000 ล้านบาท ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดิน จัดเก็บได้เพียงปีละ 23,000 ล้านบาท ซึ่งไม่สอดคล้องกับงบที่รัฐบาลกลางต้องจัดสรรงบไปยังหน่วยงานท้องถิ่นปีละหลายแสนล้านบาท  ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนราคาประเมินใหม่จะทำให้รายได้จากการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มปีละเป็นแสนล้านบาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook