เจาะนโยบายพลังงาน เกษตรกรอ่วม ระวังกระทบวงกว้าง

เจาะนโยบายพลังงาน เกษตรกรอ่วม ระวังกระทบวงกว้าง

เจาะนโยบายพลังงาน เกษตรกรอ่วม ระวังกระทบวงกว้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“เราจะค่อยๆ ขยับราคาพลังงานที่ต่ำกว่าเป็นจริงไปเรื่อยๆ ไปสู่ราคาที่ถูกต้อง ดังนั้นราคาเบนซินและแก๊สโซฮอล์อนาคตจะต้องถูกลงและดีเซลจะต้องแพงขึ้น”นาย ณรงค์ชัย  อัครเศรณี รมว.พลังงาน

การส่งสัญญาณในเรื่องพลังงานของนายณรงค์ชัย  อัครเศรณี รมว.พลังงาน  เป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่อง ราคาน้ำมัน ซึ่ง หากเป็นไปตามสัญญาณดังกล่าวที่ว่า ราคาน้ำมันดีเซลจะแพงขึ้น และราคาเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะถูกลง

คำถามที่ตามมาก็คือ ราคาน้ำมันดีเซลจะต้องแพงขึ้น นั้นหมายถึงแพงขึ้นในระดับใด?   ราคาดีเซลจะแพงขึ้นจนเท่ากับหรือสูงกว่า เบนซินหรือไม่ ?  หรือ แพงขึ้นแต่ราคายังคงถูกกว่าราคาน้ำมันเบนซินที่ราคาถูกลง ?

หากจะมองไปในอนาคตก็คงต้องกลับไปดูโครงสร้างราคา ของน้ำมันทั้งสองประเภทในปัจจุบันว่าอยู่ที่เท่าไร มีอะไรแฝงอยู่ในนั้นบ้าง และหากจะมีการเปลี่ยนแปลงราคาจะมาจากส่วนไหนได้บ้าง
โครงสร้างราคาน้ำมัน หรือ ที่มาของการกำหนดราคาน้ำมันมาจาก 3 ส่วนคือ
-เนื้อน้ำมันหรือราคาจากหน้าโรงกลั่น
-ภาษีและเงินนำส่งกองทุนฯ
-ค่าการกลั่น/ค่าการตลาด
ดูภาพประกอบ ราคาน้ำมัน เมื่อวันที่ 6 ต.ค.57

                                                                                   ที่มา บริษัทไทยออยล์ จำกัดมหาชน

จากโครงสร้างราคาน้ำมัน ในส่วนของราคาเนื้อน้ำมันหรือราคาจากโรงกลั่น และค่าการกลั่นและการตลาดนั้น การเคลื่อนไหวย่อมเป็นไปตามกลไกราคา ในส่วนของการนำส่งเงินเข้ากองทุนนั้นจะมีการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)เพื่อพิจารณาเป็นวาระเป็นครั้งๆตามสถานการณ์ไป 

ดังนั้น หากรัฐบาลจะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างแน่นอนว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของภาษีเป็นสำคัญ 


จากภาพประกอบข้างบนจะเห็นว่าภาษีและเงินนำส่งกองทุนของน้ำมันมีความแตกต่างกัน แล้วที่มาของภาษีและเงินนำส่งกองทุนมีมาอย่างไร
ภาษีที่มีการจัดเก็บจากน้ำมันและเงินนำส่งกองทุนแต่ละประเภทประกอบด้วย
-ภาษีสรรสามิต
-ภาษีเทศบาล
-ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ทั้งนี้ในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ทางกบง.ได้มีการปรับโครงสร้างตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีผลมาตั้งวันที่ 29 ส.ค.57 ที่ผ่านมา ซึ่งการปรับครั้งนั้นทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในกลุ่มเบนซิน และน้ำมัน แก๊สโซฮอล์เกือบทุกชนิดลดลง โดยน้ำมันเบนซินราคา ขายปลีกลดลง 3.89 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ลดลง 2.13 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง 1.70 บาทต่อลิตร อี 20 ลดลง 1 บาทต่อ ลิตร ส่วนอี 85 ราคาคงเดิม ขณะที่น้ำมันดีเซลราคาปรับเพิ่มเล็กน้อย 0.14 บาทต่อลิตร

ขณะที่โครงสร้างภาษีน้ำมันที่มีการปรับโครงสร้างมีรายละเอียดดังนี้
มันเบนซิน
ลดภาษีสรรพสามิตจากเดิม 7 บาทต่อลิตร ลดเหลือ 5.60 บาทต่อลิตร
ลดภาษีเทศบาลจาก 0.70 บาทต่อลิตร ลดเหลือ 0.56 บาทต่อลิตร
แก๊สโซฮอล์ 95
ลดภาษีสรรพสามิตจาก 6.30 บาทต่อลิตร เหลือ 5.04 บาทต่อลิตร
ลดภาษีเทศบาลจาก 0.63 บาทต่อลิตร เหลือ 0.504 บาทต่อลิตร
แก๊สโซฮอล์ 91
ลดภาษีสรรพสามิตจาก 6.30 บาทต่อลิตร เหลือ 5.04 บาทต่อลิตร
ลดภาษีเทศบาลจาก 0.63 บาทต่อลิตร เหลือ 0.504 บาทต่อลิตร
แก๊สโซฮอล์ 95
ลดภาษีสรรพสามิตจาก 5.60 บาทต่อลิตร เหลือ 4.48 บาทต่อลิตร
ลดภาษีเทศบาลจาก 0.56 บาทต่อลิตร เหลือ 0.448 บาทต่อลิตร
น้ำมันดีเซล
เพิ่มภาษีสรรพสามิตจาก 0.005 บาทต่อลิตร เป็น 0.75 บาทต่อลิตร
เพิ่มภาษีเทศบาลจาก 0.0005 บาทต่อลิตร เป็น 0.075 บาทต่อลิตร

อย่างไรก็ตาม หากจับทิศทางการส่งสัญญาณของรมว.พลังงานตามที่ได้กล่าวย้ำไว้ว่า ราคาน้ำมันเบนซินจะต้องถูกลง ราคาน้ำมันดีเซลจะแพงขึ้น และเมื่อไปดูเพดานภาษีสรรพสามิต พบว่า อัตราภาษีของน้ำมันในกลุ่มเบนซินและ ดีเซลอยู่ที่ 10 บาทต่อลิตร แต่ที่ผ่านมามีการปรับโครงสร้างลงตามนโนบายของรัฐบาลในแต่ละชุด

ดังนั้นการส่งสัญญาณของรมว.พลังงานครั้งเป็นไปได้ว่า ในส่วนของน้ำมันดีเซลน่าจะมีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต และ ภาษีเทศบาลอีกละลอก ส่วนน้ำมันในกลุ่มเบนซินก็น่าจะมีการปรับลดภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลลงอีกเช่นกัน แต่ทั้งนี้เชื่อว่า ราคาของน้ำมันดีเซลแม้จะสูงขึ้นแต่คงไม่สูงกว่าราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซิน แต่ความต่างของราคาน่าจะหดแคบลงกว่าเดิมอย่างแน่นอน

การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน หลังจากมีการส่งสัญญาณจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เริ่มมีการโยนหินถามทางในเรื่องดังกล่าวทันที โดยมีรายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 ต.ค.57ว่า กระทรวงพลังงานเตรียมปรับราคาก๊าซแอลพีจี(LPG)อีกครั้ง ในส่วนของภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง หรือที่ใช้กับรถยนต์  โดยการปรับครั้งนี้เพื่อให้ราคาขึ้นไปสูงเท่าราคาที่กระทรวงพลังงานบอกว่าเป็นต้นทุนที่แท้จริง คือ  27.85 บาทต่อกิโลกรัม

ดังนั้น ทำให้แอลพีจีขนส่งปัจจุบันอยู่ที่ 22 บาทต่อ กิโลกรัม จะต้องปรับขึ้น 5.85 บาทต่อ กิโลกรัม และแอลพีจีภาคครัวเรือน ปัจจุบันอยู่ที่ 22.63 บาทต่อ กิโลกรัม จะต้องปรับขึ้นอีก 5.22 บาทต่อ กิโลกรัม. โดยจะทยอยปรับขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อ กิโลกรัม เป็นระยะเวลา 12 เดือน

อย่างไรก็ตามจะมีการออกมาตรการช่วยเหลือสำหรับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย โดยรัฐกำหนดให้ใช้ราคาเดิม ในปริมาณไม่เกิน 15 กิโลกรัม.ต่อ 3 เดือน และร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหารไม่เกิน 150 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งทั้งหมดมีประมาณ 7 ล้าน 7 แสนครัวเรือน ขณะที่แท็กซี่ที่ใช้แอลพีจีจะส่งเสริมให้ปรับมาใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือเอ็นจีวีแทน
 

 


สำหรับผลกระทบที่เกิดขึ้น กระทรวงพลังงานได้มีการคำนวณว่าการเพิ่มราคาก๊าซแอลพีจีทำให้ต้นทุนในส่วนของอาหารเพิ่มเพียงเล็กน้อยคือ 30 สต.ต่อจานเท่านั้น  ส่วนทุนทุนภาคขนส่ง หากราคาก๊าซแอลพีจีอยู่ที่ 27.85 บาทต่อ กิโลกรัม หรือประมาณ 16 บาทต่อลิตร ซึ่งคิดเป็นค่าเชื้อเพลิงของรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 1บาท 44 สตางค์ต่อ กิโลเมตร เมื่อเทียบกับผู้ใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์แล้ว ก็ ถูกกว่ามาก

จะเห็นได้ว่าการมองการปรับโครงสร้างราคาพลังงานตามแนวทางที่กระทรวงพลังงานภายใต้การนำของนายณรงค์ชัย  อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นการยึดโดยอ้างหลักกลไกตลาดเข้ามาจัดการ  โดยเชื่อว่ากลไกตลาดจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์และเป็นธรรมที่สุด

แต่ในข้อเท็จจริงที่ต้องคำนึง  พลังงาน  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคม  เศรษฐกิจและส่งผลกระทบในหลายมิติและที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายพลังงานถือว่าเป็นเรื่องทางการเมืองที่ต้องตัดสินใจอย่างรอบครอบ

แน่นอนว่าจากข้อมูลของกรมขนส่งทางบก ตัวเลขการจดทะเบียนของรถยนต์ส่วนใหญ่กว่า 70 % จะเป็นรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง เบนซิน ที่เหลือเป็นกลุ่มดีเซล และ พลังงานทดแทน หรือก๊าซ ทั้งนี้หลังจากมีการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ทำให้พฤติกรรมการใช้รถยนต์มีการหันมาใช้รถยนต์ประเภทที่ใช้น้ำมันดีเซลมากขึ้น ทำให้ยอดการใช้น้ำมันดีเซลต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากประมาณ 55 ล้านลิตรเป็น 60 ล้านลิตรต่อวัน 
ซึ่งจากทิศทางดังกล่าวทำให้กระทรวงพลังงานกังวลและน่าจะเป็นเหตุผลหลักส่วนหนึ่งที่ต้องการปรับราคาน้ำมันดีเซลขึ้น โดยอ้างว่าเพื่อลดการบิดเบือนของราคา  ไม่เป็นการนำเงินจากน้ำมันประเภทอื่นมาอุดหนุนน้ำมันดีเซล

ประเด็นที่ต้องพิจารณาในส่วนของน้ำมันดีเซล ก็คือ  แม้ว่าจะมีการใช้รถที่ใช้น้ำมันดีเซลมากขึ้นก็ตาม แต่ส่วนใหญ่คนที่ใช้รถยนต์ประเภทนี้ ก็คือ คนที่ใช้รถกระบะบรรทุก หรือรถบิ๊กอัพ รถที่ใช้ในภาคการเกษตร  และรถยนต์โดยสาร  รถบรรทุกขนส่งสินค้า ดังนั้น การขึ้นราคาน้ำมันดีเซล ย่อมส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรให้มีต้นทุนสูงขึ้น 

รวมไปถึงภาคขนส่ง เช่นกัน  และจากข่าวการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา ภาคขนส่งเอง มีการแสดงความเห็นออกมาแล้วว่า หากมีการขึ้นราคาน้ำมัน ก็จำเป็นต้องขึ้นราคาค่าขนส่งเช่นกัน 

และจากการโยนหินถามทางในเรื่องการขึ้นราคาก๊าซ แอลพีจี ภาคครัวเรือนและขนส่งที่จะปรับเพิ่มราคาในปีหน้า แม้ว่า กระทรวงพลังงานจะมีการอ้างข้อมูลว่าการปรับราคาก๊าซเป็นต้นทุนเพียงเล็กน้อยเท่าใดก็ตาม  แต่ที่ผ่านมา การขึ้นราคาสิ้นค้า ไม่ได้ขึ้นตามสัดส่วนที่กระทรวงพลังงานกล่าวอ้างทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง การปรับราคาข้าวแกงไม่เคยมีครั้งใดที่ขึ้นราคาครั้ง 1-2 บาท(ต้นทุนเพิ่ม30สต.ต่อจาน) แต่จะปรับราคาขึ้นไปครั้งละ5 บาทเป็นอย่างต่ำ

นั้นหมายถึง ต้นทุนการขนส่งสินค้าย่อมเพิ่มขึ้น และ นำไปสู่การปรับเพิ่มราคาสินค้าตามขึ้นไปด้วย และนั้นหมายถึงค่าครองชีพจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งผลที่เกิดจะเกิดกับคนทั้งประเทศ

ในขณะที่ทิศทางของราคาน้ำมันในกลุ่มเบนซินจะมีการปรับลงนั้น ย่อมได้รับเสียงสนับสนุนจากผู้ใช้อย่างชนชั้นกลางในเมืองซึ่งส่วนใหญ่ใช้รถยนต์นั่งบุคคลหรือรถเก๋ง แต่สิ่งที่ต้องติดตามก็คือ รัฐบาลมีมาตรการในการรับมือกับค่าครองชีพที่พร้อมจะขยับขึ้นทั้งสินค้าและบริการอย่างไร  ?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook