ส่องดอกเบี้ยกู้รายย่อย ก่อนสร้างฝันให้เป็นจริง

ส่องดอกเบี้ยกู้รายย่อย ก่อนสร้างฝันให้เป็นจริง

ส่องดอกเบี้ยกู้รายย่อย ก่อนสร้างฝันให้เป็นจริง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับคนที่ไม่มีเงินถุงเงินถัง ต้องทำงานสร้างเนื้อสร้างตัว คงจะมีความฝันที่จะสร้างรากฐานของตัวเองเพื่ออนาคตต่อไปข้างหน้า  บ้างอยากมีบ้าน บ้างอยากมีรถ ฯลฯ  แน่นนอน หากจะสร้างสิ่งเหล่านั้นคงไม่มีใครรอจนมีเงินเก็บมากพอจนไปซื้อบ้าน ซื้อรถด้วยเงินสดเป็นแน่แท้...

หนทางหนึ่งเพื่อที่จะก้าวไปสู้ความฝัน ก็คือ พยายามอดออมเก็บเงินก้อนพอจะเป็นเงินเริ่มต้นสำหรับดาวน์บ้าน ดาวน์รถ แล้วขอกู้จากสถาบันการเงินเพื่อต่อเติมฝันเอา  ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงินก็มีบริการสำหรับเงินกู้หลากหลายประเภท หลากหลายรูปแบบ

ดังนั้นไม่แปลกที่รักจะได้ยินได้เห็นโฆษณา เกี่ยวกับสินเชื่อต่างๆ  และคงคุ้นกับคำว่า ดอกเบี้ย MRR  อย่างเช่น MRR – ? บ้าง MRR + ? บ้าง เป็นต้น
แต่ทราบหรือไม่ดอกเบี้ย MRR คืออะไร และแต่ละธนาคาร เท่ากันหรือไม่อย่างไร  วันนี้ sanook money จะแนะนำเกี่ยวกับดอกเบี้ยMRR ซึ่งน่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ตรงกับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องการสร้างหลักสร้างฐานตามที่เกรินมาข้างต้นมากที่สุด

ดอกเบี้ย MRR คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น

ทั้งนี้ ดอกเบี้ย MRR จะเป็นดอกเบี้ยสำหรับการอ้างอิงสำหรับสินเชื่อหรือเงินกู้แต่ละประเภท  สมมุติ สถาบันการเงิน A กำหนดดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ หรือสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านหรือที่อยู่อาศัย ที่ MRR  + 1 %  โดย ดอกเบี้ย MRR ของสถาบันการเงิน A อยู่ที่ 6.00 % ดังนั้น เงินกู้ของธนาคารสำหรับซื้อบ้านที่อยู่อาศัย เท่ากับ 6.00 + 1 เท่ากับ 7 %   ต่อปีเป็นต้น
ที่นี้มาดูดอกเบี้ยเงินกู้ของ10 ธนาคารเรียงจากอัตราน้อยไปหามาก กันว่า มีอัตราเท่าไรในปัจจุบัน(ทั้งนี้ธนาคารจะมีการประกาศอัตราที่ชัดเจนหากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซึ่งสามารถตรวจสอบกับธนาคารได้ทุกธนาคาร)


    อัตราดอกเบี้ยรายย่อยชั้นดี(MRR)เรียงลำดับจากน้อยไปมาก10ธนาคาร
           (ข้อมูล ณ21 ต.ค.57)

 

                  
                                                                                                   ที่มา:ธนาคารแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธนาคารรัฐที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ อย่างเช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์  (ธอส.)และ ธนาคารออมสิน มีอัตราดอกเบี้ยMRR ดังนี้

        

จะเห็นได้ว่าแต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์แต่ละธนาคารมีอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการเงินของแต่ละแห่ง  และในส่วนของธนาคารรัฐจะมีดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ เป็นเพราะนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการกู้ได้ง่ายกว่าธนาคารพาณิชย์  ตามนโยบายแห่งรัฐ

แต่ทั้งนี้ทั้งนี้  ผู้กู้จะต้องเปรียบเทียบเงินกู้แต่ละประเภทของแต่ละธนาคารให้ดี เพราะจะมีแพ็กเกจเพื่อดึงผู้กู้มาเป็นลูกค้าของแต่ละธนาคาร  เมื่อเราทราบถึงฐานของดอกเบี้ย MRR ของแต่ละแห่งแล้ว ก็คงไม่ยากสำหรับการกู้เงินของผู้ที่จะเริ่มเติมฝันของแต่ละคน  โดยสามารถเปรียบเทียบดอกเบี้ย ตลอดระยะเวลาการกู้ ว่า มีส่วนลดอย่างไร  มีการคงที่อัตราดอกเบี้ยเพื่อลดภาระในช่วงเริ่มต้นมากน้อยแค่ไหน และหากไม่เข้าใจก็สามารถปรึกษากับผู้รู้ หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ก่อนตัดสินใจครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook