9 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์ เพื่อไม่โดนหลอก

9 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์ เพื่อไม่โดนหลอก

9 เทคนิคจับผิดร้านค้าออนไลน์ เพื่อไม่โดนหลอก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้องยอมรับว่าสมัยนี้ การจับจ่ายสินค้า ไม่ได้มีเพียงแค่ตามตลาด ห้างสรรพสินค้าเท่านั้น เพราะความเข้าถึงง่ายของเทคโนโลยี ทั้งสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ ล้วนแต่สร้างความสะดวกสบายในการเลือกซื้อสินค้าที่ง่าย รวดเร็ว ตัดปัญหาเรื่องของการเดินทาง บางครั้งยังได้สินค้าที่มีราคาถูกกว่าท้องตลาด เนื่องจากร้านค้าออนไลน์ไม่มีต้นทุนในการเปิดร้าน  จึงทำให้คนในสังคมไทยนิยมจับจ่ายใช้สอยเงินในกระเป๋าผ่านออนไลน์  แม้ว่าการซื้อของผ่านระบบออนไลน์เป็นที่นิยมของคนไทย แต่ในขณะเดียวกันก็กลายเป็นแหล่งโจรของมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาอีกไม่น้อย

ด้วยปัจจัยที่เข้าถึงง่ายสะดวกนี้เอง ทำให้ การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเติบโตของธุรกิจออนไลน์ก็ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา เช่น ได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือคุณภาพต่ำกว่าที่โฆษณาขายไว้ทางออนไลน์   ได้สินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือไม่ตรงกับความต้องการ รวมไปถึงการโฆษณาเกินจริง หลอกลวงผู้บริโภค จนกลายเป็นปัญหาที่มีการร้องเรียนเข้ามายัง สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)ไม่ต่ำกว่า 200-300 ราย ตามหน้าหนังสือพิมพ์ที่มีให้เห็นจนชินตา
และเพื่อป้องกันการโดนหลอกจากการซื้อสินค้าออนไลน์ จนทำให้ต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  S! Money มีเคล็ดลับเล็กๆ น้อย ฝากไว้เป็นข้อสังเกต ก่อนที่จะตัดใจจ่ายเงินซื้อของออนไลน์ ดังนี้


1. นำชื่อ เบอร์โทรศัพท์ หรือ username ของคนขายมา search หาใน google  หากชื่อนี้เคยหลอกลวงคนอื่นมาก่อน แล้วกลับมาโพสต์ขายของอีก จะมีคนพูดถึงรายละเอียดคดีความของเขาขึ้นมาเลยด้วย

2. ให้กดค้นหาชื่อร้านค้า หรือคนขาย ใน Facebook หรือ Twitter  ตรวจสอบสถานะว่ามีการขายของจริงๆ หรือไม่ เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องมีตัวตัวผ่านเครื่องมือต่างๆ ของโซเชียลแน่นอน

3. ลองค้นหาในเว็บไซต์ที่สามารถตรวจสอบตัวตน  เช่น  peekyou.com , touchgraph.com/seo หรือ socialmention.com แล้วใส่ชื่อ หรือ username ของผู้ขายลงไป ก็จะเจอข้อมูลมากมายทั้งอีเมล์ ข้อมูลบนเว็บต่างๆ และ Social Network ของเขา

4. ตรวจสอบกับผู้ที่เคยซื้อ ว่าได้รับสินค้าจริงๆหรือไม่? อาจจะหลังไมค์ไปพูดคุยกับคนที่เคยสั่งซื้อที่มีชื่อปรากฏการจองสินค้า เช่น ถ้าร้านขายใน Facebook เราก็ Inbox ไปสอบถามความรู้สึก ความคิดเห็นว่า สินค้าเป็นอย่างไร เพื่อเก็บเป็นข้อมูลการตัดสินใจได้อีกทาง

5. อย่าเห็นแก่ของราคาถูก!  ถ้าพบว่าร้านค้าออนไลน์ขายของถูกเกินจริง ต้องยิ่งสังเกตและระวังเป็นอย่างมาก เพราะโอกาสโดนหลอกสูงมากๆ  และอุทธาหรณ์ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้วในกรณีนี้

6. ลองสั่งซื้อของจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า คนขายคนนั้น ส่งของจริง และมีตัวตนจริงๆ (หากเป็นคนโกง เค้าจะพยายามให้คุณสั่งของทีละมากๆ ระวังเอาไว้)

7.อย่าไว้ใจแค่ social network ของผู้ขาย เพราะบางคนมีหลายแอ็คเค้า พยายามขอแอ็คเค้าจริงๆ ที่เค้าใช้ ที่สามารถเห็น เพื่อนๆ และพฤติกรรมของเค้าจริงๆ ได้ (หากเค้าจริงใจ เค้าต้องให้)

8.ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ, มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การอัพเดทสินค้าเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าร้านออนไลน์ของเขาอยู่จริง ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น

9. ส่วนการจ่ายเงิน หากจำเป็นต้องโอนผ่านธนาคาร พยายามเลือกร้านที่มีรีวิวการส่งสินค้า การรับสินค้าอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้ใช้รูปเดิม เพื่อยืนยันว่ามีการส่งสินค้าจริง

 นี่เป็น 9  วิธีง่ายๆที่จะช่วยให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการซื้อขายสินค้าออนไลน์  เงินในกระเป๋าของคุณได้ไม่เสียไปฟรีๆ เพราะเล่ห์เหลี่ยมมิจฉาชีพออนไลน์

โดย Chanika Aranyakanont

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook