เตือน ! เก็งกำไรคอนโดฯ ติดกับดัก...ปั่นราคาใบจอง

เตือน ! เก็งกำไรคอนโดฯ ติดกับดัก...ปั่นราคาใบจอง

เตือน ! เก็งกำไรคอนโดฯ ติดกับดัก...ปั่นราคาใบจอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นประเด็นฮอตของวงการคอนโดมิเนียมบนโลกออนไลน์ กับกรณีวงจร...ปั่นราคาใบจอง ที่ถูกตั้งข้อสังเกตว่าบางโครงการที่เคลมว่าขายหมดอย่างรวดเร็ว อาจเป็น...ภาพลวงตา สร้างกระแสให้น่าสนใจเพื่อดึงคนซื้อเข้ามา
 
 
โดย ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน-ตุลาคมที่ผ่านมา มีคอนโดฯไฮเอนด์เปิดตัวคึกคักไม่ต่ำกว่า 6-7 โครงการ และราคาขายพุ่งสูงขึ้นจากปีก่อนเริ่มต้นตารางเมตรละกว่า 1 แสนบาท เป็นตารางเมตรละ 2 แสนบวกลบ สวนทางกับรายได้กลุ่มเป้าหมายคอนโดฯที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

สุด ท้ายวงจรเกมปั่นราคาใบจอง อาจสร้างผลเสียนำมาสู่ปัญหาฟองสบู่คอนโดฯ เพราะคนที่ต้องการซื้ออยู่จริงต้องซื้อคอนโดฯแพงขึ้น และกระทบชิ่งถึงนักลงทุนที่พร้อมจะโอนและถือไว้ในระยะยาว เพราะถูกนักเก็งกำไรเข้ามาเป็นพ่อค้าคนกลางปั่นราคา กลายเป็นปัญหาฟองสบู่ใบจองคอนโดฯได้

เก็งกำไรใบจองว่อนเน็ต

ทั้ง นี้ จากการสำรวจพบว่า ขณะนี้กลุ่มนักเก็งกำไรคอนโดฯได้กลับเข้ามาอีกครั้ง สะท้อนจากการประกาศขายใบจองคอนโดฯทางอินเทอร์เน็ตกลับมาอีกครั้ง อาทิ คอนโดฯเปิดตัวใหม่ในย่านราชเทวีของบริษัทพัฒนาที่ดินในตลาดหลักทรัพย์ฯราย หนึ่ง ราคาซื้อขาย 6.59 ล้านบาท ประกาศขายใบจอง 2.5 แสนบาท แยกเป็นต้นทุนค่าใบจอง 5 หมื่นบาท และบวกกำไรอีก 2 แสนบาท, คอนโดฯที่เปิดตัวใหม่ใกล้แยกอโศก ราคาซื้อขาย 6.96 ล้านบาท ประกาศขายใบจอง 2.5 แสนบาท โดยผู้ขายขอบวกกำไรประมาณ 2 แสนบาท ฯลฯ

ผู้สื่อข่าวสอบ ถามไปยังสำนักงานขายโครงการคอนโดฯในย่านสุขุมวิทของบริษัทพัฒนาที่ดินชั้นนำ แห่งหนึ่ง ที่เปิดตัวเมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมาพบว่า ขณะนี้บริษัทพัฒนาที่ดินบางรายได้เข้ามารับฝากขายใบจองคอนโดฯเอง โครงการดังกล่าวมีห้องชุดทั้งหมดกว่า 200 ยูนิตแล้ว แต่มีห้องรีเซลที่ลูกค้าฝากบริษัทเอเย่นต์ในเครือขายใบจองกับฝ่ายเอเย่นต์ ของบริษัทประมาณ 40 ยูนิต อาทิ ห้องแบบ 1 ห้องนอน ราคาซื้อขาย 6.84 ล้านบาท ทางผู้ขายขอบวกกำไร 6 หมื่นบาท ขณะที่ผู้ซื้อจะต้องรับภาระจ่ายค่าธรรมเนียมรับฝากขายให้บริษัทเอเย่นต์ใน อัตรา 0.77% ของราคาซื้อขาย หรือห้อง 6.84 ล้านบาท จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมประมาณ 5.2 หมื่นบาท

ส่วนโครงการคอนโดฯใน ย่านราชเทวีที่เปิดตัวเมื่อกว่า 1 เดือนที่ผ่านมาพบว่า โครงการปิดการขายห้องชุดทั้งหมดกว่า 500 ยูนิต แต่มีห้องรีเซลที่ลูกค้าฝากขายใบจองกับบริษัทเอเย่นต์ในเครือประมาณ 100 ยูนิต โดยห้องชุดแบบ 29 ตารางเมตร ราคา 5.2 ล้านบาท ผู้ขายขอบวกกำไร 5 หมื่นบาท ขณะที่ผู้ซื้อจะรับภาระจ่ายค่าคอมมิสชั่นให้บริษัทเอเย่นต์อีกห้องละ 3-4 หมื่นบาท ขึ้นกับแบบห้อง

"อนันดา-โนเบิล" แจงฝากขาย

แหล่ง ข่าวจาก บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ ผู้พัฒนาโครงการคอนโดไอดีโอ ระบุว่า อนันดาฯมีบริษัทในเครือคือดิเอเจนท์ ทำหน้าที่รับฝากขาย-เช่าคอนโดฯให้กับลูกค้า วัตถุประสงค์ไม่ได้ต้องส่งเสริมหรือช่วยนักเก็งกำไรคอนโดฯ แต่เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกลูกค้าที่ต้องการฝากขาย-เช่า และเปิดรับคอนโดฯของผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ด้วย

ปัจจุบันมีห้องชุด ในโครงการที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ อาทิ ไอดีโอ สยาม-ราชเทวี มีลูกค้ามาฝากขายประมาณ 100 ยูนิต เท่าที่ทราบขอบวกกำไรตั้งแต่ยูนิตละ 5 หมื่น-2 แสนบาท ขึ้นกับแบบและขนาดพื้นที่ใช้สอย และบริษัทคิดค่าธรรมเนียมรับฝากขายยูนิตละ 3-4 หมื่นบาท

ด้านแหล่ง ข่าวจาก บมจ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ เปิดเผยว่า โครงการโนเบิล รีโคล สุขุมวิท 19 ที่เปิดตัวเมื่อ 1-2 เดือนที่ผ่านมา และปิดการขายได้ภายในวันเดียว ปัจจุบันมีลูกค้านำห้องชุดประมาณ 40 ยูนิต จากทั้งหมด 282 ยูนิต มาฝากขายกับโนเบิลเซิร์ฟ ที่เป็นฝ่ายเอเย่นต์รับฝากขาย-เช่าของบริษัท เป็นลูกค้าที่ขายใบจองและขอบวกกำไรเริ่มต้นประมาณ 5 หมื่นถึง 1 แสนบาท จากราคาห้องชุดเริ่มต้นกว่า 5-7 ล้านบาท

เดิมทีโนเบิลตั้งฝ่าย เอเย่นต์ขึ้นมาเพื่อรับฝากขาย-เช่าคอนโดฯโนเบิลและโครงการทั่วไปเฉพาะที่ สร้างเสร็จ แต่ต่อมามีลูกค้าเรียกร้องให้รับฝากขาย-เช่าคอนโดฯใหม่ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่มีวัตถุประสงค์ช่วยนักเก็งกำไรขายใบจอง เห็นได้จากบริษัทมีการเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสูงสุด 2% ของราคาซื้อขาย

แสนสิริชี้ยอดรีเซล15%

นาย อุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสสายงานพัฒนาธุรกิจและโครงการคอนโดมิเนียม บมจ.แสนสิริ เปิดเผยว่า โครงการคอนโดฯของแสนสิริที่ทยอยโอนปีนี้ มีสัดส่วนห้องชุดที่ต้องนำกลับมารีเซลใหม่เฉลี่ย 10-15% ต่อโครงการ ส่วนใหญ่เป็นห้องชุดราคายูนิตละไม่เกิน 2 ล้านบาท ในจำนวนนี้มีทั้งกลุ่มที่ผ่อนดาวน์ไม่ไหว กู้ไม่ผ่าน และกลุ่มเก็งกำไรที่ไม่อยากโอนปะปนกัน

"ส่วนปรากฏการณ์คอนโดฯ ไฮเอนด์กลางเมืองที่เปิดตัวก่อนหน้านี้และขายหมดในวันเดียว มองว่าดีมานด์คงค้างที่พร้อมจะซื้อตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา แต่มีโครงการเปิดตัวน้อยในช่วงมีปัญหาการเมือง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าลูกค้าบางส่วนเป็นนักลงทุนที่มีเงินเย็น หากขายต่อไม่ได้ก็พร้อมจะโอน" นายอุทัยระบุ

เตือนนักเก็งกำไรติดกับดัก

แหล่ง ข่าวจากวงการพัฒนาที่ดินในตลาดหลักทรัพย์ฯรายหนึ่งให้ข้อมูลว่า ปรากฏการณ์คอนโดฯที่ขายหมดเกลี้ยงวันเดียวรอบนี้ วิเคราะห์ว่ามี 2 แบบคือ 1) ขายหมดจริงแต่มีนักเก็งกำไรปะปนอยู่ด้วย บางโครงการมีสัดส่วน 30-40% และ 2) ขายหมดแบบมีกลยุทธ์ ได้แก่ กันห้องบางส่วนให้พนักงานบริษัทจองและนำมารีเซล กันห้องบางส่วนไว้เพื่อนำมารีเซลผ่านบริษัทนายหน้าในเครือ สังเกตบางโครงการติดป้ายแจ้งว่าขายหมด แต่กลับมีพนักงานขายประจำโครงการเป็นจำนวนมาก

"อยากเตือนสติทั้ง 2 ฝั่ง ฝั่งผู้ประกอบการควรมีธรรมาภิบาลในการทำธุรกิจ เพราะการเปิดให้ผู้บริหารหรือพนักงานจองแล้วนำมารีเซลใหม่ แทนที่กำไรจะเข้าบริษัทและคืนให้นักลงทุนในรูปแบบเงินปันผล ก็จะไปตกกับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ส่วนผู้ซื้อให้ซื้อเพราะมีความจำเป็นต้องอยู่ นาทีนี้ไม่ควรเก็งกำไร จะตกเป็นเหยื่อของกระแสได้" แหล่งข่าวระบุ

เป็นปรากฏการณ์วงจรปั่นราคาใบจองที่เกิดขึ้นในยุคคอนโดฯเกลื่อนเมือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook