8 ยี่ห้อดัง ที่หายสาบสูญ คุณยังจำได้ไหม?

8 ยี่ห้อดัง ที่หายสาบสูญ คุณยังจำได้ไหม?

8 ยี่ห้อดัง ที่หายสาบสูญ คุณยังจำได้ไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณยังจำยี่ห้อเหล่านี้ได้หรือไม่ ลองทบทวนความทรงจำของคุณดูหน่อย

อีกไม่นานโนเกียก็จะไม่มีอีกแล้ว ในช่วงทศวรรษที่ 1990 และต้นทศวรรษ 2000 ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือจากฟินแลนด์เป็นผู้ครองตลาด และผู้นำด้านเทคโนโลยีอันดับหนึ่งของโลก ขณะนี้มีข่าวว่าไมโครซอฟท์ที่เพิ่งซื้อโนเกียมาจะยกเลิกการผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์โนเกีย โดยที่มุ่งความสนใจไปที่การสายผลิตโทรศัพท์มือถือภายใต้ชื่อ"ลูเมีย"แทน หลังจากการนั้น ชื่อของบริษัทจากฟินแลนด์ที่มีอายุกว่า 147 ปี จะหายไปจากวงการที่ตนเป็นผู้สร้างขึ้นมา

โนเกียไม่ใช่บริษัทชื่อดังรายแรกที่กำลังจะหายไป จากการประกาศเมื่อไม่นานมานี้สถานีจำหน่ายน้ำมันที่เคยมีทั่วสหรัฐฯอย่าง "เฮสส์" ก็กำลังจะหายไปเช่นกัน โดยบริษัทจะมุ่งไปที่การผลิตน้ำมันแทนธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ขณะที่เรื่องราวของโนเกียและเฮสส์ยังอยู่ในกระแสข่าว ลองมองดูอีกแปดยี่ห้อดังที่เคยเป็นที่รู้จักกันดีแต่ได้หายสาบสูญไปแล้ว

แพนแอม

แพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวย์ส หรือที่รู้จักกันในชื่อ แพนแอม ถูกก่อตั้งในปี 1927 เมืองคีย์เวสต์ รัฐฟลอริดา โดยเริ่มทำธุรกิจขนส่งไปรษณีย์ระหว่างสหรัฐฯและคิวบา ก่อนที่จะขยายกิจการไปสู่ อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งการมิได้เป็นสายการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ จึงถูกเรียกกันว่าเป็นสายการบินทางเลือกสำหรับชาวสหรัฐฯในการเดินทางไปต่างประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่สองความนิยมในการเดินทางด้วยเครื่องบินและธุรกิจท่องเที่ยวมีสูงขึ้นมากทางบริษัทได้ทำการขยายเส้นทางบินไปทั่วโลกจากสนามบินเจเอฟเคในนิวยอร์คแพนแอมได้กลายมาเป็นสายการบินชื่อดังจากฝูงบินที่น่าหลงใหลในช่วงทศวรรษที่1960-1970 ซึ่งได้รับการถ่ายทอดผ่านซีรี่ย์ทางโทรทัศน์ในปี 2011

อย่างไรก็ตามบริษัทก็ต้องประสบปัญหาจากสิ่งที่ตนแทบจะควบคุมไม่ได้ ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ เหตุการณ์แรกจากการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายในปี 1988 ซึ่งทำการระเบิดเที่ยวบินที่ 103 เหนือเขตล็อคเคอร์บี้ สก็อตแลนด์ และอีกครั้งจากปัญหาวิกฤติราคาน้ำมันจากเหตุสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทำลายความสามารถทางการเงินของบริษัท ก่อนที่บริษัทจะถูกสั่งให้ล้มละลาย เดือนมกราคม 1991 และปิดบริษัทไปในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน

บล็อคบัสเตอร์

ปี 2000 รีด เฮสติงส์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเน็ตฟลิกซ์ ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ แต่แอนติโก้ซีอีโอของบล็อคบัสเตอร์ได้ปฏิเสธข้อเสนอของเฮสติ้งส์ เพราะบริษัทของเขาเป็นผู้นำในตลาดผู้ให้เช่าวิดีโอซึ่งทำกำไรอย่างเข้มแข็ง มีร้านสาขานับพัน และฐานลูกค้านับล้านคนที่จะเข้ามาเช่าหนังและวิดีโอเกมส์ของเขา นี่เป็นการประชุมที่ถือได้ว่าเป็นตำนานแห่งธุรกิจ เมื่อไม่นานจากนั้นธุรกิจของบล็อคบลัสเตอร์เริ่มดิ่งเหวและล้มละลายในปี 2010 ในทางกลับกันเน็ตฟลิกซ์กลับประสบความสำเร็จ

ในขณะที่ธุรกิจที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตอย่างเน็ตฟลิกซ์ฮูลูไอจูนส์และบริการเลือกชมตามต้องการผ่านระบบเคเบิ้ลมีตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่องดิสเน็ตเวิร์คคอร์ป ซึ่งซื้อกิจการของบล็อคบลัสเตอร์ในปี 2011 ประกาศว่าจะปิดร้านของบล็อคบลัสเตอร์ทั้งหมดในสหรัฐฯภายในเดือนมกราคม 2014 ขณะที่ร้านของบล็อคบลัสเตอร์กำลังจะหายไปจากห้างสรรพสินค้า และริมทางทั่วสหรัฐฯ ทางบริษัทพยายามที่จะสู้ต่อด้วยธุรกิจแบบ"ออนดีมานด์" โดยต้องแข่งขันกับคู่แข่งซึ่งครั้งหนึ่งเกือบจะได้เป็นหุ้นส่วนกันอย่างเน็ตฟลิกซ์

อโมโก้

บริษัทสแตนดาร์ดออย ก่อตั้งเมื่อปี 1889 และได้ควบรวบกิจการของบริษัทอเมริกันออยในปี 1910 บริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่มีชื่อว่า"อโมโก้" ซึ่งเป็นผู้ปฏิวัติการให้บริการในกิจการค้าปลีกน้ำมัน ด้วยการนำเอาระบบ วัดก๊าซด้วยมิเตอร์ สถานีจำหน่ายน้ำมันแบบ"ไดร์ฟทรู" และการใช้รถขนส่งน้ำมันขนาดใหญ่ บริษัทได้กลายเป็นสัญลักษณ์บนท้องถนนในการใช้ชีวิตของชาวอเมริกัน ป้ายยี่ห้อของบริษัทได้ปรากฏข้างเคียงกับทางหลวงของสหรัฐฯไปทั่วประเทศ กลายเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดในอเมริกาเหนือ และผู้นำในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์

ในปี 1998 อโมโก้ประกาศควบรวมกิจการกับบริติชปิโตรเลียม(บีพี) ซึ่งเป็นหนึ่งในการเข้าควบคุมกิจการครั้งใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯโดยกลุ่มธุรกิจต่างชาติ เดิมทีหลังควบรวมกิจการบีพีจะให้ใช้ชื่ออโมโก้ต่อไปในสหรัฐฯก่อนที่จะเปลี่ยนใจไปใช้เครื่องหมายการค้า"บีพี"ทั้งหมดด้วยเหตุนี้จึงไม่มีเครื่องหมาย"อโมโก้"อีกต่อไป

เอ็นรอน

ปลายทศวรรษที่ 1990 เอ็นรอนมีชื่อเสียงในฐานะบริษัทที่ใช้นวัตกรรมใหม่ในธุรกิจพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งได้สร้างความปั่นป่วนให้กับอุตสาหกรรม ก่อนที่ปัญหาที่แท้จริงจะได้ปรากฏขึ้น บริษัทจากฮูสตันได้สร้างสินค้าใหม่ๆในตลาดโภคภัณฑ์ ทั้งอินเตอร์เน็ตแบนด์วิดธ์ และการบริหารความเสี่ยงจากสภาพอากาศ ทำเงินจากกิจการที่ไม่เคยมีมาก่อน เอ็นรอนได้กลายมาเป็นตัวอย่างแก่ผู้ดำเนินธุรกิจแบบเก่าว่าจะปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจยุคใหม่พร้อมกับการพุ่งขึ้นของราคาหุ้นได้อย่างไร

เว้นเสียแต่สุดท้ายความลับอันฉาวโฉ่จะถูกเปิดเผยเอ็นรอนได้ปกปิดการขาดทุนและหนี้สินมหาศาลไว้ในชื่อของบริษัทที่ตั้งขึ้นมาปลอมๆและหุ้นลมเอ็นรอนประกาศล้มละลายในปี2001ทำให้คนตกงานหลายพันคน และสูญเงินนับพันล้านดอลลาร์จากการตกของมูลค่าหุ้น จากการสืบสวนได้เปิดเผยให้เห็นการฉ้อโกงและทุจริตของเอ็นรอนและบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี, อาเธอร์ แอนเดอร์สันบริษัทตรวจสอบบัญชีต้องปิดตัวเองลงในปี 2002 เมื่อพบว่ามีความผิดต่อการร่วมปกปิดการทำธุรกรรมโดยผิดกฎหมายของเอ็นรอน

โอลด์สโมบิล

ก่อตั้งในปี 1897 ในนาม "โอลด์ส มอเตอร์ เวอิเคิล" โดย แรนซั่ม เอลี่ โอลด์ส, ก่อนที่โอลด์สโมบิลจะกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของชาวอเมริกัน เมื่อนายโอลด์ส ได้ออกจากบริษัทมาก่อตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ อาอีโอ (ตามชื่อย่อของเขา) โอลด์ส มอเตอร์ เวอิเคิลได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม)ในปี1908 ซึ่งบริษัทอยู่กับจีเอ็มต่อมานับร้อยปี
ในระยะเวลานับร้อยปีของบริษัท พวกเขาได้จำหน่ายรถไปทั้งหมดกว่า 35 ล้านคัน รุ่น"คัทลาสส์"และ"คัทลาสส์ ซุพรีม" เป็นรถที่โด่งดังที่สุดจากดีทรอยท์และแลนซิงก์(สองเมืองแห่งมิชิแกน) โอลด์สโมบิลจำหน่ายรถได้มากกว่าหนึ่งล้านคันต่อปีในช่วงทศวรรษที่ 1980 ก่อนที่ยอดจำหน่ายจะลดลงในช่วงทศวรรษที่ 1990 บริษัทต้องฉลองครบรอบร้อยปีด้วยยอดขายที่ตกต่ำ และเป็นที่ชัดเจนว่าบริษัทไม่อาจแข่งขันกับรถขนาดเล็กและประหยัดน้ำมัน จากคู่แข่งอย่างฮุนได, ฮอนด้า และโตโยต้า รวมถึงปอนเตียกรถจากสายการผลิตของบริษัทแม่อย่างจีเอ็ม

ในปี 2000 จีเอ็มได้ออกประกาศว่ารถภายใต้แบรนด์โอลด์สโมบิลจะค่อยๆลดการผลิตลง รถจากชุดการผลิตสุดท้ายภายใต้โอลด์สโมบิลถูกประกอบขึ้นในเดือนเมษายน 2004 และบริษัทก็ปิดตัวลงหลังจากนั้นไม่นาน

วูลเวิร์ธส

แฟรงก์ วูลเวิร์ธ เปิดร้าน"เกรท 5 เซนต์" ในยูทิกา รัฐนิวยอร์ค ในปี 1879 ก่อนที่เขาจะเพิ่มคำว่า 10 เซนต์ ลงไปในชื่อด้วย ซึ่งร้านของเขาคือผู้นำตลาดด้วยการขายของทุกอย่างตั้งแต่ของชำ ไปจนถึงพลั่ว ผ้าอ้อม และอาหารเที่ยงในที่เดียว เป็นต้นกำเนิดสถานที่ช็อปปิ้งแบบวันสต๊อปอย่างวอลมาร์ท

วูลเวิร์ธครองตลาดสินค้าราคาถูกเป็นเวลากว่า117ปีวิธีการทำตลาดค้าปลีกของพวกเขายังมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบันแต่ธุรกิจของบริษัทเริ่มที่จะมีปัญหาในทศวรรษที่ 1980, ร้านไฟฟ์แอนด์ไดม์(5&10$)ของวูลเวิร์ธมีผลประกอบการขาดทุนรวมกัน 37 ล้านดอลลาร์ในปี 1986 ก่อนที่พวกเขาจะปิดร้านไฟฟ์แอนด์ไดม์ทั้งหมดกว่า 400 สาขาในปี 1987

บอร์เดอร์ส

ขณะที่มิชิแกนอาจเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองหลวงของแหล่งผลิตรถยนต์ของอเมริกาที่นี่ยังเป็นบ้านเกิดของผู้จำหน่ายหนังสือรายใหญ่ที่สุดในประเทศอย่าง"บอร์เดอร์ส"อีกด้วยบอร์เดอร์สถูกก่อตั้งในเมืองแอนน์อาร์เบอร์ ปี 1971 โดยพี่น้องทอมและหลุยส์ บอร์เดอร์ส พวกเขามีสาขาทั้งสิ้น 21 แหน่ง ก่อนที่พวกเขาจะขายกิจการให้กับเคมาร์ทในปี 1992 ด้วยมูลค่า 125 ล้านดอลลาร์ บอร์เดอร์สได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจการจำหน่ายหนังสือของเคมาร์ท ร่วมกับกิจการจำหน่ายหนังสืออื่นๆของตน เช่นวาลเด็นบุ๊คส์ ก่อนที่บริษัทจะถูกนำเข้าสู่ตลาดหุ้นและขยายกิจการต่อไปในช่วงทศวรรษที่ 1990

ท้ายที่สุดบอร์เดอร์สก็ไม่อาจต่อกรการมาถึงของอินเตอร์เน็ต, เทคโนโลยีใหม่อย่าง อี-รีดเดอร์ส(สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิคส์), ธุรกิจเพลงดิจิตอล, และผู้ค้าปลีกออนไลน์อย่างอเมซอน หลังจากอยู่ในตลาดมากว่า 40 ปี ร้านแรกของบริษัทใน แอนน์ อาร์เบอร์ต้องปิดตัวลงในปี 2011 และตามด้วยการประกาศล้มละลาย, ร้านหนังสือคู่แข่งอย่าง"บาร์นสแอนด์โนเบิ้ล" ได้เข้าซื้อชื่อและฐานลูกค้าของบอร์เดอรส์ ทำให้การค้นหาชื่อร้านบอร์เดอร์สทางอินเตอร์เน็ตจะถูกเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ของบาร์นสแอนด์โนเบิ้ล

เจเนอรัล ฟู้ดส์

ในปี 1895 ชาร์ล วิลเลี่ยม (ซีดับเบิ้ลยู) โพสต์ ได้ผลิตเครื่องดื่มจากซีเรียลในแบตเทิ้ลครีค มิชิแกน ก่อนที่จะตั้งบริษัทพอสตั้มซีเรียลในปี 1896 และเป็นการเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของบริษัทธุรกิจอาหารที่ประสบความสำเร็จอย่างยาวนาน เขาเปิดตัวอาหารเช้าซีเรียลผสม"องุ่น-ถั่ว"ในปี 1897 เมื่อบริษัทได้เริ่มทำธุรกิจอื่นๆนอกจากซีเรียล จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น เจเนอรัลฟู้ดส์ในปี 1929 บริษัทเจริญก้าวหน้าเป็นเวลาหลายสิบปี และได้ผลิตสินค้าอย่าง อาหารแช่แข็งเบิร์ดสอาย, กาแฟปลอดคาเฟอีนแซนก้า, คูล-เอด, เจล-โอ, แทง, ร้านอาหารเบอร์เกอร์เชฟ และ ออสการ์ ไมเยอร์

ในปี 1985 เจเนอรัล ฟู้ดส์ถูกซื้อโดยฟิลิป มอร์ริส(ก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อเป็นกลุ่มอัลเทรีย) เมื่อฟิลลิป มอร์ริส ซื้อคราฟท์ในปี 1988 บริษัททั้งสองจึงถูกรวมและกลายเป็นบริษัท คราฟท์ เจเนอรัลฟู้ดส์ ในปี 2007 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจอาหารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook