ครม.เห็นชอบแผนคืนความสุข ครอบคลุม รากหญ้า คนออม เอสเอ็มอี

ครม.เห็นชอบแผนคืนความสุข ครอบคลุม รากหญ้า คนออม เอสเอ็มอี

ครม.เห็นชอบแผนคืนความสุข ครอบคลุม รากหญ้า คนออม เอสเอ็มอี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ครม.เห็นชอบแผนคืนความสุข คลอบคลุม รากหญ้า คนออม เอสเอ็มอี มีทั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ,พันธบัตรออมทรัพย์ ฯ

 

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงร่วมกันว่า ที่ประชุม ครม. วันนี้เห็นชอบแผนคืนความสุข 4 ด้าน ครอบคลุมประชาชนระดับรากหญ้า คนระดับกลาง และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และเอกชนผู้ผลิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกระดับ ประกอบด้วย คือ 1. การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ผ่านโครงการนาโนไฟแนนซ์ ด้วยการเปิดให้บริษัทเอกชน ธนาคารพาณิชย์  และแบงก์รัฐ โดยตั้งหน่วยงานขึ้นมาร่วมโครงการ เพื่อเข้ามาร่วมโครงการ กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ร้อยละ  36ต่อปีหรือร้อยละ 3 ต่อเดือน  ปล่อยกู้วงเงิน 100,000 บาทต่อราย

 

เอกชนหรือหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการปล่อยกู้ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และต้องจดทะเบียนการปล่อยกู้กับธนาคารแห่งประเทศไทย และธปท.เป็นผู้กำกับดูแล โดยบริษัทเอกชนสามารถให้บริการตามพื้นที่จังหวัดต่างๆ หวังลดปัญหาการพึ่งพาหนี้นอกระบบที่ต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 10 ต่อเดือน หลังจากนี้ ธปท.จะประกาศหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเพื่อให้เอกชนเข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะธนาาคารออมสิน จะให้เป็นธนาคารของรัฐเข้าร่วมดำเนินการ

 

การออกพันธบัตรออมทรัพย์จำหน่ายให้กับประชาชนวงเงิน 1 แสนล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกในการออมเงินให้กับประชาชน แบ่งเป็น การออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 58 วงเงิน 50,000 ล้านบาท อายุพันธบัตร 10 ปี และการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในการปรับโครงสร้างหนี้จากการกู้เงินจำนำข้าว ของ ธ.ก.ส. อายุพันธบัตร 5 ปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลค้ำประกัน สำหรับการจำหน่ายงวดแรกเปิดขายให้กับประชาชนทุกกลุ่มแต่จำกัดวงเงินการซื้อ ตั้งแต่ 10,000 บาท  ไม่เกิน 2 ล้านบาท เปิดขาย 12-16 ม.ค.58 จากนั้นหากรายย่อยซื้อไม่หมด เปิดขายรอบสองไม่จำกัดจำนวน   19-20 ล้านบาท ยืนยันดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากของธนาคารอย่างแน่นอน

การลดภาษีเงินได้นิติบุคลให้กับผู้ผประกอบการเอสเอ็มอีหากกำไรสุทธิไม่เกิน 3 แสนบาท ได้รับการยกเว้นภาษี หากธุรกิจมีกำไรสุทธิ 1-3  เสียภาษีร้อยละ 15 จากเดิม ผู้ประกอบการมีกำไรสุทธิตั้งแต่ 3 แสนบาทจะเริ่มเสียภาษี จึงขยับให้ฐานกว้างขึ้น โดยมีกำไรตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป และหากกำไรเกิน 3 ล้านให้เสียภาษีร้อยละ 20  เพื่อลดภาระต้นทุนผู้ผประกอบการจำนวน 2.8 หมื่นราย โดยรัฐบาลสุญสเสียรายได้ 1,900 ล้านบาท    และ4. ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบจำเป็นและไม่มีการผลิตในประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นอุปกรณ์ เครื่องจักร ปัจจัยการผลิต เช่น ก๊าซธรรมชาติ สังกะสี ไม้สน แร่บางชนิด ปลาแซลมอล ปกติอากรขาเข้าเดิมร้อยละ 1-10 ให้ทำการยกเว้นอากรทั้งหมด สินค้าได้รับประโยชน์ 1,274  รายการ

สำหรับสินค้าเครื่องมือ  เครื่องจักรอีกประเภท ที่มีการผลิตในประเทศบางชนิดจักเก็บอากรร้อยละ 20-30 ให้ลดเหลือร้อยละ 10 มีจำนวน 258 รายการ การลดอากรขาเข้าทั้งหมดทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ 6,100 ล้านบาท แต่เมื่อส่งเสริมผู้ประกอบการแล้วจะทำให้รัฐบาลมีรายได้ทางอ้อทกลับคืนมาได้อีกทางหนึ่ง

 

สำหรับโครงการร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (Venture Capital) เพื่อนำเงินจากเอสเอ็มอีแบงก์เข้าร่วมลงทุนกับภาคเอกชนให้มีทุนหมุนเวียน และการเดินหน้ากองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อดูแลผู้มีอาชีพอิสระ ให้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนโดยรัฐบาลจ่ายสมทบกองทุนในกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) เป็นกองทุนให้แรงงานนอกระบบ ขอศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเสนอ ครม.พิจารณาในสัปดาห์ต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook