สนช.ให้ของขวัญปีใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน-ผู้พิการเฮได้รับเงินทดแทนตลอดชีวิต

สนช.ให้ของขวัญปีใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน-ผู้พิการเฮได้รับเงินทดแทนตลอดชีวิต

สนช.ให้ของขวัญปีใหม่ เพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน-ผู้พิการเฮได้รับเงินทดแทนตลอดชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 22 ธ.ค. ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ... นำโดย พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานกรรมาธิการฯ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานที่ปรึกษาฯ นายสุรเดช วลีอิทธิกุลรองประธานฯ พร้อมและคณะ ร่วมแถลงข่าวการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมฯ โดยนพ.เจตน์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเพิ่มประโยชน์ให้ผู้ประกันตน และผู้ใช้แรงงาน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ผู้ประกันตนทั่วประเทศ โดยเพิ่มการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค ซึ่งจะครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพก่อนที่ผู้ประกันตนจะเจ็บป่วย การยื่นขอรับผลประโยชน์ทดแทน 7 ประการ จากเดิมให้ผู้ประกันตนขอยื่นรับผลประโยชน์ภายใน 1 ปี แต่ได้มีการขยายเป็น 2 ปี การคำนวณค่าจ้างรายวันเมื่อผู้ประกันตนขาดรายได้ โดยยึดอัตราค่าจ้างที่สูงสุดมาคำนวณ การเหมาจ่ายคลอดบุตรจากเดิมที่ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง

 กรรมาธิการฯ เห็นว่าน้อยไป จึงเพิ่มสิทธิประโยชน์ไม่จำกัดครั้งในการคลอดบุตร และขยายเงินทดแทนสงเคราะห์บุตรจากเดิม 2 คนเป็น 3 คน และเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้ผู้ประกันตนกรณีได้รับความเสียหายในการรับบริการทางการแพทย์ ตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ กรรมาธิการฯได้พิจารณาให้บัญญัติในร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้ทัดเทียมกับบัตรทอง

 นพ.เจตน์ กล่าวอีกว่า ขยายคำนิยมคำว่า “ลูกจ้างชั่วคราว” ให้ครอบคลุมถึงลูกจ้างชั่วคราวทั้งหมดให้ได้รับสิทธิประโยชน์  ส่วนคณะกรรมการประกันสังคมที่มีสัดจากผู้แทนลูกจ้างและนายจ้าง กรรมาธิการฯได้แก้จำนวนจากเดิมฝ่ายละ 5 คน เป็น 7 คนและต้องมาจากการเลือกตั้งของผู้ประกันตน รวมทั้งกรรมการทั้งหมดจะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน รวมทั้งต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียผลประโยชน์ทับซ้อนกับสำนักงานประกันสังคม อย่างไรก็ตาม การแก้ไขของกรรมาธิการฯนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น โดยคาดว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติวาระ 2 และ3 ในช่วงกลางเดือน ม.ค.นี้

 นายสุรเดช กล่าวว่า กรรมาธิการฯ ยังแก้ไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ประกันตนเป็นบุคคลที่สูญเสียความสามารถในการทำงานเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ถึงจะได้รับเงินชดเชย โดยได้มีการขยายให้ครอบคลุมการสูญเสียแม้เพียงเล็กก็จะได้รับเงินชดเชย รวมถึงกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม ที่ครอบคลุมระยะเวลาเพียง 15 ปี นับจากที่กฎหมายกองทุนประกันสังคมมีผลบังคับใช้ใน 2553 ซึ่งปัจจุบันระยะเวลาเกินกำหนดแล้ว ดังนั้นกรรมาธิการฯได้แก้ไขให้ได้รับผลประโยชน์ทดแทนตลอดชีวิตโดยให้ย้อนหลังกับผู้ประกันที่ทุพพลภาพจะได้รับสิทธิ์ทั้งหมดส่วนการจ้างเหมาบริการสัญญาปีต่อปี กรรมาธิการฯจะพิจารณาว่าถ้าเป็นการทำงานตอบแทนเป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันจริง จะถือว่าครอบคลุมด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook