บิล เกตส์ ชอบอาหารไทย ตอกย้ำอาหารเลิศรสมีคุณค่า

บิล เกตส์ ชอบอาหารไทย ตอกย้ำอาหารเลิศรสมีคุณค่า

บิล เกตส์ ชอบอาหารไทย ตอกย้ำอาหารเลิศรสมีคุณค่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมส่งเสริมการค้าฯ เผย มหาเศรษฐกิจอันดับ1“บิล เกตส์”ชอบอาหารไทย ตอกย้ำอาหารเลิศรสมีคุณค่า คุณประโยชน์ครบ ชี้ทั่วโลกมุ่งเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ


นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงบทสัมภาษณ์ของบิล เกตส์ ได้ตอบคำถามต่างๆ ในรายการ Ask Me Anything บนเว็บไซต์ Reddit ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีไปจนถึงเรื่องส่วนตัว ในประเด็นอาหารที่ชอบว่า “ชอบอาหารไทยและอาหารอินเดีย” นับเป็นประโยคทองที่คนไทยภาคภูมิใจ เนื่องจากอาหารไทยอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ถือเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ มีบทพิสูจน์ถึงคุณประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าผู้บริโภคจะอยู่ในชนชั้นไหน ระดับใด หรือมีรายได้เท่าไร ก็สามารถหาซื้อสินค้าและ ผลิตภัณฑ์อาหารไทยมารับประทาน

“อาหารไทยเป็นที่รู้จักติด 1 ใน 5 ของอาหารยอดนิยมในตลาดโลก ด้วยรสชาติเผ็ด ร้อน และมีคุณค่าสมุนไพรอันเลื่องชื่อ ตลอดระยะเวลาหลายปี อาหารไทยทั้งต้มยำกุ้ง ผัดไทย แกงเขียวหวาน มัสมั่น ล้วนเป็นอาหารที่สามารถหาส่วนประกอบและเครื่องปรุงรสได้ในห้างสรรพสินค้าทุกมุมโลก หรือ พร้อมนำกลับไปปรุงแบบง่ายๆ เพื่อรับประทานที่บ้าน หรือ เลือกใช้บริการร้านอาหารชั้นนำ และร้านอาหารไทย ผู้บริโภคจะได้ลิ้มรสชาติอาหารไทยแท้ โดยเฉพาะร้านที่ได้รับเครื่องหมายไทยซีเล็คท์ ถือเป็นแบรนด์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตราฐานความอร่อย” นางนันทวัลย์ กล่าว

สำหรับการส่งออกสินค้าอาหารในปี 2557 มีมูลค่ากว่า 17,852 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.4% โดยสินค้าสำคัญส่งออก อันดับแรก อาหารทะเล แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป 6,426 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่วนการส่งออกมีแนวโน้มดี ได้แก่ ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง 3,591 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 10.6 %ไก่สด ไก่แปรรูป 2,303 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4.3% เป็นต้น

โดยการส่งออกสินค้าไก่นั้น ไทยได้วาง กลยุทธ์ โดยสนับสนุนการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศเพื่อนบ้าน การเจรจาต่อรองเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้ากับประเทศผู้นำเข้าโดยใช้ประโยชน์จากเวทีการค้าโลก การสร้างความเชื่อมั่นในความปลอดภัยแก่ผู้บริโภคสินค้าไก่ในตลาดต่างประเทศหลังปลอดไข้หวัดนก การส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งสร้างความหลากหลายให้แก่สินค้าเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างสินค้าคู่แข่ง เป็นต้น.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook