ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ คำนวณอย่างไร

ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ คำนวณอย่างไร

ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ คำนวณอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายท่านอาจจะเคยสงสัยวิธีการคิดดอกเบี้ยของธนาคารว่าคิดอย่างไร เหมือนกับแฟนเพจท่านนี้ที่ฝากคำถามไว้ที่หน้าเพจของอภินิหารเงินออม เราเห็นว่าเป็นคำถามที่ดีและน่าจะมีประโยชน์กับแฟนเพจท่านอื่นๆด้วย จึงเขียนอธิบายวิธีการคำนวณดอกเบี้ยในบทความนี้นะจ๊ะ ซึ่งจะมีทั้งวิธีที่กดเครื่องคิดเลขเองกับตัวช่วยที่จะทำให้เราคำนวณดอกเบี้ยง่ายที่สุดในสามโลก

เรามาเริ่มกันเลยนะจ๊ะ ^_^

แม้ว่าคำถามจะสั้น แต่เราตอบสั้นๆไม่ได้ มันทำให้เรารู้สึกว่าต้องเอามาเขียนเป็นบทความเพื่อแนะนำให้คนทั่วไปคำนวณเองได้ง่ายๆ ลำพังแค่เห็นสูตรยาวๆคนส่วนใหญ่ก็ถอดใจละ เราคิดว่ามันต้องมีวิธีที่ง่ายกว่านี้ซิ ด้วยวิธีแบบใหม่ที่ไม่ต้องกดเครื่องคิดเลขเอง ถามอากู๋ Google ก็รู้แล้วว่าสูตรคำนวณง่ายๆหาได้จากเว็บไหนบ้าง

เราขออธิบายเป็น 2 วิธี เลือกใช้ได้ตามถนัดเลยนะจ๊ะ

วิธีคำนวณแบบดั้งเดิม (กดเครื่องคิดเลขเอง)
วิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ขอใช้โจทย์ตัวอย่างอันเดียวกันเพื่อจะได้รู้ว่า 1 คำตอบก็สามารถคิดได้หลายวิธีเราขอใช้โจทย์ในเว็บของธนาคารแห่งประเทศไทยจากลิ้งค์นี้(http://www.1213.or.th/th/serviceunderbot/savings/Pages/fixedinterest.aspx) โจทย์ที่ย่อให้สั้นลงนะจ๊ะ

==> เงินฝากประจำระยะเวลา 3 เดือน ได้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี เริ่มต้นฝากวันที่ 1 มกราคม จำนวน 10,000 บาท เมื่อครบกำหนด 3 เดือนจะไม่มีการถอนเงินต้นและดอกเบี้ยออกมา โดยจะโอนเงินทั้งหมดไปเป็นบัญชีฝากประจำ 3 เดือนต่อไปเรื่อย ๆ และในวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป จะได้รับผลตอบแทนหลังภาษีเท่าไหร่??

                  ดอกเบี้ยของฝากประจำจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ

วิธีที่ 1 คำนวณแบบดั้งเดิม

คำตอบตามภาพนี้เลยจ้า…

เห็นภาพนี้แล้วหลายคนอาจจะถอดใจว่าทำไมมันตัวเลขเยอะยั๊วเยี้ยอย่างนี้ ใจเย็นๆนะคะเรามีคำอธิบายทีละขั้นตอนให้ง่ายเวอร์ๆ ซึ่งหลักการคิดเงินทั้งหมดที่ได้รับจากฝากประจำจะได้เท่าไหร่มี 2 ขั้นตอนนะจ๊ะ

ขั้นตอนที่ 1 คือ การคิดอัตราดอกเบี้ย

การฝากประจำจะต้องมีการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ทำให้ผลตอบแทนที่เห็นในโฆษณาที่ 3% นั้นเราจะได้ไม่เต็ม คือ จากดอกเบี้ยที่จะได้ 100% จะต้องเสียภาษี 15% ทำให้เราได้ดอกเบี้ยจริงๆเพียง 85% เท่านั้น สำหรับผู้ที่ฐานภาษีไม่เกิน 10% สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีที่เสียไป 15% ได้นะจ๊ะ จากโจทย์อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษี คือ 3 x 0.85 = 2.55% (ใช้ตัวเลขนี้คำนวณดอกเบี้ย)

ขั้นตอนที่ 2 คือ การคิดเงินที่ได้ทั้งหมดจากการฝากประจำ

จากโจทย์ ⇒ ฝากประจำระยะเวลา 3 เดือน ดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี จำนวนเงิน 10,000 บาท จะได้ผลตอบแทนหลังภาษีเท่าไหร่?

ตัวเลขที่จะต้องใช้ในการคำนวณเงินที่ได้จากฝากประจำมี 2 ส่วนคือ เงินต้นกับดอกเบี้ย

===> ส่วนที่ 1 เงินต้น คือ 10,000 บาท (ข้อมูลจากในโจทย์)

===> ส่วนที่ 2 ดอกเบี้ย คือ โจทย์ให้ดอกเบี้ย 3% นั้นเป็นตัวเลขต่อปี เราต้องทำให้เป็นตัวเลขดอกเบี้ยต่อวันโดยนำมาหารด้วย 365 วัน และการฝากครั้งนี้มีเวลา 3 เดือนคือ 90 วัน ใช้สูตรคำนวณนี้

(เงินต้น X อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษี X จำนวนวันที่ฝาก)/365

เราก็จะได้รับคำตอบว่าเงินฝาก 10,000 บาท ฝากประจำ 3 เดือนที่อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปีจะได้รับผลตอบแทน 10,062.88 บาท ถ้าเราฝากแบบนี้โดยไม่ถอนออกมา พอครบกำหนดก็จะฝากประจำระยะเวลา 3 เดือนไปเรื่อยๆครบ 1 ปีจะได้รับผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งในการฝากครั้งต่อไปจะไม่ใช่เงินต้นที่ 10,000 บาทแล้วนะคะ จะต้องนำเงินต้นและดอกเบี้ยที่คิดได้ในครั้งแรกมาใช้ คือ 10,062.88 บาท (มาจากเงินต้น 10,000 บาท + ดอกเบี้ย 62.88 บาท ) หากฝากครบตามที่โจทย์กำหนดจะได้รับเงินทั้งสิ้น 10,257.45 บาท

วิธีที่ 2 คำนวณจากโปรแกรมสำเร็จรูป

เราถามอากู๋ Google ก็เจอกับเว็บนี้พึ่งรู้เหมือนกันว่ามีแบบนี้ด้วย ลองใช้งานแล้วง่ายมากแค่ใส่ตัวเลขก็ได้คำตอบ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้การคำนวณดอกเบี้ยฝากประจำให้เป็นเรื่องง่าย เรามาเริ่มกันเลยนะจ๊ะ

นี่คือหน้าตาโปรแกรม

                    

                           

                                    ที่มาhttp://www.krungsri.com/bank/th/Other/Calculator/DepositCalculators/TimeDepositModel.aspx

โจทย์เดิม ⇒ เงินฝากประจำระยะเวลา 3 เดือน ได้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ต่อปี เริ่มต้นฝากวันที่ 1 มกราคม จำนวน 10,000 บาท เมื่อครบกำหนด 3 เดือนจะได้รับผลตอบแทนหลังภาษีเท่าไหร่??

จากโจทย์เดิมเรามาลองคำนวณกันว่าจะได้ตัวเลขโดยใส่ตัวเลขตามช่องว่างได้เลยนะจ๊ะ

จากโปรแกรมคำนวณจะได้ผลตอบแทนคือ

เงินฝาก คือ 10,000 บาท
ดอกเบี้ยหลักหักภาษี คือ 62.18 บาท
รวมทั้งหมด 10,062.18 บาท
สรุปว่าได้ตัวเลขต่างจากที่คำนวณเองในวิธีแรก 0.7 บาท (วิธีแรกได้ 10,062.88 บาท) แต่ก็เป็นตัวเลขที่นำไปใช้ได้ ถ้าจะคำนวณต่อไปว่าฝากประจำระยะเวลา 3 เดือนให้ครบ 1 ปีจะต้องเปลี่ยนตัวเลขเงินต้นจาก 10,000 บาทบวกดอกเบี้ยเป็น 10,062.18 ใส่ที่ช่อง “เงินฝาก” เราต้องนำเงินที่รวมดอกเบี้ยไว้แล้วมาคิดเพราะเป็นการฝากต่อเนื่อง

ตัวอย่าง

นำเงินต้น 10,062.18 บวกดอกเบี้ยหลังหักภาษีแล้วได้ 63.97 บาทจะเป็นเงินที่ฝากประจำระยะเวลา 3 เดือนรอบที่ 2 คือ 10,126.15 บาท ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนครบ 1 ปีก็จะได้รู้ว่าจะได้เงินเท่าไหร่จากการฝากประจำนะจ๊ะ

มาถึงตรงนี้เราคงเข้าใจวิธีคำนวณดอกเบี้ยกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมจ๊ะ ไม่ยากเลยชิมิ ถ้าต่อไปเราอยากจะรู้ดอกเบี้ยอัตราอื่นๆ เช่น ฝากประจำ 6 เดือนหรือฝากประจำ 12 เดือน ว่าฝากแล้วได้ผลตอบแทนเท่าไหร่เราก็ลองใช้โปรแกรมนี้ช่วยคำนวณให้เราได้นะจ๊ะ

ขอบคุณบทความดีๆจากwww.aommoney.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook