"พิเชษฐ"ซัดอีก! รัฐผลักปชช.จ่ายภาษี"ที่ซุกหัวนอน" ถามกลับ คอนโดฯในเมืองที่ไหนไม่เกินล้าน?

"พิเชษฐ"ซัดอีก! รัฐผลักปชช.จ่ายภาษี"ที่ซุกหัวนอน" ถามกลับ คอนโดฯในเมืองที่ไหนไม่เกินล้าน?

"พิเชษฐ"ซัดอีก! รัฐผลักปชช.จ่ายภาษี"ที่ซุกหัวนอน" ถามกลับ คอนโดฯในเมืองที่ไหนไม่เกินล้าน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 10 มี.ค. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงประเด็นพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยระบุว่า

ในฐานะที่เคยเป็นกรรมาธิการพิจารณาพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี มา17-18 สมัย และเคยเป็นผู้กระจายอำนาจการคลังจากกระทรวงการคลังไปให้ท้องถิ่น มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการจัดเก็บรายได้ของประเทศอยู่ร่วมสิบปี ขอให้ข้อมูลเพื่อประกอบความเข้าใจของสังคม ดังนี้

เรื่องกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเรื่องภาษีโรงเรือนที่กำลังพิจารณากันอยู่ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่อง กม.เก่าที่มีการใช้กันมานานแล้ว ที่เป็นปัญหาขณะนี้ไม่ใช่การออกกฎหมายใหม่ แต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรวมกฎหมายเก่ามาเป็นกฎหมายใหม่ตามที่กำลังพยายามกระทำอยู่

สาระสำคัญเกี่ยวกับบ้านอยู่อาศัยคือ ตามกฎหมายเดิมพิจารณาจากเนื้อที่เป็นหลัก คือ ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย แต่เดิมเนื้อที่ไม่เกิน 100 ตารางวาไม่ต้องเสียภาษี กำลังมีการแก้ไขให้คิดตามมูลค่าของราคาบ้านและที่ดินฯ โดยให้กรมธนารักษ์ทำหน้าที่ประเมินราคา และต้องเสียภาษีตามที่กำหนด (จะเป็นหนึ่งล้านบาทหรือหนึ่งล้านห้าแสนบาทก็ตาม)

ผลต่อไปก็คือ หากบ้านไหนถูกประเมินราคาถึงอัตราที่กำหนด จะต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ว่าเนื้อที่เท่าไร หรือปลูกอยู่ที่ไหนลักษณะจะลามไปถึงบ้านในลักษณะตึกแถว ทาวน์เฮ้าส์ จนถึงคอนโดมีเนียมและอพาร์ทเม้นท์ แฟลต แม้แต่บ้านเอื้ออารีหรือเอื้ออาทรทั้งหลาย

เมื่อเป็นเช่นนี้ คงต้องพิจารณาว่ายังมีตึกแถวริมถนน ทาวเฮ้าส์หรือบ้านที่ไหนมีราคา ต่ำกว่าล้านบาทบ้าง

ต้องยอมรับว่า บ้านเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเจ้าของบ้านอยู่เอง แต่อีกส่วนหนึ่งมีผู้เช่าอยู่ ไม่ว่าเช่าเพื่ออยู่อาศัย หรือเช่าเพื่อประกอบการอาชีพ หากเจ้าของบ้านมีภาระต้องเสียภาษีบ้าน แน่นอนที่จะต้องผลักภาระไปยังผู้เช่าบ้านในรูปของค่าเช่า ค่าเช่าที่จะขึ้นคงไม่ได้เป็นไปตามสัดส่วนภาษี เช่นภาษีปีละ 1,500 บาท ค่าเช่าอาจขึ้นเดือนละ 200 บาท กลายเป็นภาะที่จะถูกผลักต่อไปปีละ 2,400 บาท นั่นคืออีกส่วนหนึ่งของค่าครองชีพที่จะเพิ่มขึ้น

หรือกระทรวงการคลังคิดว่า บ้านที่ให้เช่าลักษณะเช่นว่านี้ไม่มีจริง? หรือคิดว่าเจ้าของบ้านจะรับภาระภาษีไว้เองโดยไม่ผลักภาระต่อให้ผู้เช่า?

หากมีการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ อยากทราบว่าณ บัดนี้ยังมี คอนโดมีเนียมในเมืองที่ไหนราคาหน่วยละไม่เกินหนึ่งล้านบาท? หรือทาวเฮ้าส์ หรือตึกแถวริมถนนที่ไหนในเขตเทศบาล ที่มีราคาไม่เกินหน่วยละหนึ่งล้านบาท?

นี่คือข้อเท็จจริงที่รัฐบาล หรือรัฐมนตรีผู้เกี่ยวข้องต้องรับฟัง เพราะประชาชนทั่วไปไม่มีบ้านพักราชการ หรือสามารถเบิกค่าที่พักจากทางราชการเหมือนข้าราชการที่ท่านกำลังคิดขึ้นภาษีเอาเงินมาขึ้นเงินเดือนให้นี่คือเหตุหนึ่งที่ผมห่วงว่าจะเป็นความ"เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า"

ในทางเศรษฐกิจ ภาระทางภาษีคือปัจจัยต้นทุนที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึง ภาคผลิตเกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งตัวเครื่องจักรและส่วนควบ ซึ่งจะส่งผลถึงราคาสินค้าที่ผลิตขึ้น ภาคการค้าและภาคบริการ เกิดต้นทุนสูงขึ้นในสถานที่ประกอบการ ไม่ว่าตามโรงแรม ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า รวมทั้งตลาดในรูปแบบต่างๆ

เมื่อเจ้าของสถานที่เกิดภาระภาษีเพิ่มขึ้น ย่อมผลักภาระไปสู่ผู้เช่าช่วง ผู้เช่าช่วงผู้ประกอบการต้องผลักภาระไปสู่ค่าสินค้าและบริการ ภาระก็จะตกแก่ประชาชนผู้บริโภคทุกระดับ ไม่ว่ายากดีมีจนอย่างไร เป็นการกระทบทางเศรษฐกิจที่ต้องเรียกว่า "เดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า"

ในเชิงสังคม รัฐบาลต้องไม่ลืมว่า "บ้านที่อยู่อาศัย คือปัจจัยหนึ่งในสี่ของชีวิตมนุษย์" ทุกวันนี้ภาระค่าครองชีพของประชาชน แทบจะอยู่ในวิกฤตแล้ว วันนี้ประชาชนกำลังรู้สึกว่า ภาคประชาชนกำลังถูกอำนาจรัฐ บังคับให้ต้องเสีย "ภาษีค่าที่ซุกหัวนอน" อย่างน่าเจ็บช้ำน้ำใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook