10 อันดับธุรกิจเด่น – ธุรกิจดับ ครึ่งหลังปี58

10 อันดับธุรกิจเด่น – ธุรกิจดับ ครึ่งหลังปี58

10 อันดับธุรกิจเด่น – ธุรกิจดับ ครึ่งหลังปี58
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หอการค้าเปิดผลสำรวจแนวโน้มของธุรกิจ 10 ดาวรุ่ง 10 อันดับดาวร่วง ในครึ่งปีหลังของปี 2558 ธุรกิจการแพทย์ ความงามยังครองอันดับ1 ดาวเด่น ขณะธุรกิจการเกษตรครองอันดับ1 ดาวดับเช่นเดิม

หลังจากผ่านไตรมาสแรกของปี 2558 มาแล้ว ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลสำรวจแนวโน้มของธุรกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 ถือเป็นการทบทวนกันอีกครั้งว่า ธุรกิจใดยังได้รับความนิยมหรือเป็นดาวเด่น 10 อับแรก และ มีธุรกิจใดบ้างเป็นธุรกิจดาวดับใน 10 อันดับแรก รวมถึงมีปัจจัยอะไรที่เกื้อหนุน หรือมีปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจ

ไปดูกันเลยครับ

10 อันดับธุรกิจเด่น ครึ่งปีหลัง ปี 2558

ธุรกิจ ปัจจัยสนับสนุน


1. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ สุขภาพและความงาม
• กระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามมีมากขึ้น
• การบริการทางการแพทย์และความงามของประเทศไทยมีคุณภาพดีและราคาไม่แพงในสายตาของชาวไทยและชาวต่างประเทศ
• เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย


2. ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ(Inbound)


• ภาครัฐให้ความสำคัญและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
• จำนวนนักท่องเที่ยวในและรายได้จากการท่องเที่ยวโดยรวมในแต่ละปีมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี

3. ธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร


• เป็นผลต่อเนื่องตากการที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเชื่อมโยงกับหลายอุตสาหกรรม
• ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาคต่างๆ ของไทย เกื้อหนุนให้ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารเติบโตตาม

4. ธุรกิจบริการการศึกษา

• กระแสความต้องการเรียนรู้มากขึ้นสังคมแห่งการเรียนรู้ในโลกยุค IT
• การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
• การแข่งขันทางด้านการศึกษาหรือการสอบวัดระดับต่างๆ ยังมีอย่างต่อเนื่อง

5. ธุรกิจประกันชีวิต/ประกันภัย


• ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่เป็นทางเลือกให้แก่ประชาชน
• ผลตอบแทนที่จูงใจให้แก่ผู้ลงทุน ประกอบกับโยบายการหักลดหย่อนภาษีที่ยังมีต่อเนื่อง
• ช่องทางในการช่วยลดหย่อนภาษี
การลงทุนของบริษัทประกันชีวิตในธุรกิจอื่นๆ

6. ธุรกิจก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง และพัฒนาอสังหาริมทรัพย์


• การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลเพื่อการพัฒนาประเทศ
• การขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งประเภทที่อยู่อาศัย โรงแรมและพาณิชย์กรรม มีแนวโน้มการขยายตัวไปยังต่างจังหวัด
• การเข้าสู่ AEC จะส่งผลต่อความต้องการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ เช่น อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ที่พักอาศัย

7. ธุรกิจบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


• การเข้าสู่ยุค 3G/4G และการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น
• ความต้องการใช้ระบบสื่อสารมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

8. ธนาคารพาณิชย์/บ.หลักทรัพย์/บ.จัดการกองทุน


• อัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ จะเป็นการช่วยกระตุ้นการออมเงินในรูปแบบของการซื้อหน่วยลงทุน
• ช่องทางในการช่วยลดหย่อนภาษี

9. ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์


• ความเป็นเมืองที่มีการเติบโต ทำให้ต้องการสินค้าทั้งวัสดุก่อสร้างเพื่อสร้างอาคาร หรือศูนย์การค้า ขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภครวมถึงการบริการการท่องเที่ยว
• การเปิด AEC ทำให้การค้าผ่านแดนขยายตัว การส่งออกสินค้าข้ามแดน ทั้งสินค้าเกษตร วัสดุก่อสร้าง สินค้าสำเร็จรูป
10.ธุรกิจสื่อออนไลน์/ดิจิตอลคอนเท็นต์
• การเข้าสู่ยุค digital
• ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเพื่อให้เกิดการรับรู้ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ธุรกิจ และใช้โฆษณาสินค้าและบริการเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากซื้อ

“10 ธุรกิจดาวร่วง” ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558
ธุรกิจ ปัจจัยบั่นทอน


1. ธุรกิจเครื่องจักรกลทางการเกษตร และจำหน่ายปัจจัยการผลิต


• ภัยแล้ง
• ราคาผลิตผลทางการเกษตรมีแนวโน้มราคาลดลง
• อุปกรณ์และชิ้นส่วนของไทย มีต้นทุนการผลิตที่สูง และมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ จีน ที่มีราคาถูก และจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญในตลาดอาเซียน

2. ธุรกิจขายปลีก/ให้เช่าสื่อบันเทิงประเภท CD/DVD


• พฤติกรรมที่ผู้บริโภคหนังเปลี่ยนไปพึ่งเทคโนโลยีการดาวน์โหลดผ่านเวปไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการ ที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
• ค่าลิขสิทธิ์ส่งผลทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานสูงขึ้น

3. ธุรกิจแปรรูปยางพารา


• ผลผลิตยางพาราในตลาดโลกมีมาก และความต้องการ ยางพาราในโลกยังไม่ฟื้นตัว
• จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของไทยได้ชะลอการนำเข้า เนื่องจากปริมาณสต็อกยางพาราอยู่ในระดับสูง เป็นผลมาจากต้องการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจในประเทศ

4. ธุรกิจขายรถมือ 1 และเต็นท์รถมือ 2


• ความกังกลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูง ราคาสินค้าแพง รวมถึงปัญหาหนี ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
• สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้การอนุมัติสินเชื่อมีสัดส่วนต่ำ

5. ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์/จักรยานยนต์ (Leasing)


• ความกังกลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูง ราคาสินค้าแพง รวมถึงปัญหาหนี ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
• สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ทำให้การอนุมัติสินเชื่อมีสัดส่วนต่ำ


6. ธุรกิจปั๊ม LPG

ราคาน้ำมันในตลาดโลก และในประเทศปรับตัวลดลง ส่งให้ประชาชนผู้ใช้รถหันไปใช้บริการน้ำมันเพิ่มมากขึ้น

7. ธุรกิจติดตั้งแก๊ส LPG

• ราคาน้ำมันในตลาดโลก และในประเทศปรับตัวลดลง

8. ธุรกิจสายการบินแบบเช่าเหมาลำ (Charter Flight)


• ไทยถูกประเมินพบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns: SSC) เกี่ยวกับกระบวนการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศการประกาศของ ICAO
• บางประเทศไม่อนุญาตให้สายการบินทำการบินแบบเช่าเหมาลำ (Charter Flight) และอาจเพิ่มจำนวนประเทศขึ้นอีก

9. ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง


• มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ปัญหาสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางภาษี
• ปัญหาการค้ามนุษย์และละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งถูกลดอันดับลงไปอยู่ในขั้นที่ 3

10.ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

• ความกังกลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่สูง ราคาสินค้าแพง
• กำลังซื้อของประชาชนยังคงชะลอตัว
• ต้นทุนการผลิตในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าของไทยแข่งขันได้ค่อนข้างลำบากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook