5 ความรู้สึกที่ฉุดความรวย

5 ความรู้สึกที่ฉุดความรวย

5 ความรู้สึกที่ฉุดความรวย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“เงิน + ความรู้สึก = หายนะ”

ถ้าเราจ่ายเงินโดยใช้อารมณ์หรือความรู้สึก อีกไม่นานหายนะกำลังจะตามมา

จะมีความรู้สึกที่บั่นทอนความรวยอะไรบ้าง เรามาดูกันนะคะ

 

1. ความรู้สึกเบื่อ-เครียด

คนส่วนใหญ่แก้ปัญหาด้วยวิธีการ “ช้อปปิ้งแก้เบื่อ” เพื่อระบายความเครียด ความรู้สึกที่ยิ่งจ่าย-ยิ่งฟิน ยิ่งจ่าย-ยิ่งอารมณ์ดี แต่มันเป็นความสุขระยะสั้นและจนระยะยาว เพราะความทุกข์ที่เงินหมดกระเป๋ากำลังตามมาติดๆ ลองทำกิจกรรมอย่างอื่นที่มันไม่ลำบากเงินในกระเป๋าดูบ้าง เช่น วิ่งออกกำลังหาย ขี่จักรยาน ฯลฯ เพราะการระบายอารมณ์นั้นไม่ได้อยู่ที่การจ่ายเงินเสมอไป

2. ความรู้สึกผิด

บางคนรักลูกมากและรู้สึกผิดที่ไม่มีเวลาดูแล จึงใช้เงินเลี้ยงลูกด้วยการซื้อทุกอย่างที่ลูกอย่ากได้ เพื่อเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไป แม้ว่าเงินจะซื้อทุกอย่างได้ก็จริง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถซื้อได้นั่นคือ ความอบอุ่น เปลี่ยนจากให้เงินเลี้ยงลูกมาให้เวลากับลูกน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะเงินเลี้ยงลูกได้ดีไม่เท่ากับความรักจากพ่อแม่

3. ความรู้สึกมีปมด้อย

เป็นการจ่ายเงินเพื่อลบปมด้อยของตนเอง จ่ายเพื่อให้ตนเองมีเหมือนคนอื่น โดยมีความรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าคนอื่น จึงชดเชยด้วยวัตถุนิยมที่ทำให้ตนเองรู้สึกทัดเทียมผู้อื่น แม้ว่าจะทำให้เรารู้สึกดีกับสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า แต่มันไม่เกิดคุณค่าแก่ชีวิต เพราะมูลค่าของคนไม่ได้อยู่ที่สิ่งของ แต่มันอยู่ที่สมองต่างหากหละ ดังนั้น ควรลบปมด้อยโดยการหันมาพัฒนาความสามารถของตนเองให้ล้ำหน้าคนอื่นน่าจะดีกว่า

4. ความรู้สึกอยากได้

เป็นความรู้สึกอัดอั้นมาตั้งแต่เด็กที่อยากได้อะไรแล้วไม่ได้ตามที่หวัง พอทำงานมีรายได้มากๆก็จ่ายเงินเพื่อตอบสนองอารมณ์เป็นหลัก โดยการซื้อทุกอย่างที่อยากได้เพื่อชดเชยความรู้สึกในวัยเด็ก หลายคนมีความรู้สึกแบบนี้ด้วยกันทั้งนั้น แต่ควรควบคุมให้มันอยู่ในขอบเขตที่ไม่เดือดร้อนจนกระเป๋าฉีก ที่สำคัญเตือนตัวเองไว้เสมอว่า “ซื้อเพราะจำเป็นหรือแค่อยากได้”

5. ความรู้สึกผิดหวัง

เรารู้จักอารมณ์นี้จากเพื่อนนักเก็งกำไรที่ทำใจไม่ได้กับการลงทุนที่ผิดพลาดของตนเอง อารมรณ์เม่าน้อยที่ติดหุ้นเน่าบนดอยสูง ยิ่งนับวันราคายิ่งลดลง ไม่อยากขายทิ้งเพราะคิดว่าสักวันมันต้องกลับขึ้นมาอีกครั้ง จาก -10% กลายเป็น -70% สุดท้ายก็ปล่อยเน่าไว้อย่างนั้น ถ้าลงทุนโดยใช้ความรู้สึกที่ขายตัดขาดทุนหุ้นเน่าไม่เป็น มันก็ไม่ใช่การลงทุน แต่จะเป็นการลุ้นทุนมากกว่า เพราะเป้าหมายของการลงทุนของนักเก็งกำไรกับ VI นั้นแตกต่างกัน จงยอมรับว่าตนเองเป็นนักเก็งกำไร ขายหุ้นเน่าทิ้งซะแล้วนำเงินที่เหลืออยู่ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นน่าจะดีกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook