ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท สูงหรือต่ำในกลุ่มอาเซียน
หลังจากมีการเปิดแนวทางการปรับค่าจ้างของคณะกรรมการค่าจ้างหรือบอร์ดค่าจ้าง ใน 5 แนวทาง และโดยประเด็นสำคัญคืออาจมีการลอยตัวค่าจ้าง และ ให้ปรับค่าจ้างในแต่ละจังหลัดเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจพื้นฐานในแต่ละจังหวัด จนทำให้มีการตีความไปว่าจะมีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งประกาศใช้ในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และถือเป็นนโยบายสำคัญของพรรคเพื่อไทยที่มีส่วนช่วยให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งในครั้งนั้นมา
และทันทีทันใดที่มีข่าวออกมา ว่า จะมีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้มีกระแสต่อต้านจากภาคแรงงานออกมาทันที ด้วนเหตุผลว่า ปัจจุบันอัตราค่าจ้าง300 บาท ถือว่าเป็นรายได้ที่ไม่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างเพียงพออยู่แล้ว เพราะค่าครองชีพในปัจจุบันค่อนข้างสูง
กระแสคัดค้านในเรื่องดังกล่าวทำให้กระทรวงแรงงานต้องออกมายืนยันว่า ไม่มีการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่งประเทศอย่างแน่นอน แต่การศึกษาของอนุค่าจ้างที่เสนอบอร์ดเป็นแนวทางในการปรับค่าจ้างในอนาคต ซึ่งจะมีการพิจารณาในเดือนต.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ในมุมมองของนายจ้าง และ ผู้บริหารประเทศเห็นว่า การใช้นโยบายนี้ทำให้ต้นทุนของสินค้าในประเทศยกระดับขึ้นแบบก้าวกระโดดทำให้ ความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนสินค้าสูงขึ้นไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศได้ ทำให้นักลงทุนหรือเจ้าของกิจการต่างประเทศหันไปลงทุนประเทศอื่นแทน ทำให้ไทยเสียโอกาสในเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศไปด้วย
ดังนั้นน่าสนใจว่า ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในช่วงปลายปีนี้ ค่าแรงขั้นต่ำของ 10 ประเทศสมาชิกมีความแตกต่างกันอย่างไร มากน้อยแค่ไหน โดยเทียบกับขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพี และจำนวนประชากรแล้วเป็นอย่างไร ความแตกต่างของค่าแรงจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายทุน และ แรงงานหรือไม่ มาดูกันเลยครับ
ประเทศที่มีค่าแรงสูงเป็นอันดับ 1-10 ใน AEC
ประเทศ รายได้/เดือน เฉลี่ยรายได้ต่อวัน (หน่วยเป็นบาท)
1บรูไน 55,000 1,800
2สิงคโปร์ 25,000 800-900
3มาเลเชีย 9,000 300
4ไทย 9,000 300
5ฟิลิปปินส์ 8,000-9,000 270-300
6อินโดฯ 5,100 170
7เวียดนาม 3,000 100
8ลาว 2,500 83
9กัมพูชา 2,100 70
10เมียนมาร์ 1,700 56
ขนาดเศรษฐกิจหรือGDP ลำดับ1-10 ใน AEC (ตัวเลขปี 2557จาก IMF)
ประเทศ GDP (หน่วยล้านเหรียญสหรัฐ)
1 อินโดฯ 540,277
2ไทย 297,851
3มาเลเชีย 191,601
4สิงคโปร์ 182,232
5ฟิลิปปินส์ 160,476
6เวียดนาม 91,854
7เมียนมาร์ 76,200
8บรูไน 11,073
9กัมพูชา 10,804
10ลาว 5,939
จำนวนประชากรของ10ประเทศ AEC
1อินโดฯ 251 ล้านคน
2ฟิลิปปินส์ 100.1 ล้านคน
3เวียดนาม 90.7 ล้านคน
4ไทย 66.4 ล้านคน
5เมียนมาร์ 53.7 ล้านคน
6มาเลเชีย 30.1 ล้านคน
7กัมพูชา 14.8 ล้านคน
8ลาว 6.8 ล้านคน
9สิงคโปร์ 5.5 ล้านคน
10บรูไน 0.4 ล้านคน
(ที่มา2014,Population Referance Bureau)
จากตัวเลขจะเห็นได้ว่า ค่าแรง ต่อขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีของประเทศและจำนวนประชากรเป็นอย่างไร จำนวนประชากรของประเทศอย่างเวียดนาม พม่า กัมพูชา ถือว่าน่าสนใจ เพราะมีจำนวนประชากรเพียงพอต่อการลงทุน และมีราคาค่าแรงถูกว่าของไทย
และที่สำคัญอินโดนีเซียที่มีจำนวนประชากรกว่า 251 ล้านคน มีอัตราค่าแรงถูกกว่าไทย เกือบครึ่ง ทำให้เป็นทั้งตลาดแรงงานและตลาดรองรับสินค้า
นี้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเลข ในเชิงเศรษฐกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจในเรื่องการปรับค่าแรงในอนาคต ทั้งในแง่ค่าครองชีพ ผลต่อการลงทุน ที่น่าสนใจ ปัจจัยหนึ่งเท่านั้น........