รู้จักกับ “ลย.01″ แบบฟอร์มลดหย่อนภาษีที่มนุษย์เงินเดือนมองข้าม!!

รู้จักกับ “ลย.01″ แบบฟอร์มลดหย่อนภาษีที่มนุษย์เงินเดือนมองข้าม!!

รู้จักกับ “ลย.01″ แบบฟอร์มลดหย่อนภาษีที่มนุษย์เงินเดือนมองข้าม!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สวัสดีครับ บทความใหม่ประจำสัปดาห์นี้ของ @TAXBugnoms ในตอนนี้จะมาพูดคุยเรื่องเคล็ดลับประหยัดภาษีที่มนุษย์เงินเดือนทั้งหลายมักจะมองข้ามไป เนื่องจากได้รับคำถามมาทางหลังไมค์ครับว่า

พี่หนอมครับ ผมอยากรู้ว่า ภาษีที่บริษัทหักจากเงินเดือนเราทุกเดือน เราสามารถเลือกจะไม่ยอมให้บริษัทหัก แล้วไปจ่ายทีเดียวสิ้นปีได้ไหมครับ แทนที่จะให้สรรพากรเอาเงินเราไปดองไว้ เราเอามาเก็บไว้ในกองทุนตราสารเงินพักเงิน ได้ผลตอบแทนบ้าง ดีกว่าดองไว้ไม่ได้อะไรเลย

โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดว่าคำถามนี้ดีมากครับ เพราะเป็นความคิดที่จะบริหารเงินของตัวเอง เพียงแต่ว่าไม่สามารถทำได้อย่างที่คิดทันทีครับ เนื่องจากการหักภาษี ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือนนั้นเป็นหน้าที่ของบริษัทและหน้าที่ของเราด้วยครับ และก่อนจะไปดูวิธีแก้ไขที่ถูกต้องนั้น ผมขอแนะนำให้รู้จักกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกันก่อนครับ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คืออะไร

“ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย” หรือ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าจะสรุปความหมายแบบสั้นๆง่ายๆ คือ จำนวนเงินที่กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายเงิน หักออกจากเงินได้ก่อนที่จะจ่ายเงิน และ ผู้รับเงิน สามารถเอาภาษีที่ถูกหักนี้ไปหักออกจากภาษีที่ต้องจ่ายได้ และที่สำคัญ ผู้จ่ายเงินจะต้องให้หลักฐานที่เรียกว่า “หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย” แก่ผู้รับเงินด้วย

สมมุติว่า ถ้านายเกรย์แมนซึ่งเป็นมนุษย์เงินเดือนมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ตลอดทั้งปี จำนวน 10,000 บาท พอปลายปีนายเกรย์แมนคำนวณภาษีของตัวเองได้เป็นจำนวน 15,000 บาท แปลว่านายเกรย์แมนจะต้องเสียภาษีเพิ่มเพียง 5,000 บาท (15,000 – 10,000) นั่นเองครับ

ทีนี้คำถามที่ถามว่า “ถ้าไม่ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย” จะได้ไหม คำตอบคือ “ไม่ได้ครับ” เนื่องจากเป็นหน้าที่อย่างที่บอกไว้ และถูกกำหนดไว้ในกฎหมายภาษีที่ชื่อว่าประมวลรัษฏากร ในมาตรา 54 เลยครับว่า หากไม่หัก ณ ที่จ่ายไว้ “ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักและนำส่ง หรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้วแต่กรณี” หรือแปลสั้นๆเป็นภาษาคนว่า “ถ้าไม่หักไว้ แกตายยยแน่” ถ้าเป็นแบบนี้ใครเค้าจะยอม จริงมะคร้าบบบ

แล้วถ้าไม่อยากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องทำอย่างไร?

ทีนี้ถ้าเราอยากประหยัดภาษีแบบง่ายๆ มีวิธีแก้ก็คือ “การหักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้เท่าที่จำเป็น” โดยเฉพาะมนุษย์เงินดือนอย่างเราๆที่ต้องกรอกแบบฟอร์มลดหย่อนภาษีให้เรียบร้อยเพื่อแจ้งข้อมูลลดหย่อนภาษีเพื่อให้หักน้อยลงได้ครับ

ถ้าหากเรากรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่างๆของตัวเองครบ แน่นอนครับว่า ภาษีที่คำนวณได้ย่อมจะน้อยลงกว่าการที่ไม่กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนอะไรเลย เนื่องจากภาษีคำนวณตามวิธีเงินได้สุทธิ (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) ซึ่งยิ่งค่าลดหย่อนที่มากขึนก็จะทำให้เสียภาษีน้อยลง และถูกหักภาษีไว้ในแต่ละเดือนน้อยลงด้วยครับ

สุดท้ายนี้สิ่งที่ @TAXBugnoms อยากจะฝากไว้ก็คือ เคล็ดลับในการเสียภาษีที่ดีที่สุด นั่นคือพยายามทำให้เราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ใกล้เคียงกับที่ต้องเสียจริงๆในแต่ละปีครับ เพราะเมือเรายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีถัดไป เราจะได้ไม่ต้องเสียเวลาขอคืนภาษีและจัดเตรียมเอกสาร และเรายังสามารถนำเงินภาษีที่เคยถูกหักไว้เกินนั้น มาลงทุนหรือเก็บออมได้เรื่อยๆในแต่ละเดือน โดยไม่ต้องรอขอคืนภาษีปลายปี และนั่นอาจจะการบริหารเวลาที่ดีอีกทางหนึ่งเช่นกันนะคร้าบบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook