มือใหม่ เงินน้อย ดูกราฟหุ้น (ภาคสุดท้าย)
1. เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average เป็นเครื่องมือสำคัญ ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีส่วนช่วยในการมองเห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น รวมถึงจุดที่เปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงแนวรับ แนวต้าน ของราคาหุ้นในช่วงเวลาต่างๆ
โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่ 5 วัน (1 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25 วัน (ประมาณ 1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75 วัน (ประมาณ 1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน (ประมาณ 1 ปี) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว
2. รูปแบบของ เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average มี 3 แบบ คือ
Simple Moving average (SMA)
Weighted Moving average (WMA)
Exponential Moving average (EMA)
วันนี้เป็นการเริ่มต้น ให้ดูวิธีการคำนวณแบบง่ายๆๆ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ที่ให้น้ำหนักเท่าๆๆกัน เราเรียกว่า
Simple Moving average (SMA) = เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในเชิงพิจารณาด้านราคาถูกให้น้ำหนักเท่ากัน (มักจะใช้ราคาปิดในการคำนวณ)
อธิบาย: สมมุติเราต้องการหาเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน เราจะนำราคาปิดวันนี้ บวก ราคาปิดของทุกวันนับย้อนหลัง รวม 10 ราคา
แล้วเอา 10 มาเป็นตัวหาร เราจะได้ค่าของเส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน เครื่องมือจะคำนวณให้เราทุกวัน เพื่อช่วยให้เรา มอง
เห็นแนวโน้มการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น (ไม่ว่าจะเป็น 5,10,25,75,200 วัน ใช้หลักการเดียวกัน)
3.การอ่านสัญญาณซื้อ สัญญาณขาย
กรณีใช้เส้นค่าเฉลี่ยเส้นเดียว ราคาหุ้นตัดขึ้น และยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย เป็นสัญญาณซื้อ
ราคาหุ้นตัดลง และอยู่ใต้เส้นค่าเฉลี่ย เป็นสัญญาณขาย
กรณีใช้เส้นค่าเฉลี่ยมากกว่า 1 เส้น
เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เป็นสัญญาณซื้อ
เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงใต้เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว เป็นสัญญาณขาย
เทคนิค
1. เกิดสัญญาณซื้อ - ราคาหุ้นยืนเหนือ เส้นค่าเฉลี่ยขึ้นไป
- เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเหนือเส้นยาวขึ้นไป เรียกว่า Golden Cross
2. เกิดสัญญาณขาย - ราคาหุ้นยืนต่ำกว่า เส้นค่าเฉลี่ยลงมา
- เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดเส้นยาวลงมา เรียกว่า Dead Cross
3. แนวโน้มหุ้น - ขาขึ้น เส้นค่าเฉลี่ยจะเรียงจาก 10 ,25 ,75 และ 200 จากบนลงล่าง
- ขาลง เส้นค่าเฉลี่ยจะเรียงจาก 200 ,75 ,25 และ 10 จากบนลงล่าง
วันนี้เขียนสั้นๆๆ แต่มีความหมาย ใช้งานได้ นำไปฝึกฝนก่อนตัดสินใจลงทุน แต่ควรกลับไปอ่านภาค 1 และ 2 อีกครั้ง
ท่านจะเข้าใจมากขึ้น ไปละจุ๊บๆๆๆๆ
ผู้เขียน : นฤมล บุญสนอง CFP®
รองกรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ วิทยากรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ดูบทความที่เกี่ยวข้อง "มือใหม่ เงินน้อย ดูกราฟหุ้น (ภาค 1)"