มองข้ามวิกฤตกรีซดีไหม จีนต่างหากของจริง จับตา"ฟองสบู่แตก เสี่ยงลามทั้งโลก พิษปชช.กู้เงินมาเล่นหุ้น"!

มองข้ามวิกฤตกรีซดีไหม จีนต่างหากของจริง จับตา"ฟองสบู่แตก เสี่ยงลามทั้งโลก พิษปชช.กู้เงินมาเล่นหุ้น"!

มองข้ามวิกฤตกรีซดีไหม จีนต่างหากของจริง จับตา"ฟองสบู่แตก เสี่ยงลามทั้งโลก พิษปชช.กู้เงินมาเล่นหุ้น"!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ขณะที่ทั่วโลกกำลังจับตาวิกฤตเงินกู้และสถานการณ์ขัดแย้งของกรีซและสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิดอีกฟากหนึ่งนั้นในภูมิภาคเอเชียกลับมีสถานการณ์ที่ถือว่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆเมื่อในช่วงที่ผ่านมาปรากฎข่าวที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจของจีนที่กำลังเริ่มเผชิญปัญหาหนักอย่างต่อเนื่อง และยังมีทีท่าว่าจะยืดเยื้อออกไป

สถานการณ์นี้ทำให้เกจิผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินได้เริ่มออกมาเตือนแล้วว่า ความเคลื่อนไหวนี้ต่างหากเป็นสิ่งที่โลกควรจับตา โดยหากส่งผลกระทบต่อโลกเมื่อไหร่ วิกฤตกรีซที่หลายคนกำลังให้ความสนใจกันอยู่ จะไม่มีทางเทียบได้เลย หากประเมินถึงความจริงที่ว่า จีนคือชาติมหาอำนาจอันดับสองของโลก และมีจีดีพีใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก เป็นปัจจัยพื้นฐาน!

ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า สิ่งที่ทั่วโลกควรให้ความสนใจอย่างแท้จริงตอนนี้ คือ ตลาดหุ้นจีน หาใช่วิกฤตเงินกู้ของกรีซ ที่จริงๆ แล้วมีจีดีพีเพียงเล็กน้อยเทียบได้เท่ากับแค่เศรษฐกิจของคาซัคสถาน อัลจีเรีย หรือกาตาร์เท่านั้น ขณะที่จีดีพีของจีน มีมูลค่าสูงเป็น"อันดับหนึ่ง"ของโลก จากการบริโภคของประชากรจำนวนกว่า 1,400 ล้านคน โดยภาวะที่ตลาดหุ้นจีนกำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คือ ภาวะฟองสบู่ ที่หลายฝ่ายกำลังกังวลหนักกว่ามีสิทธิจะแตกระเบิด และมันจะแพร่ผลกระทบไปทั่วโลก และจะฉุดให้เศรษฐกิจทั่วโลกดิ่งไปตาม ๆ กัน จากผลกระทบของความเป็นยักษ์ใหญ่ผู้บริโภคของจีน

สถานการณ์นั่นคือ ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนได้เกิดพฤติกรรมกระตุ้นตลาดและการเก็งกำไรกันอย่างผิด ๆ โดยปรากฎว่า ประชาชนได้แห่"กู้เงิน"เพื่อซื้อหุ้นในตลาดเซี่ยงไฮ้และตลาดเซิ่นเจิ้น ในช่วงที่รัฐบาลจีนต้องการให้ประชาชนแห่เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่รัฐบาลสนับสนุน และปรากฎว่า ภาวะแห่ซื้อหุ้นดังกล่าวได้ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนและราคาหุ้นเพิ่มสูงอย่างมาก เพราะความคึกคักของตลาดที่มาจากแรงซื้อ(ผิดๆ)ของนักลงทุนซึ่งก็คือประชาชนจีน ทำให้ตลาดหุ้นกลายเป็นอยู่ในภาวะฟองสบู่ ที่เติบโตอย่างล่อแหลม

ก่อนที่เมื่อเดือนที่แล้ว จะปรากฎสัญญาณร้ายขึ้น เมื่อตลาดหุ้นจีนเริ่มตก และทำให้ประชาชนหรือนักลงทุนทั้งหลายต่างรีบเทขายหุ้นของตัวเองเพื่อนำเงินไปจ่ายคืนหนี้ที่กู้มาซื้อหุ้นเล่นและภาวะแห่เทขายหุ้นทิ้งดังกล่าวขยายตัวบานปลายฉุดให้ตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ดิ่งตกอย่างหนักขณะที่ว่ากันว่าการที่บรรดาโบรกเกอร์ของบริษัทหลักทรัพย์จีนตั้งคงตั้งหน้าตั้งตากระตุ้นการขายหุ้นให้แก่ประชาชนในตลาดเซี่ยงไฮ้และเซิ่นเจิ้นก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ดังกล่าวขึ้น

โดยตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลกหากคิดตามมูลค่าของบริษัทได้ตกฮวบถึง 25 เปอร์เซนต์ นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิ.ย. เข้าสู่ภาวะหุ้นหมี ส่วนตลาดเซิ่นเจิ้นที่มีขนาดเล็กกว่า ปรากฎว่าตกหนักเช่นกันและยังหนักกว่า หรือ 31 เปอร์เซนต์ในช่วงเดียวกัน ภาวะหุ้นตกนี้ถือว่าสวนทางเมื่อช่วงต้นปีที่ตลาดหุ้นจีนกำลังเพิ่มมูลค่าของตลาดอย่างมหาศาล

ขณะที่ภาวะฟองสบู่มีเค้าว่าจะแย่หนักขึ้นหากนักลงทุนตื่นตระหนกเพราะตระหนักว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทต่าง ๆ โดยตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามของโลกหากคิดตามมูลค่าของบริษัท ได้ตกฮวบถึง 25 เปอร์เซนต์ นับตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมิ.ย. เข้าสู่ภาวะหุ้นหมี ส่วนตลาดเซิ่นเจิ้นที่มีขนาดเล็กกว่า ปรากฎว่าตกหนักเช่นกันและหนักกว่า หรือ 31 เปอร์เซนต์ในช่วงเดียวกัน ภาวะหุ้นตกนี้ถือว่าสวนทางเมื่อช่วงต้นปีที่ตลาดหุ้นจีนกำลังเพิ่มมูลค่าของตลาดอย่างมหาศาล

นายไมเคิล เพ็นโต้ ประธานและผู่ก่อตั้งหน่วยบริหารพอร์ตลงทุน"เพ็นโต"บอกว่า การขยายตัวของตลาดหุ้นจีน ไม่ได้ถูกสนับสนุนจากแรงซื้อพื้นฐานที่ถูกต้อง แต่มาจากการกู้ยืมอย่างต่อเนื่องของภาครัฐและพฤติกรรมเก็งกำไรของนักลงทุน ขณะที่นายไล่ หม่า ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยวอร์วิค บิสสิเนส ของสหราชอาณาจักร บอกว่า เขาวิตกว่า รัฐบาลจีนอาจเข้าแทรกแซงตลาดด้วยการซื้อหุ้นของบริษัทใหญ่เพื่อให้มูลค่าหุ้นบริษัทเหล่านี้อยู่ในระดับสูงแต่ปล่อยทิ้งไม่สนใจบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่า

โดยที่ผ่านมาภาวะดังกล่าวจะทำให้เกิดการหลั่่งไหลของเงินทุนที่เข้าสนับสนุนบริษัทของรัฐที่มีขนาดใหญ่ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าสาเหตุที่เศรษฐกิจจีนทรุดเพราะฟองสบู่แตกจะกระทบต่อโลกภายนอกนั้น ก็เหมือนกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2008 และปี 2000

โดยปัจจุบันจีนซึ่งเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก และเป็นชาติคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของยุโรปและสหรัฐ หากเศรษฐกิจจีนทรุด ก็ย่อมกระทบสองชาติคู่ค้าหลักนี้ไปด้วย โดยเฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐ ที่ต่างก็มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะสหรัฐ ที่ปรากฎว่าธนาคารของสหรัฐเข้าไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนอย่างมากมาย หรือมากกว่ากรีซถึง 10 เท่า

โดยแรงสะเทือนแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือ ปฎิกิริยาของตลาดหุ้นเอเชียจะพากันร่วงดิ่งตกก่อนใครเพื่อน หากจีนยังไม่สามารถยับยั้งภาวะ"เลือดไหลออก"นี้ได้ นอกจากนี้ อีกประการหนึ่ง ก็คือ จีนเป็นประเทศผู้บริโภคสินค้าอุปโภคหลายใหญ่ของโลก หากเศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบ จีนก็จะลดปริมาณการบริโภคดังกล่าว ซึ่งนั่นจะผลกระทบต่อเศรษฐกิจของตลาดนอกประเทศ และส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลกด้วย

ขณะที่มาตรการแก้ปัญหาล่าสุดของจีนขณะนี้ ก็คือ 1.เพื่อพยุงตลาดก็คือ การให้ธนาคารกลางอัดฉีดเงินทุนเข้าไปยังตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายการซื้อหุ้นแบบมาร์จิ้น ไฟแนนซ์ แต่หากลงทุนผิดพลาดหรือขาดทุน นักลงทุนก็จะต้องถูกบังคับให้ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่คืนอย่างรวดเร็ว

2.บริษัทโบรกเก่อร 21 บริษัทรับปากที่จะใช้เงินกว่า 1,930 ล้านดอลลาร์ ช่วยกันซื้อหุ้นเพื่อพยุงตลาด โดยมีเป้าหมายจะดันให้ดัชนีของตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ทะลุ 4,500 จุด ซึ่งเป็นระดับเมื่อเดือนมิ.ย. ก่อนดิ่งตก

3.บริษัทที่จดทะเบียนใหม่ 28 บริษัท ได้ระงับการเข้าตลาดชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์ของตลาดหลักทรัพย์และนิ่งและมั่นคง เพื่อป้องกันไม่ให้การเข้าตลาดของกลุ่มผลักดันให้ตลาดหุ้นจีน ปั่นป่วนขึ้นไปอีก หากการแห่ซื้อหุ้นจดทะเบียนของบริษัทน้องใหม่เหล่านี้

คงต้องจับตากันว่า มาตรการเหล่านี้จะสามารถฉุดให้จีนพ้นจากวิกฤตฟองสบู่แตกได้หรือไม่ และเชื่อว่านับแต่นี้ไปหลายฝ่ายต้องจับตาดูจีนว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของตัวเองได้อย่างรอดปลอดภัยได้หรือไม่ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook