16 เมษานี้ ขึ้นเบนซิน เกือบแตะลิตร 50

16 เมษานี้ ขึ้นเบนซิน เกือบแตะลิตร 50

16 เมษานี้ ขึ้นเบนซิน เกือบแตะลิตร 50
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรม การบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เห็นชอบปรับโครงสร้างราคาพลังงานรอบที่ 4 โดยจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน ก๊าซแอลพีจีภาคขนส่ง และเอ็นจีวี

ส่งผลให้วันที่ 16 เมษายนนี้ ราคาเบนซิน 95, 91 ปรับขึ้นรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 1.07 บาท/ลิตร (แก๊สโซฮอล์-ดีเซลไม่เปลี่ยนแปลง)

แอลพีจีภาคขนส่งปรับเพิ่มขึ้น 75 สต./ กก. หรือ 0.41 บาท/ลิตร ทำให้ราคาขายปลีกปรับขึ้นไปอยู่ที่ 11.41 บาท/ลิตร

เอ็นจีวี ปรับขึ้น 50 สต./กก.ส่งผลให้ราคาขายปลีกอยู่ที่ 10.50 บาท/กก.

ส่วนวันที่ 16 พฤษภาคม 2555 จะมีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีขนส่ง-เอ็นจีวีรอบที่ 5 หรือไม่นั้น รมว.พลังงาน กล่าวว่า จะรอผลการศึกษาการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ ซึ่งจะศึกษาเสร็จสิ้นเดือนเมษายนนี้ หากพบว่าต้นทุนไม่สูงขึ้นจนจำเป็นต้องปรับใหม่ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องปรับราคาก็ได้ แต่ขอดูผลการศึกษาทั้งหมดเสียก่อน

สำหรับมติ กบง.วันนี้ (10 เม.ย.) เห็นชอบปรับเพิ่มอัตราเงินกองทุนน้ำมันสำหรับเบนซิน 95 ,91 อัตรา 1 บาท/ลิตร เพื่อส่งเสริมการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ เป็นการเพิ่มส่วนต่างของราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินกับแก๊สโซฮอล์ให้มากขึ้น โดยส่วนต่างระหว่างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กับน้ำมันเบนซิน 91 เพิ่มขึ้นจาก 2.35 บาท/ลิตร เป็น 3.42 บาท/ลิตร

และส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 กับน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มขึ้นจาก 6.30 บาท/ลิตร เป็น 7.37 บาท/ลิตร สำหรับน้ำมันดีเซลอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ยังคงเดิมที่ 0.60 บาท/ลิตร ทั้งนี้ เพื่อรักษาระดับอัตราเงินเฟ้อและลดภาระค่าครองชีพของประชาชนจากภาระราคาน้ำมันแพง กบง. ยังเห็นชอบปรับขึ้นเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ แอลพีจีภาคขนส่ง เพิ่มขึ้น 0.75 บาท/กก. ปรับลดเงินชดเชยราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ลง 0.50 บาท/กก. เหลือ 0 บาท/กก.

การปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ครั้งนี้ คาดว่า จะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีภาระลดลงประมาณวันละ 10 ล้านบาท จากติดลบวันละ 70 ล้านบาท เป็นติดลบวันละ 60 ล้านบาท

ทั้งนี้ สถานะเงินกองทุนน้ำมันฯ ล่าสุด (9 เม.ย.) เงินกองทุนน้ำมันติดลบไปแล้ว 23,501 ล้านบาท โดย ครม. อนุมัติกู้เงินหรือออกพันธบัตรมาแก้ปัญหาหนี้ 30,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้กู้ไปแล้ว 6,530 ล้านบาท หนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการตรึงราคาแอลพีจีทั้งระบบ

ซึ่งจากการตรึงราคาแอลพีจีทำให้เกิดการลักลอบการส่งออก มีการใช้ผิดประเภทโดยการนำภาคครัวเรือนที่ ครม.ให้ตรึงราคาจนถึงสิ้นปี ไปใช้ในภาคอื่น ๆ การใช้แอลพีจีภาคขนส่งยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประเทศต้องนำเข้าแอลพีจีมากขึ้นในเดือนเมษายน - พฤษภาคม คาดจะนำเข้า 170,000 ตัน/เดือน

แต่ราคาแอลพีจีตลาดโลกลดลง จากประมาณ 1,200 ดอลลาร์/ตัน เหลือ 990 ดอลลาร์/ตัน ส่งผลให้วงเงินชดเชยนำเข้าลดลงจาก 5,500 ล้านบาท เหลือ 5,100 ล้านบาท/เดือน.

 

ขอบคุณข้อมูล - สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook