ชาติช่วย! รวยด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ

ชาติช่วย! รวยด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ

ชาติช่วย! รวยด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“กองทุนการออมแห่งชาติ” เรียกสั้นๆว่า กอช. เป็นกองทุนที่เป็นความหวังของคนรากหญ้าที่จะสร้างวินัยการออมเงินไว้ใช้ในช่วงโค้งสุดท้ายของชีวิต ทำให้หลังอายุ 60 ปีเต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเอง เพราะเป็นวัยเก๊าที่มีเงิน

ในปัจจุบันการออมเงินเพื่อเกษียณนั้นจะเป็นรูปแบบการออมเงินภาคบังคับที่มีเฉพาะกลุ่มมนุษย์เงินเดือนเท่านั้น เช่น

ข้าราชการ มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
พนักงานเอกชน มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนประกันสังคม

กองทุนการออมแห่งชาติเกิดมาเพื่อคน 2 กลุ่มนี้…

กลุ่มที่ 1 “กลุ่มคนอินดี้ทำงานอิสระ”

แม่บ้าน แม่ค้า/พ่อค้าที่ตลาดนัด พี่วินมอไซด์ คนขับแท็กซี่ คนเก็บขยะ ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ สำหรับทุกๆคนที่ไม่มีการออมเงินภาคบังคับแบบมนุษย์เงินเดือน เป้าหมายเพื่อจะได้มีเงินเก็บที่แน่นอนไว้ใช้ยามชรานั่นเอง

กลุ่มที่ 2 “เด็กวัยรุ่น”


แนะนำให้อ่าน: 4 วิธีออมเงินง่ายๆจากเพจอภินิหารเงินออม

นับว่า กอช.เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการปลูกฝังนิสัยการออมตั้งแต่เด็ก นักเรียน นักศึกษาสามารถเริ่มออมได้ตั้งแต่อายุ 15-60 ปี ยิ่งออมเร็วยิ่งมีเงินเก็บมากนะจ๊ะหนูๆ

ทำไมต้องออมในกองทุนการออมแห่งชาติ

“เราออม – รัฐออม” เราจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนและรัฐก็จะช่วยเราออมโดยจ่ายสมทบให้มากขึ้นด้วยตามระดับอายุ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนหันมาออมเงินมากขึ้น รวมทั้งเป็นการลดภาระของรัฐเรื่องของสังคมผู้สูงอายุในระยะยาวด้วย

การออมเงินเข้ากองทุนไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกเดือน จะออมมากหรือน้อยตามกำลังทรัพย์ของเราเลยนะจ๊ะ โดยออมขั้นต่ำครั้งละ 50 – 13,200 บาท ถ้าเดือนไหนเราไม่ออมเงินเข้ากองทุน รัฐก็จะไม่ออมเงินเข้ากองทุนช่วยเราออมด้วยเช่นกัน ดังนั้น ออมทุกเดือนดีกว่า ส่วนเงินที่รัฐออมช่วยเรานั้นจะปรับทุก 5 ปีตามสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

สัดส่วนการออมในกองทุนการออมแห่งชาติ

การจ่ายเงินเข้ากองทุน กองทุนการออมแห่งชาติ ชาติช่วย! รวยด้วยกองทุนการออมแห่งชาติ

ผลตอบแทนของกองทุนการออมแห่งชาติ

เมื่อเราจ่ายเงินเข้าไปในกองทุนจะเรียกว่า “เงินสะสม” แล้วเงินก็จะไปลงทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความชำนาญการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ออกมาเป็น “ผลประโยชน์ของเงินสะสม” ส่วนรัฐออมช่วยเราจะเรียกว่า “เงินสมทบ” เมื่อนำไปลงทุนแล้วจะเรียกว่า “ผลประโยชน์ของเงินสมทบ” ตามภาพข้างล่างนะจ๊ะ

ผลตอบแทนจากการลงทุนรัฐบาลรับประกันว่าต้องไม่น้อยกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธ.ก.ส.และธนาคารพาณิชย์ใหญ่อีก 5 แห่ง

เชื่อว่าหลายคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้วกำลังประเมินความคุ้มค่าของเงินที่จะได้รับในอนาคตเทียบกับเงินเฟ้อ รวมถึงผลตอบแทนในการลงทุนในรูปแบบต่างๆว่าลงทุนกองทุนรวมหุ้นได้ผลตอบแทนสูงกว่า ขณะที่บางคนรอเวลาว่า “เดี๋ยวค่อยออม” เพราะลำพังใช้จ่ายในแต่ละวันยังไม่พอแล้วจะเอาที่ไหนมาออม

วิ่ง 10 กิโลเมตรก็ต้องเริ่มวิ่งทีละก้าว

การออมเงินก็เช่นกันก็ต้องเริ่มจากเงินก้อนเล็กๆที่ครั้งละ 50 บาท เมื่อเรามีรายได้มากขึ้นก็ออมมากขึ้น ซึ่งออมได้สูงสุดปีละ 13,200 บาท (หรือเดือนละ 1,100 บาท) ซึ่งเป็นโอกาสการลงทุนเล็กๆที่จะทำให้คนรากหญ้ามีการออมเงินเกษียณให้ดูแลตนเองได้

ความคิดเห็นส่วนตัวจากการที่เห็นคนงานที่บ้านหาเช้ากินค่ำ เวลาว่างก็คิดแต่ว่าวันนี้จะทำอะไรเพื่อให้ตอนเย็นมีเงินซื้อของกิน ซึ่งมีโอกาสในการเก็บออมเงินน้อยมากเพราะไม่มีเครื่องมือทางการเงินที่เปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ได้ลงทุน กองทุนการออมแห่งชาติเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้คนกลุ่มนี้มีเงินออมที่มากขึ้น

เราจะได้รับเงินจากกองทุนการออมแห่งชาติตอนไหน?

อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ทุพพลภาพก่อนอายุ 60 ปี
ลาออกจากกองทุน
ตาย

อยากสมัครกองทุนการออมแห่งชาติต้องไปที่ไหน?

เริ่มสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2558 นี้โดยใช้บัตรประชาชนใบเดียวก็ไปสมัครได้เลยที่ 3 ธนาคาร คือ

ธนาคารออมสิน
ธนาคารกรุงไทย
ธ.ก.ส.
โอกาสเก็บเงินไว้ใช้ตอนเกษียณมาแล้ว เริ่มได้ตั้งแต่วัยรุ่นอายุ 15 ปีจนถึงวัยเก๊า 60 ปี แม้ว่าจะไม่ได้รับผลตอบแทนสูงปรี๊ดการลงทุนในหุ้น แต่ “กองทุนการออมแห่งชาติ” ก็เป็นก้าวแรกที่ดีที่จะทำให้เรามีวินัยในการออมเงินและมีความมั่งคงทางด้านการเงินในวัยเกษียณนะจ๊ะ

ศึกษาข้อมูลรายละเอียดยิบย่อยเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fpo.go.th/FPO/index2.php?mod=Category&file=categoryview&categoryID=CAT0001125

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook