จับตาลดคุ้มครองเงินฝาก11ส.ค.นี้ แบงก์มั่นใจไม่กระทบ-ตั้งรับปีหน้าหั่นเหลือ1ล้าน

จับตาลดคุ้มครองเงินฝาก11ส.ค.นี้ แบงก์มั่นใจไม่กระทบ-ตั้งรับปีหน้าหั่นเหลือ1ล้าน

จับตาลดคุ้มครองเงินฝาก11ส.ค.นี้ แบงก์มั่นใจไม่กระทบ-ตั้งรับปีหน้าหั่นเหลือ1ล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แบงก์ประเมินหั่นวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 25 ล้านบาท จาก 50 ล้านบาท ดีเดย์ 11 ส.ค.นี้ ไม่มีผลกระทบ ชี้จับตาปีหน้าลดวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาท ชนกับแบงก์ชาติบังคับใช้ LCR หวั่นสะเทือนสภาพคล่อง

รายงานข่าวจากบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การปรับลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากเหลือ 25 ล้านบาท/บัญชี/ราย จากระดับ 50 ล้านบาท ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินฝากของลูกค้าในระยะถัดไปมากนัก โดยเชื่อว่าธนาคารพาณิชย์จะยังคงรักษาฐานลูกค้าระดับสูงผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากแบบเฉพาะเจาะจง คล้ายกับที่เคยปรากฏในจังหวะการลดความคุ้มครองเงินฝากเหลือ 50 ล้านบาทก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาการปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ในปี 2559 ที่จะมีการลดวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาท หรือมีผลกระทบราว 1.5% จากบัญชีเงินฝากทั้งหมดจำนวน 87 ล้านบัญชี (ณ พ.ค. 58) หรือมีผลกระทบต่อปริมาณเงินฝากประมาณ 77.5% ของทั้งระบบ เนื่องจากในปีหน้ายังเป็นจังหวะเดียวกับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ใช้หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับภาวะวิกฤต (LCR) ตามเกณฑ์บาเซิล 3 พร้อมกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ความต้องการใช้สภาพคล่องของภาครัฐและเอกชนเพื่อการลงทุน

ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องมีการติดตามสถานการณ์เพื่อวางกลยุทธ์ล่วงหน้า เพื่อรักษาฐานลูกค้าและการบริหารต้นทุนดอกเบี้ย เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณความตื่นตระหนกของผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากสูง ๆ มีพฤติกรรมการถอนเงินเพื่อ "แตกบัญชี" ไปฝากที่ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นแต่อย่างใด เพราะที่ผ่านมาลูกค้าเงินฝากรายใหญ่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบันธนาคารมีฐานลูกค้าเงินฝากประมาณ 10 กว่าล้านบัญชี ในจำนวนนี้เป็นบัญชีที่มีเงินฝากมากกว่า 25 ล้านบาท อยู่ในหลักหมื่นบัญชี ขณะที่เป็นบัญชีที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท มีหลักแสนบัญชี

ขณะที่มูลค่าเงินฝาก ณ สิ้น มิ.ย.อยู่ที่ 1.9 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้มีผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากเกินกว่า 1 ล้านบาท ประมาณ 60-70% ส่วนที่มีมากกว่า 10 ล้านบาท ประมาณ 40%

"ระยะแรกอาจเห็นการสวนสนามแบ่งเงินฝากไปที่อื่นบ้าง ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงและความต้องการของลูกค้า ซึ่งแบงก์ก็มีวิธีบริหารจัดการความมั่งคั่งให้กับลูกค้าอยู่แล้ว" นายรุ่งเรืองกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook