สศช.จับตา! คนไทยหนี้เพิ่ม-ตกงาน รายได้หด ลูกจ้างเสี่ยงเตะฝุ่นเพิ่ม หากส่งออกยังแย่

สศช.จับตา! คนไทยหนี้เพิ่ม-ตกงาน รายได้หด ลูกจ้างเสี่ยงเตะฝุ่นเพิ่ม หากส่งออกยังแย่

สศช.จับตา! คนไทยหนี้เพิ่ม-ตกงาน รายได้หด ลูกจ้างเสี่ยงเตะฝุ่นเพิ่ม หากส่งออกยังแย่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 2 ปี 2558 ว่า การมีงานทำของแรงงานได้ปรับตัวลดลง แต่มากกว่าในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดยลดลง 0.2% เป็นการลดลงในภาคเกษตร 5.8% เป็นหลัก ผลจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้กิจกรรมทางเกษตรลดลง ขณะที่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 3 แสนคน คิดเป็น 0.88% ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 0.94%

ในส่วนของรายได้แรงงานโดยรวมยังเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.5% ผลจากการติดลบของเงินเฟ้อ 1.1% เป็นหลัก แสดงให้เห็นว่าแรงงานมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นแต่จะนานแค่ไหนขึ้นกับราคาน้ำมันโลก

"การเติบโตของเศรษฐกิจมาจากแรงขับเคลื่อนของการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยว ส่งผลให้รายได้แรงงานในภาคการผลิตเพิ่มขึ้น 0.2% เช่น ภาคการก่อสร้างเพิ่มขึ้น 2.9% ภาคโรงแรม 7.4% และภาคขนส่ง 8%" นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวว่า มีประเด็นที่ต้องจับตาในระยะต่อไป คือรายได้ของแรงงาน ทั้งเกษตรกรที่อาจได้รับผลกระทบจากปริมาณผลผลิตลดลง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและรายได้แรงงานลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากชั่วโมงการทำงานลดลง การระวังการเลิกจ้างงานจากผลกระทบการส่งออกที่ยังมีแนวโน้มลดลง การย้ายฐานผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

"สศช.ได้ติดตามสถานการณ์การย้ายฐานผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งญี่ปุ่นและเกาหลีไม่อยากให้เกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อการเลิกจ้างมากนักเพราะเป็นการย้ายฐานเพื่อกระจายความเสี่ยง คือย้ายบางส่วนไปประเทศเพื่อนบ้าน แต่บางส่วนได้ขยายการลงทุนเพิ่ม โดยเฉพาะส่วนการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ" นายอาคมกล่าว

เลขาธิการ สศช. กล่าวถึงหนี้ครัวเรือนว่า ข้อมูลล่าสุด ไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 10.57 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% เป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับ 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยหนี้ครัวเรือนดังกล่าวคิดเป็น 79.9% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายปี 2557 เล็กน้อยที่ 79.7% ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) สถานการณ์การชำระหนี้โดยรวมยังไม่น่ากังวล แต่ต้องจับตาในกลุ่มหนี้เกษตรกรที่อาจได้รับผล กระทบจากราคาพืชผลที่ลดลงจนกระทบต่อรายได้และความสามารถในการชำระหนี้

ซึ่งประเด็นนี้รัฐบาลต้องประเมินตลอดเวลาโดยเฉพาะผลกระทบจากภัยแล้งที่หากปัญหายังคงอยู่รัฐบาลต้องจัดงบประมาณช่วยเหลือเพิ่มเติมอยู่แล้ว"นายอาคมกล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook