ซีอีโอ106บจ."เพลย์เซฟ" ไร้สัญญาณลงทุนถึงปี"59

ซีอีโอ106บจ."เพลย์เซฟ" ไร้สัญญาณลงทุนถึงปี"59

ซีอีโอ106บจ."เพลย์เซฟ" ไร้สัญญาณลงทุนถึงปี"59
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ซีอีโอ 106 บริษัทจดทะเบียน มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังแย่ เดินเกมรัดเข็มขัดคุมใช้จ่าย-ลดต้นทุน ใช้กำไรสะสม-กู้แบงก์-ออกหุ้นกู้ขยายลงทุน-ซื้อกิจการเพิ่ม เวิลด์แบงก์-ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ GDP ไทยโตแค่ 2.0-2.5% ชี้ความเชื่อมั่นเปราะบาง สัญญาณลงทุนเอกชนไม่ชัดเจนถึงกลางปีหน้า

แหล่ง ข่าวจากสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการทำผลสำรวจผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน (บจ.) หรือ CEO Survey บริษัทจดทะเบียนไทย 106 บริษัท คิดเป็นสัดส่วน 40% ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ไทย เพื่อสะท้อนภาพรวมเศรษฐกิจไทยและแนวโน้มลงทุนช่วงครึ่งปีหลัง พบว่าส่วนใหญ่ให้น้ำหนักทิศทางเศรษฐกิจที่แย่ลง ต่างไปจากผลสำรวจช่วงต้นปี และหันมาเน้นการบริหารจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคุมค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตมากยิ่งขึ้น

เน้นใช้กำไรสะสมลงทุนเพิ่ม

ทิศทาง การลงทุนบริษัทส่วนใหญ่ยังสนใจลงทุนต่อเนื่อง แต่เพิ่มความระมัดระวังและเลือกลงทุนโครงการที่มีศักยภาพมากขึ้น โดยไม่เจาะจงเฉพาะแค่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเดิมเท่านั้น นอกจากนี้ยังสนใจ "ซื้อกิจการ" หรือ "ขยายลงทุน" โดยใช้เงินทุนจาก 3 ส่วน 1.เงินกำไรสะสม

2.เงินกู้จากสถาบันการเงิน และ 3.เงินจากการระดมทุนออกเสนอขายหุ้นกู้ แต่ไม่เน้นการเพิ่มทุน ซึ่งจะกระทบสัดส่วของผู้ถือหุ้น

"ความ คิดเห็นของซีอีโอบริษัทจดทะเบียน ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในตลาดทุน ชี้วัดความเชื่อมั่นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ของไทยต่อภาวะเศรษฐกิจได้ ถือเป็นอีกดัชนีที่ชี้วัดความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการไทย"

ดร.สันติ กีระนันทน์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานการตลาดและดูแลสายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลท. เปิดเผยว่า ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) แห่แตกไลน์ธุรกิจใหม่ ๆ หนึ่งในธุรกิจที่มีกระแสลงทุนจำนวนมาก คือ กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน ถือเป็นอีกสตอรี่ที่นักลงทุนสนใจ มีผลทำให้ดันราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม

อย่างไรก็ตามปีนี้ภาวะ ตลาดไม่ค่อยสดใสเมื่อเทียบกับปีก่อน อาจส่งผลให้การลงทุนในกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนซบเซาลง ทำให้ความน่าสนใจจากนักลงทุนลดลงด้วย

สำหรับการขยายการลงทุน หรือจัดตั้งบริษัทใหม่ ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ 3 ปัจจัย 1.ทำธุรกิจใหม่ทดแทนธุรกิจเก่า 2.เพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี 3.เพื่อไปลงทุนในต่างประเทศ รองรับการเติบโตในอนาคต ช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวจะกระทบบริษัทที่กระจายธุรกิจหลากหลายน้อยกว่าที่เน้น ธุรกิจเดียว สะท้อนได้จากกำไร บจ.ช่วงที่ผ่านมา 2 ไตรมาส ยังมีกำไรสุทธิรวมเกิน 2 แสนล้านบาทต่อไตรมาส

ลูกค้านิคมจ่อซื้อที่ดินเพิ่ม

นาย แพทย์สมยศ อนันตประยูร ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) มองว่า เศรษฐกิจไทยข้างหน้าจะดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากนโยบายซูเปอร์คลัสเตอร์ของรัฐที่สร้างความมั่นใจให้กับต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนในไทยได้มาก ซึ่งบริษัทได้รับประโยชน์โดยตรงเพราะมี 3 อุตสาหกรรมกลุ่มหลักเป็นลูกค้าสำคัญ ได้แก่ กลุ่มยานยนต์, โลจิสติกส์ และเทคโนโลยี ปัจจุบันลูกค้าในนิคมก็เชื่อมั่นเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากการเข้ามาเจรจาซื้อที่ดินและเช่าคลังเก็บสินค้ามากขึ้น

โดยนิคมอุตฯเหมราชยังมีพื้นที่เหลือรองรับอีกกว่า 11,000 ไร่ ส่วนแผนขยายธุรกิจอยู่ระหว่างศึกษาร่วมกับพันธมิตรยุโรป สร้างโรงไฟฟ้าขยะในนิคมอุตฯระยอง กำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 6,000 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างต้นปี 2559 จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ปี 2560

เอสซีบีหั่นจีดีพีเหลือ 2.0-2.5%

ขณะ ที่นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างมีมุมมองในทิศทางคล้ายกัน โดยนายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการเศรษฐกิจมหภาค ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) กล่าวว่า ศูนย์วิจัยฯปรับลดประมาณการการเติบโตจีดีพีประเทศไทยปี 2558 อยู่ที่ 2.0-2.5% จากเดิมคาดการณ์ไว้ 3% ส่วนปี 2559 คาดการเติบโตที่ 2.5-3% จากเดิม 3.3% คาดว่าการส่งออกปี 2558 จะขยายตัว -4.9% เนื่องจากถูกกดดันจากราคาน้ำมันโลก ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

รวมถึงผลกระทบทางอ้อม จากการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ซึ่งกระทบการส่งออกของอาเซียน ซึ่งเป็นคู่ค้าหลักของไทย แต่ปี 2559 ส่งออกน่าจะกลับมาขยายตัวที่ 2.0% เพราะบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง สินค้ากลุ่มเกษตรจะแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งนี้ค่าเงินบาทปี 2558 คาดว่าจะอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ปี 2559 ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปี"59 สัญญาณลงทุนยังไม่ชัดเจน

นาย พชรพจน์กล่าวว่า ขณะนี้ความเชื่อมั่นภาคเอกชนเปราะบางมาก เนื่องจากความกังวลเรื่องส่งออกและเศรษฐกิจจีน ทำให้เอกชนไม่กล้าลงทุน ต้องการรอดูทิศทางและผลตอบแทนจากการลงทุนก่อน จึงไม่มีสัญญาณชัดเจนในการลงทุนช่วงครึ่งปีแรก สถิติที่มีอยู่ภาคเอกชนจะเริ่มลงทุนเมื่อเห็นการเติบโตของรายได้บริษัทอย่าง น้อย 5-6 เดือน เห็นผลกำไรมาแล้ว 7-8 เดือน และใช้เวลาอีก 2-3 ไตรมาส จึงจะเห็นเม็ดเงินลงทุนหมุนเข้าระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นช่วงครึ่งแรกปี 2559 จะยังไม่เห็นสัญญาณการลงทุนชัดเจน

สอดคล้องกับที่ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ประเมินเศรษฐกิจไทย ปี 2558 จะขยายตัวได้ราว 2.5% จากการใช้จ่ายภาครัฐ และรายรับจากการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะขยายตัวอย่างเข้มแข็ง หากเสถียรภาพทางการเมืองปรับตัวดีขึ้น คาดการณ์จีดีพีปี 2559 ขยายตัว 2% เป็นผลจากเศรษฐกิจจีนยังคงซบเซา และเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ชะลอตัว นอกจากนี้ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกลงจาก 6.7% เหลือ 6.5% และคาดการณ์ปีหน้าที่ 6.4% ลดลงจากเดิม 0.3%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook