ฟันธง! ไม่เลื่อนขึ้นค่าจ้าง 300 แล้ว

ฟันธง! ไม่เลื่อนขึ้นค่าจ้าง 300 แล้ว

ฟันธง! ไม่เลื่อนขึ้นค่าจ้าง 300 แล้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รมว.แรงงาน ยืนยันว่า จะไม่เลื่อนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำออกไปเป็นปี 2558 ตามที่ภาคเอกชนร้องขอ

เนื่องจาก รัฐบาลมีมาตรการรองรับ และให้การช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว และการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ สอดคล้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า จะไม่ชะลอปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาททุกจังหวัด ในปี 2556 ออกไปเป็นปี 2558 ตามที่ภาคธุรกิจเรียกร้อง เพราะยังไม่เกิดวิกฤติหรือมีเหตุจำเป็นเพียงพอ เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมา

 

เนื่องจากการปรับขึ้นค่าแรงถือเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัวรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน หรือ เออีซี ในปี2558 โดยนายจ้างและลูกจ้าง

จะต้องร่วมมือกันเตรียมพร้อม ปรับตัวและรักษาระดับคุณภาพแรงงานที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแรงงานที่มีฝีมือไว้ โดยกระทรวงแรงงานพร้อมสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้างในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน

ขณะเดียวกัน ปัจจุบันไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่มีทั้งการนำเข้าและส่งออกแรงงาน ดังนั้น ต้องมีการเตรียมพร้อมรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ทั้งในส่วนของปัญหาสมองไหลไปยังประเทศที่มีค่าจ้างสูงกว่า

ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ หรือการส่งออกแรงงานต่างประเทศอย่างมีรายได้ที่ดีและมีศักดิ์ศรี

ทั้งนี้ ภาคเอกชนได้เสนอให้รัฐบาลและกระทรวงแรงงานเลื่อนการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับอีก 70 จังหวัดที่ค่าจ้างยังไม่ถึง 300 บาท ออกไปเป็นปี 2558

เนื่องจากภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีที่อยู่ในต่างจังหวัด ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างนำร่องปรับขึ้นค่าจ้าง ร้อยละ 40 ในปีนี้แล้วอย่างมาก

ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในระดับสูงจนผู้ประกอบการอาจจะไม่สามารถรับภาระได้ รวมทั้งได้เสนอตั้งกองทุนวงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อเป็นวงเงินดอกเบี้ยต่ำให้ผู้ประกอบการ นำไปใช้ปรับปรุงเครื่องจักรหรือพัฒนาศักยภาพการผลิต

ข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงแรงงาน ระบุว่า การปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำครั้งนี้ ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการรายใหญ่น้อยมาก

เนื่องจากส่วนใหญ่จ่ายค่าจ้างรายวันเกินกว่าค่าจ้างขั้นต่ำไปมากแล้ว แต่ส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการกลุ่มเอสเอ็มอีมากกว่า เพราะมีต้นทุนค่าแรงร้อยละ 16.2 ของต้นทุนปัจจัยการผลิตทั้งหมด โดยการขึ้นค่าแรงครั้งนี้ ส่งผลให้ต้นทุนเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.4

 

 

ขอบคุณข้อมูล INNNews

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook