"สรรพสามิต"ใหม่ป่วนตลาดเกรย์ เกณฑ์ปฏิบัติยุ่งยาก-หวั่นครึ่งปีแรกยอดขายวูบ

"สรรพสามิต"ใหม่ป่วนตลาดเกรย์ เกณฑ์ปฏิบัติยุ่งยาก-หวั่นครึ่งปีแรกยอดขายวูบ

"สรรพสามิต"ใหม่ป่วนตลาดเกรย์ เกณฑ์ปฏิบัติยุ่งยาก-หวั่นครึ่งปีแรกยอดขายวูบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เกรย์มาร์เก็ตโอด ตลาดรถนำเข้าปี"59 เฉาแน่ หลักเกณฑ์รัฐทุบอยู่หมัด ระบุทุกขั้นตอนล่าช้า ทั้งการตรวจรถ เกณฑ์การเสียภาษี อีโค สติ๊กเกอร์จิปาถะ คาดครึ่งปีแรกสะดุดทุกค่าย กุมขมับรถ 11 ที่นั่ง เตรียมพับฐานยังไงก็ไม่ให้จดทะเบียน สมาคมนำเข้าแย้มค่ายเล็กจ้องม้วนเสื่อ ด้านกรมสรรพสามิตยันพร้อมให้ความช่วยเหลือ

ผลกระทบมาตรการของรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงการคลัง ซึ่งประกอบไปด้วยกรมศุลกากรและกรมสรรพสามิตที่ใช้ความพยายามเข้มงวดกับกลุ่มผู้นำเข้ารถยนต์อิสระหรือเกรย์มาร์เก็ตมาตลอดระยะเวลากว่า 2 ปี แม้จะมีการพูดคุย ปรับความเข้าใจในทางปฏิบัติ รวมถึงการหาทางออกด้วยการตั้งคณะกรรมการตรวจปล่อยสินค้ายุทธศาสตร์ เพื่อป้องกันไม่ให้มีปัญหาด้านราคาสินค้าที่แตกต่างกันในการนำเข้าคนละด่านศุลกากรแล้วก็ตาม แต่ปัญหาระหว่างหน่วยงานรัฐกับผู้นำเข้าก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง

ยิ่งในวันที่ 1 มกราคม 2559 ประกาศกรมสรรพสามิตกำหนดให้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตคำนวณจากการปล่อย Co2 และกระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ การแสดงข้อมูลรถยนต์ตามมาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปได้รับข้อมูลสมรรถนะรถยนต์ที่เที่ยงตรง โปร่งใส และเป็นมาตรฐานเดียวกัน หรืออีโคสติ๊กเกอร์ (ECO Sticker) นั้น หลักเกณฑ์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ยิ่งกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แหล่งข่าวฝ่ายบริหารสมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์ใหม่ เปิดเผยว่า ผลกระทบจากการปรับหลักเกณฑ์ใหม่ของหน่วยงานรัฐครั้งนี้ น่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจรถนำเข้าอย่างหนัก เชื่อว่าตลาดในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 สะดุดแน่นอน ตอนนี้ผู้นำเข้าเกือบทุกรายไม่สามารถวางแผนธุรกิจได้เลย รถรุ่นไหนจะขายได้หรือไม่ยังไม่มีใครประเมินได้ เพราะอย่างแรกอัตรา

ภาษีจะเป็นอย่างไรยังไม่มีใครตอบได้ และขั้นตอนกว่าจะผ่านกระบวนการตรวจปล่อยรถ, ผ่านเกณฑ์การออกอีโค สติ๊กเกอร์เพื่อไปเสียภาษี ไม่รู้ว่าจะต้องใช้เวลาอีกมากน้อยแค่ไหน ซึ่งปัญหาแต่ละขั้นตอนกระทบต่อคนทำการค้าแน่นอน โดยเฉพาะอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งปรับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา

แหล่งข่าวกล่าวว่า สิ่งแรกที่น่ากังวลคือ การตรวจรถ เชื่อว่าใช้เวลาค่อนข้างมาก เพราะเครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ครบ รถบางรุ่นไม่มีเครื่องมือตรวจเช็กด้วยซ้ำ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีการแก้เกณฑ์ให้รถรุ่นเดียวกัน สเป็กเดียวกัน สามารถสุ่มตรวจแล้วใช้ได้ครบทั้งลอต ซึ่งต่างจากเมื่อก่อนที่บังคับตรวจทุกคัน แต่ก็กินเวลาพอสมควร หรือแม้แต่การผ่อนผันให้สามารถออกรถจากท่าเรือไปได้ก่อนโดยยังไม่ทราบว่า รถรุ่นนั้น ๆ ปล่อย Co2 ระดับใด เพื่อเอาไปคำนวณอัตราภาษีสรรพสามิต โดยให้วางเงินประกันในอัตราสูงสุด (50%) ก็สร้างภาระให้กับผู้ประกอบการพอสมควร

"ส่วน อีโคสติ๊กเกอร์ ก็น่าจะเป็นประเด็น เพราะเกณฑ์การผ่านเพื่อนำไปเสียภาษี ต้องได้การยอมรับจาก 4 หน่วยงาน ศุลกากร, สรรพสามิต, สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้เวลาอีกโขทีเดียว ลองคำนวณคร่าว ๆ แล้ว รถคันหนึ่งน่าจะใช้เวลาผ่านขั้นตอนทุกอย่างราว ๆ 2 เดือน

ใครจะไปวางแผนธุรกิจได้ถ้ารวมระยะเวลาสั่งรถอีก 4-5 เดือน เหล่านี้คืออุปสรรคของผู้นำเข้าที่จะเจอในต้นปีหน้า จริง ๆ รัฐบาลชุดนี้ต้องการส่งเสริมเอสเอ็มอี ซึ่งผู้ประกอบการรถนำเข้าส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี แต่เจอกฎเกณฑ์แบบนี้เชื่อว่าถอยทุกราย"

ผู้ประกอบรถนำเข้ารายหนึ่ง กล่าวเสริมว่า ตลาดรถนำเข้าตอนนี้กำลังโดนกระหน่ำ 2 ทาง ทางแรกกฎเกณฑ์ภาครัฐ ทางที่สองคือดิสทริบิวเตอร์แบรนด์รถยนต์ ทั้งเมอร์เซเดส-เบนซ์, บีเอ็มดับเบิลยู ฯลฯ โดยเฉพาะราคาขายที่ต่ำลงมาก รวมถึงการเปิดตัวรถที่เร็วขึ้น ทำให้ตลาดนำเข้าหดตัวลงไปเยอะ ตอนนี้ผู้ค้ารายเล็ก ๆ ทยอยเลิกกิจการไปพอสมควร จะเหลือก็แต่เพียงรายใหญ่ ๆ เท่านั้น ซึ่งกลุ่มนี้ยังมีบริการหลังการขายช่วยซัพพอร์ต

อีกเรื่องที่ยังเป็นปัญหาปวดหัวของผู้นำเข้า คือ การพิจารณาพิกัดประเภทรถยนต์ที่มีที่นั่งเกิน 10 ที่นั่ง อาทิ เมอร์เซเดส-เบนซ์รุ่นวีโต้ เวียโน่ หรือโฟล์คสวาเกน รุ่นคาราเวล ซึ่งเป็นรถที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ หรือหน่วยงานราชการ ปกติพิจารณาพิกัดอนุญาตให้สามารถเสียภาษีแล้วนำไปจดทะเบียนเป็น 11 ที่นั่งได้ แต่ระยะหลังจะถูกบังคับให้จดทะเบียนเป็นรถ 7 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งทำให้ต้นทุนการเสียภาษีสูงมาก จนปัจจุบันไม่สามารถทำตลาดรถประเภทนี้ได้เพราะราคาขายกระโดดขึ้นไปมาก

ด้าน นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวก่อนหน้านี้ว่า กรมสรรพสามิตออกประกาศไป 10-11 ฉบับแล้ว

ตอนนี้เหลือแค่ฉบับที่เป็นวิธีปฏิบัติเท่านั้น คือ ต้องกำหนดว่ารถยนต์ที่ผลิตออกมาต้องส่งไปให้ สมอ.ตรวจวัดค่า Co2 แล้วนำส่งมาให้สรรพสามิตกำหนดค่าภาษี ผู้ประกอบการมี 2 ส่วน คือ นำเข้ากับผลิตในประเทศ กรณีนำเข้าเป็นเรื่องของศุลกากรจัดเก็บแทน ซึ่งต้องรอให้รถเข้ามาก่อนจึงจะส่ง สมอ. และจากนั้นสรรพสามิตถึงจะจำแนกได้ว่ารถคันดังกล่าวเข้าพิกัดไหน

กลุ่มรถนำเข้าก็พยายามทำความเข้าใจ ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าเขาจะเอารถรุ่นใด ยี่ห้อใดเข้ามาต้องให้เห็นตัวรถก่อน ถ้ากรณีซูเปอร์คาร์ก็คงเสียอัตรา 50% เหมือนเดิม เพราะพวกนี้ค่า Co2 ไม่ลดลงอยู่แล้ว ส่วนเมื่อปรับเป็นราคาขายปลีกแนะนำ ของศุลกากรรับราคา C.I.F. ตามระบบราคาแกตต์ แต่ในส่วนภาษีสรรพสามิตต้องใช้ฐานราคาขายปลีก ซึ่งต้องส่งฐานราคาให้ศุลกากรเก็บแทนวิธีปฏิบัติเหมือนเดิมทุกอย่าง เพียงแต่วิธีคำนวณเปลี่ยนไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook