10 นโยบายเศรษฐกิจที่กระทบคนไทยมากที่สุด

10 นโยบายเศรษฐกิจที่กระทบคนไทยมากที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปี ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ. 2558 เป็นปีที่มีการบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลคสช.เต็มรูปแบบ ซึ่งมีการออกนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจที่สำคัญหลายเรื่อง และ นี้คือ 10 สุดยอดนโยบายที่กระทบคนไทยมากที่สุด ที่ sanook money รวบรวมมา มาดูกันเลยครับว่ามีอะไรบ้าง

ลำดับที่ 1 การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช.


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลในยุคของรัฐบาลอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ที่ผ่านพ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติออกมา แต่ยังไม่สามารถจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน ซึ่งในยุคของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กลับไม่สานต่อเพื่อให้กองทุนเกิดขึ้นได้จริง จนในที่สุดเมื่อคณะ คสช.เข้าบริหารประเทศ จึงได้ผลักดันการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติขึ้นมาได้สำเร็จ

http://money.sanook.com/307405/

ลำดับที่ 2 การโอนผู้ประกันตนเองตามม.40 จาก กองทุนประกันสังคม มายังกองทุนกอช.


เป็นนโยบายต่อเนื่องเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนตาม ม. 40 จากกองทุนประกันสังคมมาเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งมีภาระที่ต้องโอนมายังกองทุนแห่งใหม่ด้วย
http://money.sanook.com/275637/

ลำดับที่ 3 ภาษีทรัพย์สิน หรือ ภาษีบ้านและที่ดิน


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พยายามกันมายาวนาน ไม่เคยทำได้สำเร็จ ในยุครัฐบาลคสช.นี้ ก็เกือบจะสำเร็จในยุคที่ นายสมหมาย ภาษีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ถูกกระแสคัดค้านอย่างหนักจนต้องชะลอออกไป อีกครั้ง เรื่องนี้เป็นนโยบายที่คนให้ความสนใจยิ่ง
http://money.sanook.com/261817/

ลำดับที่ 4 การปรับเงินเดือนข้าราชการ
เป็นเรื่องที่ต้องบอกว่า บรรดาข้าราชการได้เฮกันดังๆ เพราะมีการปรับกันทุกหมู่เหล่าทีเดียวแถมยังมีตกเบิกไม่ต่ำกว่า 5 เดือนเข้าด้วย
http://money.sanook.com/265425/

ลำดับที่ 5 การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ


การผลักดันการลงทุนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศโดยการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งนักลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนมากมาย ทำให้ราคาที่ดินในจังหวัดที่จะจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขยายตัวกันหลายเท่าตัวทีเดียว
http://money.sanook.com/268685/

ลำดับที่ 6 การขยายการก่อสร้างทาด่วนพิเศษหรือมอเตอร์เวย์


เป็นนโยบายที่ต้องการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจของไทยกับประเทศในภูมิภาค ซึ่งต้องมีการเวนคืนที่ดินจำนวนมากเพื่อการก่อสร้างดังกล่าว
http://money.sanook.com/316333/


ลำดับที่ 7 การส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัย หรือ ที่เรียกว่าโครงการบ้านคนจน


เป็นการสนับสนุนโครงการที่ดีโครงการหนึ่งนอกจากรัฐจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวของอย่างเช่นการเคหะแห่งชาติ สร้างบ้านราคาถูกให้กับคนมีรายได้น้อยมีโอกาสเป็นเจ้าของแล้ว ยังให้สถาบันการเงินของรัฐอย่าง ธอส. หรือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์มาสนับสนุนสินเชื่อเต็มที่อีกด้วย
http://money.sanook.com/267505/

ลำดับที่ 8 นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
นโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถือเป็นนโยบายที่ส่งผลต่อภาคแรงงานและธุรกิจมากที่สุดนโยบายหนึ่ง และส่งผลต่อเนื่องมาในปัจจุบัน ซึ่งการขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดดนี้ทำให้ฐานของรายได้ของแรงงานไทยเปลี่ยนแปลงในกลุ่มอาเซียนอย่างมีนัยสำคัญทีเดียว
http://money.sanook.com/285925/

ลำดับที่ 9 ผลกระทบจากค่าแรงและภาวะเศรษฐกิจ


การปรับฐานค่าแรงแบบก้าวกระโดด และ จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่ฟื้นตัวชัดเจนทำให้ภาคธุรกิจบางแห่งจำเป็นต้องปรับตัว ปิดโรงงานย้ายฐานไปประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า
http://money.sanook.com/296277/

ลำดับที่ 10 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


การปรับฐานและค่าลดหย่อนภาษีต่างๆเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เสียภาษี โดยลดเพดานภาษีสูงสุดลงมา 35 % และปรับขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษียังถูกสานต่อในปีนี้ และยังมีการศึกษาปรับปรุงภาษีต่ออีกในปีหน้า ซึ่งผู้เสียภาษีเองก็ต้องเรียนรู้และพยายามบริหารการเงินการลงทุนเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางภาษีสูงสุดเป็นเรื่องจำเป็นด้วยเช่นกัน
http://money.sanook.com/329055/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook