แบงก์อ่วมธปท.สั่ง "ลดค่าฟี" ทวงหนี้ โอดรายได้ลด50%-แบกต้นทุนเพิ่ม

แบงก์อ่วมธปท.สั่ง "ลดค่าฟี" ทวงหนี้ โอดรายได้ลด50%-แบกต้นทุนเพิ่ม

แบงก์อ่วมธปท.สั่ง "ลดค่าฟี" ทวงหนี้ โอดรายได้ลด50%-แบกต้นทุนเพิ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธปท.สั่ง แบงก์พาณิชย์ลดค่าธรรมเนียมทวงหนี้ไม่เกิน 100 บาท/รายการ "กรุงศรีฯ" โอดรายได้ค่าฟีหาย 50% แถมเจอหางเลข พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ทำงานยากขึ้น "เคทีซี" แก้เกมให้บริษัทเอาต์ซอร์ซตามทวงหนี้แทน "เคแบงก์" เตรียมประเมินผลกระทบ

นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปีหน้าธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งรวมถึงบริษัทลูกต้องดำเนินการตามประกาศของ ธปท. เรื่องการคิดค่าธรรมเนียมการติดตามทวงถามหนี้ หรือค่าฟีได้ไม่เกินครั้งละ หรือรายการละ 100 บาท โดยที่ผ่านมา ธปท.ได้เชิญธนาคารพาณิชย์เข้ามาหารือ เพื่อดูกระบวนการตรวจสอบค่าธรรมเนียม เห็นควรว่าไม่น่าจะเก็บในอัตราที่สูงเหมือนปัจจุบัน เพราะต้นทุนไม่ได้สูงมากตามที่คิดค่าธรรมเนียม

ทั้งนี้ยอมรับว่าต้น ทุนการคิดค่าธรรมเนียมของแต่ละธนาคารไม่เท่ากัน แต่ไม่ว่าจะคำนวณอย่างไรก็ไม่น่าจะสูงอย่างที่เป็นอยู่ และปัจจุบันพบว่ามีบางธนาคารลดค่าธรรมเนียม หรือบางแห่งไม่จัดเก็บเลย ดังนั้น ธปท.จึงกำหนดว่า ต้นปี 2559 สถาบันการเงินทุกแห่งต้องจัดเก็บไม่เกินตามประกาศของ ธปท. หากแบงก์ใดเรียกเก็บเกินต้องชี้แจงเหตุผล

"ที่ผ่านมาการติดตามทวง หนี้ถือว่าแพงมาก เพียงโทรศัพท์หรือส่งจดหมายหาลูกหนี้ 1 ครั้ง จะคิดค่าติดตามถึง 350 บาท บางแบงก์ 250 บาท ธปท.จึงต้องให้ทบทวนเรื่องนี้ บวกลบคูณหารแล้ว แบงก์ไม่น่าจะเก็บเกินที่ ธปท.กำหนดครั้งละ 100 บาท ซึ่งมีบางแบงก์ขอเวลาถึงสิ้นปีนี้ เพราะต้องใช้เวลาปรับปรุงระบบไอที จึงได้อนุโลมให้เริ่มในปีหน้า"

นางทองอุไรยังกล่าวอีกว่า วันที่ 1 มกราคม 2559 ธปท.จะขึ้นประกาศเรื่องการคิดค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ผ่านทางเว็บไซต์ของ ธปท. เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงกฎเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งส่วนนี้อาจจะยังไม่รวมไปถึงผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน หรือน็อนแบงก์ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่า

กรุงศรีฯเจ็บค่าฟีหายวูบ 50%

นายฐากร ปิยะพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด หรือกรุงศรี คอนซูมเมอร์ กล่าวว่า จากที่ ธปท.กำหนดให้แบงก์พาณิชย์คิดค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ไม่เกิน 100 บาทต่อรายการนั้น ยอมรับว่าบริษัทได้รับผลกระทบ ทำให้รายได้ค่าธรรมเนียมอาจลดลงกว่า 50% จากปัจจุบันที่คิดต่อรายการ 250-350 บาทอีกทั้งตั้งแต่มีพระราชบัญญัติทวงถามหนี้ มีผลบังคับใช้ เมื่อต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา แม้จะส่งผลดีต่อประชาชนโดยรวม และสามารถลดความรุนแรงจากการทวงถามหนี้ได้ในอนาคต

แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้การทำงานของพนักงานทวงหนี้ทำงานยากขึ้นโดยเฉพาะ เงื่อนไขที่ว่าไม่ให้การทวงหนี้กระทบต่อจิตใจ ร่างกาย ของผู้ทวงถาม และเงื่อนเวลาที่มีข้อจำกัดมากขึ้น

"ตอนนี้พนักงานทวงถามหนี้เกร็ง หมด และต้องปรับตัวมาก ซึ่งต้องรอดูผลนานกว่าว่า พ.ร.บ.นี้มีผลกระทบอย่างไร หากทำให้เราทวงถามหนี้ยากขึ้น พนักงานอาจจะลาออก และในที่สุดอาจนำไปสู่การพิจารณาของธนาคารเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อในอนาคต เพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันหนี้เสียและหลีกเลี่ยงการทวงถามหนี้ได้"

นายฐากรกล่าวว่า เดิมการติดตามหนี้ที่ค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน บริษัทเป็นผู้ทวงถามหนี้ทั้งหมด แต่หากเป็นหนี้ที่ค้างชำระเกิน 3 เดือน (เอ็นพีแอล) บริษัทจะส่งงานให้บริษัทรับบริหารหนี้รับช่วงต่อ โดยขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบจากประกาศห้ามเก็บค่าฟีเกิน อัตราที่กำหนด และ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ ว่ามีผลอย่างไร รวมถึงรายได้ในอนาคต สำหรับเอ็นพีแอลของธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 3 ในส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่ที่กว่า 3% ขณะที่บัตรเครดิต 1.7%

KTC จ้างเอาต์ซอร์ซ 100%

ด้าน นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด หรือเคทีซี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ ธปท.ได้มีข้อกำหนดเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมติดตามทวงหนี้ ดังนั้นบริษัทจึงได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการติดตามทวงหนี้ โดยจ้างบริษัทเอาต์ซอร์ซทำหน้าที่แทนทั้งหมด 100% คือบริษัท วิน เพอร์ฟอร์มานซ์ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวเป็นทีมงานเดิมของบริษัทบัตรกรุงไทย ซึ่งมีความเข้าใจระบบการทำงานของบริษัทเป็นอย่างดีที่ได้แยกตัวออกไปจัดตั้ง บริษัท

เนื่องจากการจ้างเอาต์ซอร์ซจะไม่มีการบังคับ หรือกำหนดอัตราการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการทวงถามหนี้ ทำให้การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมมีความคล่องตัวมากกว่า และการทำงานพวกนี้ต้องใช้การบริหารจัดการจากผู้เชี่ยวชาญ อีกทั้งปัจจุบันการทวงถามหนี้ทำได้ยากขึ้น จากการบังคับใช้ พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ โดยการจ้างเอาต์ซอร์ซเข้ามาดูแลส่วนดังกล่าว ทำให้สถานการณ์การติดตามทวงหนี้ต่าง ๆ ทำได้ดีขึ้น

สำหรับการปรับ เปลี่ยนนโยบายการติดตามทวงหนี้ดังกล่าว ทำให้ต้องปรับลดเพดานค่าทวงหนี้จากครั้งละ 250 บาท เหลือไม่เกิน 100 บาท จะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทหายไปส่วนหนึ่งด้วย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ แม้ในอุตสาหกรรมบัตรเครดิตถือว่าพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ปีหน้าเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะยังชะลอตัว อีกทั้งบริษัทมีแผนจะลงทุนปรับระบบไอที ซึ่งจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะทำให้รายได้โดยรวมของบริษัทไม่เติบโต ส่วนกำไรจะพยายามไม่ให้ต่ำกว่าปี 2558 ที่คาดอยู่ที่ประมาณ 2 พันล้านบาท

กสิกรฯยอมรับต้นทุนทวงหนี้พุ่ง

นาย วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานบริหารความเสี่ยงองค์กร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารได้ปรับลดค่าธรรมเนียมการทวงถามหนี้ตามนโยบายของ ธปท. ลงมาอยู่ที่ 88 บาทต่อรายการ จากก่อนหน้าที่เคยเก็บ 200 บาทต่อรายการการลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่กระทบกับรายได้ของธนาคารมากนัก เพราะรายได้ส่วนนี้ธนาคารไม่ได้นำมาคำนวณรายได้หลักของธนาคารอยู่แล้ว สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เป็นเอ็นพีแอล ก็เชื่อว่าค่าฟี 88 บาท จะครอบคลุมรายจ่ายได้ แต่สำหรับลูกค้าที่เป็นเอ็นพีแอล ซึ่งต้องเข้าสู่ขบวนการทวงหนี้ทางกฎหมาย ค่าฟีที่กำหนดอาจไม่ครอบคลุมกับต้นทุนรายจ่ายที่สูงขึ้น

"หากเกิดค่า ใช้จ่ายที่มากกว่าเรียกเก็บ ธนาคารก็ต้องมาทบทวนว่าจะทำอย่างไร หากไม่มีวิธีการก็ต้องถือว่าเป็นต้นทุนของธนาคารที่ต้องแบกรับเพิ่ม และจำเป็นที่จะต้องบันทึกรายจ่ายเพิ่มเข้ามา"

นายวีรวัฒน์กล่าวว่า ธนาคารอยู่ระหว่างการประเมินผลและรวบรวมข้อมูลอย่างรอบด้าน ทั้งจากกรณีการปรับลดค่าธรรมเนียมทวงหนี้ รวมถึงผลจาก พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ เพื่อส่งให้กับสมาคมธนาคารไทยรับทราบ และพิจารณาต่อไป

ออมสินเตรียมจ้างเอาต์ซอร์ซเพิ่ม

ขณะ ที่นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ในอนาคตธนาคารคาดว่าจะมีการส่งงานให้กับเอาต์ซอร์ซเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่ส่งงานให้เอาต์ซอร์ซประมาณ 30% ซึ่งเป็นส่วนของหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด ส่วนอีก 70% ธนาคารดำเนินการเอง ซึ่งส่วนนี้ยังไม่เป็นเอ็นพีแอล ดังนั้นขบวนการทวงหนี้จึงทำได้ง่ายกว่าโดยเหตุผลที่ธนาคารจะส่งงานให้กับ เอาต์ซอร์ซมากขึ้น ไม่ใช่เพราะ ธปท.กำหนดค่าฟีทวงถามหนี้ลดลง แล้วทำให้กระทบต่อรายได้ของธนาคาร เพราะเจตนาธนาคารคงไม่ได้สนใจเรื่องค่าธรรมเนียม หรือนำมาเป็นรายได้หลักของธนาคาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook