เครดิตภาษีเงินปันผล (ตอนแรก)

เครดิตภาษีเงินปันผล (ตอนแรก)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ของทุกปี เป็นช่วงเทศกาลจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น เราเชื่อว่านักลงทุนหลายท่านที่ลงทุนในบริษัทจดทะเบียน สามารถนำเงินปันผลมาเครดิตภาษี ซึ่งเป็นอีกสิทธิหนึ่งที่นักลงทุนควรรู้ เพราะมันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนภาษีเงินได้ของนักลงทุน ทำให้มีเงินออมเพิ่มมากขึ้น งั้นมาหาวิธีการกันเลยคะ


เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร
“เงินปันผล” มาจากกำไรสุทธิของบริษัท แต่กำไรสุทธินี้ได้เสียภาษีไปแล้วครั้งหนึ่งในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อนำมาจ่ายเป็นเงินปันผล นักลงทุนยังต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก ในทางกฎหมายก็จะถือว่าเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน เพราะฉะนั้นภาครัฐจึงอนุญาต ให้นักลงทุนขอ “เครดิตภาษีเงินปันผล” คืนได้


ทั้งนี้มีข้อพิจารณาในการเครดิตภาษีเงินปันผลคือ อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละ บจ. อาจแตกต่างกันไป ตามประเภทหรือแหล่งรายได้ หาก บจ.ที่จ่ายเงินปันผล จากรายได้ที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับการยกเว้นภาษี (กรณีนี้จะไม่สามารถนำไปเครดิตภาษี) สรุปตามตารางนี้




ปัจจัยที่พิจารณาว่า เงินปันผลสามารถใช้เครดิตภาษี ได้หรือไม่ ให้ดูจากภาษีเงินได้ของบริษัทที่เราลงทุน ว่าเสียภาษีหรือไม่


1. เสียภาษี สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผล ได้แต่จะอัตราเท่าไร ขึ้นอยู่กับว่า บริษัทที่ลงทุน เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละเท่าไร เช่น


• ภาษีร้อยละ 30 - เครดิตภาษีเงินปันผล 30/70 หรือ 3/7
• ภาษีร้อยละ 25 - เครดิตภาษีเงินปันผล 25/75 หรือ 1/3
• ภาษีร้อยละ 20 - เครดิตภาษีเงินปันผล 20/80 หรือ 1/4
• ภาษีร้อยละ 15 - เครดิตภาษีเงินปันผล 15/85 หรือ 3/17


ถ้าบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหลายอัตราก็จะแยกคำนวณตามเงินปันผล ในแต่ละอัตราซึ่งจะระบุชัดเจนอยู่ใน หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย


2. ไม่เสียภาษี ไม่สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันได้
มาสุดหน้ากระดาษแล้วทั้งที่ เรื่องยังไม่จบ แต่ต้องจาก อยากฝากตัวอย่างไว้รอ ตอนหน้านะคะ เดี๋ยวจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง

ผู้เขียน : นฤมล บุญสนอง CFP®
รองกรรมการผู้จัดการ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด และ วิทยากรตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook