วิธีใช้ของให้คุ้มค่า

วิธีใช้ของให้คุ้มค่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อภินิหารเงินออม AomMoney Guru

สาวหมวยอารมณ์ดี รักงานเขียนและการวางแผนการเงิน มีฝันที่อยากจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนทำงานรักการออม

เชื่อว่าหลายๆคนรู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งเวลาได้ของชิ้นใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าชุดใหม่ที่ใส่แล้วรู้เลยว่า เป็นเจ้าแม่แฟชั่น รองเท้าคู่ใหม่ใส่แล้วสบายเท้าสุดๆ เครื่องสำอางเซทใหม่ที่ใช้แล้วสวยขึ้นทันตาเห็น รถยนต์คันใหม่ที่คันใหญ่กว่าเดิม ของใหม่อะไรๆมันก็ดูดี

เมื่อเราได้ของชิ้นใหม่แล้วก็อาจจะทำให้ของชิ้นเก่าตกกระป๋องไป หลายครั้งกลายเป็นของเก่าเก็บ อย่างเช่นเครื่องสำอาง บางชิ้นซื้อมายังไม่ทันได้ใช้งานก็ชิงหมดอายุไปก่อน เพราะตอนซื้อเห็นว่าลดราคา ซื้อตุนไว้เยอะเกินไป นำออกมาใช้ไม่ทัน บางคนเบื่อใส่เสื้อผ้าชุดเดิมๆและกังวลว่าคนอื่นจำได้ว่าใส่ชุดซ้ำ หลายครั้งที่ความกังวลแบบแปลกๆทำให้เราเสียเงินมากเกินความจำเป็น

ลองตอบตนเองดูว่า…

การหาเงินเพิ่ม 100 บาทกับการประหยัดเงิน 100 บาท แบบไหนทำได้เร็วที่สุด?

แหม… ถามได้ก็ต้องประหยัดเงิน 100 บาทซิจ๊ะ เพราะทำได้ทันทีแล้วเห็นผลเร็วด้วย แค่ไม่จ่ายเงินออก จากกระเป๋าก็ถือว่าเป็นการประหยัดแล้ว แต่ว่าก็ยังมีหนทางที่ประหยัดได้เร็วกว่านั้นอีกนะจ๊ะ หลายคนคงพอ เดาได้แล้วจากชื่อบทความ “การใช้ของให้คุ้มค่า” นั่นเอง

ถ้าอธิบายเป็นคำพูดอาจจะยังนึกภาพไม่ออก เราก็มีตัวอย่างวิธีใช้ของให้คุ้มค่าแบบสุดๆมาให้ดู

2 วิธีใช้ของให้คุ้มค่า

วิธีที่ 1 ใช้ของให้หมด

ตัวอย่าง

“หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดยังปรากฎ รอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวหลอด ซึ่งเป็นผลจากการกดใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีดและกดเป็นรอยบุ๋ม”

ที่มา http://www.oknation.net/blog/chai/2007/11/08/entry-1

“ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่งจนกระทั่งกุด”

ที่มา http://www.vcharkarn.com/varticle/39675

เราจะเห็นว่าในหลวงทรงใช้สิ่งของได้คุ้มค่า ใช้งานจนกระทั่งใช้งานต่อไปไม่ได้ หากจะนำมาดัดแปลงใช้ใน ชีวิตประจำวันของเรา เช่น

        สมาร์ทโฟน – หลายคนเปลี่ยนบ่อยมาก เพราะเห็นว่ารุ่นใหม่มีการใช้งานที่หลากหลายกว่ารุ่นเก่า คิดไว้ว่าเผื่อจะได้ใช้งานในอนาคต แต่ก็ยังไม่ทันได้ใช้ครบทุกออปชั่นก็เปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ อยู่เรื่อยๆ ใช้ของไม่คุ้มค่าแบบนี้ก็เปลืองเงินซิจ๊ะ


        ทางแก้ คือ เลือกซื้อสมาร์ทโฟนให้เหมาะสมกับงานของเรา เช่น หากเราใช้เพียง 3 อย่าง คือ แชทเล็กน้อย โทรเข้าและโทรออกเป็นส่วนใหญ่ ก็เลือกรุ่นทั่วไปที่ราคาย่อมเยา ไม่ควรเลือกรุ่นที่มีกล้องหน้าถ่ายชัดขั้นเทพ ใช้งานได้ครอบจักรวาลรวมถึงเลือกแพ็กเกจ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงสุด ซึ่งไม่ตรงกับการใช้งานของเราที่เน้นการโทรเข้าโทรออก ทำให้เราจ่ายเงินแพงเกินความจำเป็น 


        เครืองสำอาง – ป้ายลดราคาทำให้เราเกิดอาการคันมือเพราะต้องซื้อ เห็นว่าคุ้มค่า ซื้อเยอะๆตุน ไว้เผื่อว่าจะได้ใช้งาน แต่สุดท้ายก็ใช้ไม่ทัน เพราะมีรุ่นใหม่ที่ดีกว่าเดิมลดราคาอยู่เรื่อยๆ บางครั้งนำค่าเครืองสำอางที่ไม่ได้ใช้มาบวกรวมกันก็อาจจจะได้ค่าอาหารกลางวันทั้งเดือน


        ทางแก้ คือ ใช้ของให้หมดทีละอย่างหรือซื้อของเมื่อใกล้จะหมดเท่านั้น แล้วพยายาม เตือนสติตนเองทุกครั้งเวลาเดินผ่าน ป้ายลดราคาว่าถ้าไม่จำเป็นต้องซื้อก็ให้รีบเดินผ่านไป ห้ามแวะดูเล่นๆเด็ดขาด เพราะส่วน ใหญ่ดูเล่นๆแต่เสียเงินอย่างจริงจัง

วิธีที่ 2 รู้จักซ่อมแซมของเก่า

“ฉลองพระบาทเป็นรองเท้าหนังสีดำ มีสภาพชำรุดทรุดโทรมจากการใช้งานมาหลายสิบปี ภายในรองเท้าผุกร่อนหลุดลอกหลายแห่ง ซึ่งถ้าเป็นคนทั่วไปก็อาจจะทิ้งไปแล้ว แต่พระองค์ท่านกลับทรงให้เจ้าหน้าที่นำมาซ่อมเพื่อใช้งานต่อ”

พื้นด้านล่างฉลองพระบาท ‘ในหลวง’ ที่ทรงโปรดให้ซ่อมแล้วซ่อมอีก

ที่มา http://www.oknation.net/blog/babymind/2007/11/29/entry-3

เราลองนั่งนึกดูซิว่าเคยใส่รองเท้าจนกระทั่งพังไปแล้วกี่คู่ เคยซ่อมรองเท้าคู่ที่พังแล้วมาใช้งานต่อหรือไม่ หลายครั้งที่เราซื้อรองเท้ามาหลายคู่มากเกินไปจนใส่ไม่ทัน เก่าเก็บแล้วพังไปเองตามกาลเวลา หากใครเคยมีพฤติกรรมแบบนี้อาจจะลองปรับใหม่ก่อนที่จะสิ้นเปลืองเงินไปมากกว่านี้

ทางแก้ คือ ซื้อรองเท้าให้เข้ากับได้ทุกชุด ดูที่ความทนทานใส่ได้นาน ไม่ใช่รองเท้าแฟชั่นที่ใส่ไม่กี่ครั้ง ก็ขาด บางครั้งมีรองเท้าเยอะมากก็อาจจะโละคู่เก่ามาขาย หมุนกลับมาเป็นเงิน หรืออาจจะบริจาคก็ได้

สรุปว่า…
การใช้ของให้คุ้มค่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของการประหยัดที่ทำให้เรามีเงินออมเพิ่มขึ้นได้ง่ายมากแล้วยังเริ่มทำ ได้ทันทีอีกด้วย โดยใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่าและใช้ของให้คุ้มค่าเต็มตามศักยภาพที่สิ่งของนั้นๆจะทำได้ นอกจากทำให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าแล้วยังเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีขยะล้นโลกอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook