เทคนิคการ ออมเงิน ทะลุหลักล้าน

เทคนิคการ ออมเงิน ทะลุหลักล้าน

เทคนิคการ ออมเงิน ทะลุหลักล้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จัดได้เลยว่ามันเป็นการเพิ่มจำนวนเงินออมได้อย่างไม่น้อยเลยทีเดียวนะคะ หากเราทำการออม อย่างถูกวิธี และเราได้ทำการออม ให้เป็นไปตามแผน ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพียงแค่คุณได้ทำการเก็บเงินอย่างรู้ค่าของเงินเพียงเท่านั้นการออม ของคุณก็จะประสบกับความสำเร็จอย่างรวดเร็ว บางครั้งยังถึงเป้าหมายก่อนระยะเวลาที่คุณได้จัดตั้งไว้เสียอีก


ทั้งนี้เทคนิคต่างๆที่เราจะกล่าวดังต่อไปนี้เป็นเทคนิคที่จัดได้เลยว่ายอดนิยม สามารถเห็นผลได้เป็นอย่างดี และสร้างการออม ของคุณเองได้ดีเป็นอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ


1. เก็บออมก่อนเหลือเท่าไรค่อยใช้
เชื่อว่าหลายคนยังชอบที่จะใช้ก่อนเหลือเท่าไรค่อยออม แต่วิธีที่ดีกว่านั้นก็คือออมก่อนเหลือเท่าไรค่อยใช้ เช่นหากเราต้องการที่จะ ออมเงิน ประมาณ 15% ของรายได้ เมื่อเรามีรายได้เข้ามาก็ควรจะหัก 15% ตรงนั้นเลย ที่เหลือค่อยนำไปใช้จ่าย ซึ่งวิธีการแบบนั้นทำให้เราจัดสรรระบบการ ออมเงิน ของเราได้ดีขึ้น


2. แบ่งบัญชีเงินออมเป็น สั้น กลาง ยาว
เมื่อเราได้ตัวเลขที่จะออมในแต่ละเดือนแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อจากนี้คือนำเงินออมที่หักไว้มากระจายในแต่ละบัญชี โดยแบ่งเป็นบัญชีระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ซึ่งเราควรจะกำหนดเป้าหมายไว้ว่า


บัญชีระยะสั้น จะใส่เงินออมลงไปกี่เปอร์เซ็นต์ เงินที่เก็บไว้นี้จะนำไปทำอะไรบ้าง เช่น กำหนดไว้ว่าบัญชีนี้จะเป็นเงินเก็บที่เหมาะต่อการเอาไว้ท่องเที่ยว หรือเก็บไว้ใช้เพื่อซื้อความสุขให้ตัวเองในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งการสร้างขวัญและกำลังใจในการเก็บเงินออมแบบนี้จะช่วยให้เรามีความสุขกับการออมมากขึ้น


บัญชีระยะกลาง อาจจะใส่เงินออมที่ให้มากกว่าบัญชีระยะสั้นเล็กน้อย และกำหนดเป้าหมายไว้ด้วย เช่น บัญชีนี้เหมาะต่อการช่วยดาวน์บ้าน-ผ่อนบ้าน หรือ ดาวน์รถ-ผ่อนรถ ซึ่งก็แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคน


บัญชีระยะยาว ให้นึกภาพตัวเองในอีก 30-40 ปีข้างหน้าว่าเราจะเป็นคนแก่แบบไหน ต้องการใช้เงินในการดำรงชีวิตอยู่แบบใด และต้องมีเงินเก็บเท่าไรถึงจะอยู่ได้สบายๆ ในอนาคต สิ่งที่สำคัญในการสร้างบัญชีเหล่านี้ควรจะอยู่ในธนาคารเดียวกันเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียมในการโอนเงินหากโอนผ่านตู้ ATM และที่สำคัญประหยัดเวลาในการเดินทางและความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงิน


3. ทำบัญชีฉุกเฉิน
ท่องไว้ว่าจะไม่ใช้มันสิ่งที่มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ หวาดกลัวมากที่สุดคือการตกงาน ไม่ว่าจะตกงานด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามแต่ ทั้งนี้แม้เราจะมีเงินจากประกันสังคมช่วยเหลือกรณีว่างงานเป็นเวลา 6 เดือน และจะได้รับเงินช่วยเหลือในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และบ่อยครั้งเลยมี่เรามักจะเจอกับคำถามว่า พอหรือไม่สำหรับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคมเพียง 50% หรือเพียงครึ่งเดียวจากรายได้ที่เราเคยได้รับ ยิ่งถ้าเรามีภาระไม่ว่าจะเป็นผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเช่าหอ หรือรายจ่ายจิปาถะในแต่ละเดือน คำตอบที่ได้ก็คงจะไม่พอเป็นแน่แท้


ฉะนั้นบัญชีฉุกเฉิน จึงเป็นคำตอบสุดท้ายที่ดีที่สุด เทคนิคในการเก็บเงินในบัญชีฉุกเฉินนั้นแม้จะยากสักหน่อย แต่คำว่าลำบากวันนี้จะสบายในวันข้างหน้าดูจะได้ผลมากที่สุด คำนวณค่าใช่จ่ายในแต่ละเดือนว่าต้องจ่ายอะไรบ้าง เช่น ค่ารถ ค่าบ้าน ค่าเช่าหอ เป็นต้น , นำรายจ่ายทั้งหมดมาคูณด้วยจำนวนเดือน , บัญชีฉุกเฉินนี้ต้องมีเงินเก็บให้มากกว่า 42,000 บาท นั่นแสดงให้เห็นว่าหากเราตกงานภายในช่วงเวลา 6 เดือน เราจะไม่กังวลกับรายจ่ายที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนเพราะบัญชีฉุกเฉินนี้


หรือหากใครมีความสามารถที่จะเก็บเงินได้มากกว่าที่คำนวณไว้นั้นก็เป็นสิ่งที่น่าดีใจไม่น้อย ที่สำคัญที่สุดเลยนะคะ คือคุณต้องท่องเอาไว้ว่าไม่ฉุกเฉินจริงๆ ฉันจะไม่ใช้มัน และทางที่ดีอย่าทำ ATM ดีที่สุดเพราะการทำ ATM นั้นเป็นการที่ง่ายมากๆที่จะกดออกมาใช้จ่าย


4. ให้เงินออมทำงานผ่านการลงทุน/กองทุนรวม/หุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์
วิธีที่จะทำให้เงินออมงอกเงยเพิ่มดอกออกผลนั้นไม่ยากเลย หากเราสามารถทำขั้นตอน 3 ข้อแรกได้สำเร็จ บัญชีเงินออมระยะสั้น กลาง และยาว ของเราไม่ควรที่จะแช่อยู่ในธนาคารเพียงอย่างเดียว เราควรจะหารูปแบบการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหุ้น ลงทุนในกองทุนรวม หรือซื้ออสังหาริมทรัพย์ไว้เพื่อปล่อยให้เช่า เป็นต้น

ที่สำคัญ ก่อนที่จะไปลงทุนอะไรก็ตามแต่ควรจะศึกษาข้อดีและข้อเสียจากการลงทุนให้มากๆ ประเมินตนเองอยู่เสมอว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เช็คเป้าหมายการ ออมเงิน และการลงทุนของเราว่าตรงกันหรือไม่ เช่น บัญชีออมเงินระยะสั้นของเรานั้นต้องมีสภาพคล่องเสมอ วิธีการซื้อขาย หรือเบิก ถอน ต้องไม่ยุ่งยากและไม่ต้องรอนาน เป็นต้น หรือเรากำหนดไว้ว่าบัญชีออมเงินระยะยาวนั้นจะเน้นไว้ใช้ยามเกษียณ การลงทุนในกองทุนรวมก็คงจะเป็นคำตอบที่ดี


สิ่งที่คุณควรนึกเสมอคงจะเป็นเรื่องการลงทุนทุกรูปแบบมีข้อดี ข้อเสียในตัวเสมอ เราควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้งนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook