ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน RMF ลงทุนอย่างไร จึงคุ้มค่า....ใครเหมาะจะลงทุน?

ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน RMF ลงทุนอย่างไร จึงคุ้มค่า....ใครเหมาะจะลงทุน?

ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน RMF ลงทุนอย่างไร จึงคุ้มค่า....ใครเหมาะจะลงทุน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้มาดูการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงในอนาคตและการบริหารเงิน ที่ได้ประโยชน์ทางภาษี  โดยการลงทุนระยะยาวในกองทุนคู่แฝดอีกกองทุน หลังจาก ครั้งก่อนเราเรียนรู้ในเรื่องกองทุน LTF ไปแล้ว

ก่อนอื่นเราต้องรู้จักกองทุน RMF ว่า เป็นการทุนแบบใด มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ และสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างไร..สิ่งเหล่านี้จะตอบคำถามได้ว่า ใครเหมาะจะลงทุนในกองทุน RMF อย่างไร..

 

RMF หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ( retirement mutual fund) โดยหลักการคือ ต้องการสนับสนุนให้ผู้ลงทุนลงทุนระยะยาวเพื่ออนาคตหลังเกษียณ ซึ่งเป็นช่วงชีวิตที่ไม่มีรายได้ประจำ ดังนั้น  รูปแบบของกองทุนนี้จึงเน้น การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย และ มีการออกแบบการลงทุนให้เหมาะสมกับช่วงชีวิต ว่าแต่ละช่วงสามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด 

 

และการสนับสนุนโดยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้นมีการกำหนดเงื่อนไขไว้ชัดเจนว่าต้องทำอย่างไรจึงจะได้สิทธิประโยชน์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

• ต้องสะสมเงินอย่างต่อเนื่องโดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง

• ต้องลงทุนขั้นต่ำ 3% ของเงินได้ในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะต่ำกว่า) 

• ต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดที่ไม่มีเงินได้ ก็ไม่ต้องลงทุน เนื่องจาก 3% ของเงินได้ 0 บาท เท่ากับ 0 บาท)

• การขายคืนหน่วยลงทุนทำได้เมื่อผู้ลงทุนอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 

 

สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเมื่อทำตามเงื่อนไขการลงทุน ผู้ลงทุนใน RMF จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ

  1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้พึงประเมินในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

  2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

 

จะเห็นได้ว่า การลงทุนใน RMF มีเงื่อนไขที่ต้องทำตามหาก มีการกระทำที่ผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอีกต่อไปและต้องดำเนินการ ดังนี้

1. กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข

    •ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) 

    •เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องจ่ายภาษีของกำไรส่วนเกินทุน (capital gain) โดยนำกำไรที่ได้รับจากการขายคืนไปรวมเป็นเงินได้ของปีที่ขายคืนเพื่อเสียภาษีเงินได้  ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรส่วนเกินทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้ง ว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีก หรือไม่ อย่างไร

 

2. กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข

     • ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน)

การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ/หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน  หากลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี  

 

จากเงื่อนไขทั้งหมด เป็นสิ่งที่ชี้ชัดว่า การสนับสนุนการลงทุนใน RMF ก็เพื่อต้องการให้เป็นการลงทุนระยะยาวจริงๆ ดังนั้น หากจะลงทุนใน RMF เราต้องมาตรวจสอบเงื่อนไขก่อนว่าเราสามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้หรือไม่คือ

- ตอบตัวเองว่าต้องการออมเพื่อวัยเกษียณ 

-มีวินัยในการออมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และระยะยาว 

-รู้จักตัวเอง-รู้ว่ามีเป้าหมายการลงทุนเป็นแบบใด สามารถออมเงินได้มากน้อยเพียงไร และยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้ขนาดไหน 

-รู้จักผลิตภัณฑ์-รู้ว่านโยบายการลงทุนของ RMF ที่สนใจจะลงทุนเป็นอย่างไร เช่น มีความเสี่ยงต่ำ ปานกลาง หรือสูง 

-พิจารณาผลงานของบริษัท คุณภาพในการให้บริการ รวมทั้งการคิดค่าธรรมเนียมจัดการและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ 

-เลือกลงทุนใน RMF ที่เหมาะสมกับตัวคุณ

 

โดยสรุป ไม่ใช่เรื่องง่ายหากมนุษย์เงินเดือนจะลงทุนใน RMF หาก ไม่สามารถรับภาระและมีวินัยในการใช้จ่ายการลงทุนอย่างแท้จริง และหาก มนุษย์เงินเดือนมีการลงทุนในรูปแบบอื่นที่เป็นการลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ก็ต้องชั่งใจให้ดีว่า พร้อมหรือไม่ที่จะลงทุนระยะยาวแบบ RMF………..

 

ขอบคุณแหล่งข้อมูล

http://www.start-to-invest.com/webedu/content.html?menu_id=82

http://www.aimc.or.th/#2

http://www.bfiia.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=359633&Ntype=2

ติดตามบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่นี้


-ภาษีและการบริหารกาเงิน[ซีรีส์] ตอน รู้ยัง! ทำงานมีรายได้ ต้องจ่ายภาษีหรือไม่อย่างไร...?

-ภาษีและการบริหารกาเงิน[ซีรีส์] ตอน มนุษย์เงินเดือน ลดหย่อนภาษีจากอะไรได้บ้าง..?

-ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน เงินเดือน 30,000 บาทลงทุนอะไรดี ที่ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี.?

-ภาษีและการบริหารการเงิน[ซีรีส์] ตอน ใครควรลงทุนใน LTF และลงทุนอย่างไร ?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook