พลิกมุมสู้ฉลุยโลด! เกษตรกรหญิงทำนาปรังเจ๊ง หันปลูกมะเขือเทศพันธุ์เด็ด รายได้งามโกยวันละ 2 พัน

พลิกมุมสู้ฉลุยโลด! เกษตรกรหญิงทำนาปรังเจ๊ง หันปลูกมะเขือเทศพันธุ์เด็ด รายได้งามโกยวันละ 2 พัน

พลิกมุมสู้ฉลุยโลด! เกษตรกรหญิงทำนาปรังเจ๊ง หันปลูกมะเขือเทศพันธุ์เด็ด รายได้งามโกยวันละ 2 พัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เกษตรกร ตำบลนาตงวัฒนา ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร ประสบปัญหาเพลี้ยระบาดข้าวนาปรัง ทำการไถกลบหันมาปลูกมะเขือเทศพันธุ์อิหล่า พืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย ลงทุน 5 พันบาท ในพื้นที่ 4 ไร่ ปลูกเพียง 2 เดือน เก็บผลผลิตรายได้งามวัน ละ 2,000 บาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาพอากาศใน จ.สกลนคร ช่วง 3-4 วัน ที่ผ่านมา อุณหภูมิสูงเฉลี่ย 37-38 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าเข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเต็มตัว ตามมาด้วยปัญหาภัยแล้งที่คืบคลานมาพร้อมกัน ส่งผลให้แหล่งน้ำทางการเกษตรแห้งขอด กระทบไปทุกหย่อมหญ้า เกษตรได้รับผลกระทบจากการเพาะปลูก และการเลี้ยงปศุสัตว์ ต้องต่างพากันปรับตัวสู้กับสถานการณ์ โดยเฉพาะข้าวนาปรังปีนี้เสียหายหมดกลายเป็นพื้นที่โล่งให้เห็น บางรายปล่อยที่นาทิ้งไว้รอฤดูฝนทำนาปี แต่ส่วนใหญ่ต้องดิ้นรนหารายได้เลี้ยงชีพ เช่นกัน กับเกษตร ใน ต.นาตงวัฒนา อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร ต่างพากันหันมาปลูกมะเขือเทศส่งขายโรงงานในช่วงแล้งนี้

นาง เพชรมณี โพธิ์บุญเรือง อายุ 43 ปี เกษตรกร บ.นาตงใหญ่ กล่าวว่า ตนประสบปัญหาทำนาปรัง เนื่องจากขาดน้ำและประสบปัญหาเพี้ยระบาด พยามแก้ไขแล้วแต่ดูท่าจะไม่ไปรอด จึงไถกลบหันมาปลูกมะเขือเทศรวมกับกลุ่มกับเกษตรกรรายอื่นๆ แล้วติดต่อโรงงานมาตั้งจุดรับซื้อในตำบล สำหรับมะเขือเทศเป็นพันธุ์อิหล่า (มข.0.2) เป็นพันธุ์ที่นิยมนำไปผลิตเป็นซอสมะเขือเทศ โดยเริ่มแรกลงทุนเพียง 5,000 บาท เพาะปลูกในพื้นที่ 4 ไร่ ปลูกมาตั้งแต่เดือน ธ.ค.ปีก่อน ดูแลง่าย โตเร็ว น้ำหนักเยอะ ใช้น้ำน้อย ทนโรค ตอนนี้ สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว โดยมะเขือเทศที่ส่งขาย ผู้รับซื้อจะมารับซื้อ ในราคา กิโลกรัมละ 2.70 บาท ใน 1 วันตนและครอบครัว จะเก็บมะเขือเทศ ได้ 900-1,000 กิโลกรัม รายได้เฉลี่ย 1,500-2,000 บาท ต่อวัน

นาง เพชรมณี โพธิ์บุญเรือง กล่าวอีกว่า น้ำเพาะปลูกใช้น้ำจากลำห้วยตง เดิมเจอสภาพน้ำตื้นเขิน สูบน้ำมารดมะเขือเทศไม่ได้เพราะมีวัชพืชจำนวนมาก แต่เมื่อนายเอกภพ โสภณ นายอำเภอโพนนาแก้วและชาวบ้าน ได้ช่วยกันทำการมาช่วยกันขุดลอก ตอนนี้ทำให้น้ำไหลสะดวกและมีน้ำเพิ่มมากขึ้น คาดว่าจะเก็บผลผลิตมะเขือเทศโดยมีน้ำจากลำห้วยตงไปจนถึงปลายเมษายน ซึ่งก่อนการขุดลอก คิดว่าจะสามารถมีน้ำเพาะปลูกภายในสิ้นเดือน มี.ค.เท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook