รู้ยัง? …ค่าจ้างแรงงานมีฝีมือ 5 กลุ่มอุตสาหกรรม 20 สาขาอาชีพ ใครได้มากสุด-น้อยสุด !!
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่กระทรวงแรงงาน ม.ล.ปุณฑริก สมิติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ดค่าจ้างว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม รวมทั้งหมด 20 สาขาอาชีพ จำนวน 2 ระดับ คือ
1.กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4 สาขา ประกอบด้วย
พนักงานประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและแสงสว่าง ระดับ 1 ค่าจ้าง 360 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 430 บาท
สาขาพนักงานประกอบมอเตอร์สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ระดับ 1 ค่าจ้าง 370 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 445 บาท
ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ระดับ 1 ค่าจ้าง 410 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 490 บาท
ช่างเทคนิคระบบรักษาความปลอดภัย ระดับ 1 ค่าจ้าง 400 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 480 บาท
2.กลุ่มชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ จำนวน 4 สาขา ประกอบด้วย
สาขาช่างกลึง / ช่างเชื่อมมิก-แม็ก /ช่างเทคนิคบำรุงรักษาเครื่องจักรกล / ช่างเทคนิคเครื่องกลึงอัตโนมัติ อัตราค่าจ้างเท่ากันทั้ง 4 สาขา โดยระดับ 1 ค่าจ้าง 400 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 480 บาท
3.ยานยนต์ จำนวน 4 สาขา ประกอบด้วย ช่างเทคนิคพ่นสีตัวถัง / ช่างเทคนิคพ้นซีลเลอร์ตัวถัง / พนักงานประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (ขั้นสุดท้าย) / ช่างเทคนิคเชื่อมสปอตตัวถัง อัตราค่าจ้างเท่ากันทั้ง 4 สาขา ระดับ 1 ค่าจ้าง 400 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 480 บาท
4.อัญมณี จำนวน 4 สาขา ประกอบด้วย ช่างเจียระไนพลอย / ช่างหล่อเครื่องประดับ / ช่างตกแต่งเครื่องประดับ / ช่างอัญมณีบนเครื่องประดับ อัตราค่าจ้างเท่ากันทั้ง 4 สาขา ระดับ 1 ค่าจ้าง 420 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 550 บาท และ
5.โลจิสติกส์ จำนวน 4 สาขา ประกอบด้วย
นักบริหารการขนส่งสินค้า ระดับ 1 ค่าจ้าง 415 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 500 บาท
ผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 1 ค่าจ้าง 360 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 430 บาท
ผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 ค่าจ้าง 350 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 420 บาท
ผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 1 ค่าจ้าง 340 บาท ระดับ 2 ค่าจ้าง 410 บาท
ม.ล.ปุณฑริกกล่าวว่า โดยคาดว่าจะเสนออัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนนี้ ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้ใน 90 วัน โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ในเดือนสิงหาคม