ข้อควรรู้ อัตราค่าปรับเมื่อยื่นภาษีล่าช้าเกินกำหนด

ข้อควรรู้ อัตราค่าปรับเมื่อยื่นภาษีล่าช้าเกินกำหนด

ข้อควรรู้ อัตราค่าปรับเมื่อยื่นภาษีล่าช้าเกินกำหนด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กำหนดในการจ่ายภาษีของทุกปีนั้นคือช่วงต้นปี ตั้งแต่ 1 มกราคม ไปจนถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี ผู้ที่ต้องไปยื่นเสียภาษีจึงจำเป็นต้องรู้และจ่ายให้ตรงตามเวลา เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะโดนปรับได้ง่าย ๆ หรือปล่อยปละละเลยให้เกินไปจนถึงปีหน้าก็อาจจะโดนปรับได้อย่างมหาศาล และอาจจะโดนดำเนินคดีทางกฎหมายในข้อหาการหลีกเลี่ยงภาษีได้เช่นกัน


ทั้งนี้กรมสรรพากรได้มีการให้บริการยื่นภาษีออนไลน์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ให้สามารถชำระค่าภาษีกันง่ายขึ้นและเข้าถึงในทุก ๆ ที่ ซึ่งการให้บริการชำระภาษีออนไลน์นั้นยังเป็นการลดปัญหาการชำระค่าภาษีที่ล่าช้ากว่ากำหนด ด้วยสาเหตุเรื่องของไม่มีเวลา, ความยุ่งยากในการไปจ่าย หรือในผู้ที่อ้างว่าไม่รู้เวลาที่ต้องไปชำระ เพราะทางกรมสรรพากรยังมีบริการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ที่ต้องชำระภาษีผ่านช่องทางต่าง ๆ มากมาย และมีโปรแกรมคำนวณภาษีที่จะเพิ่มความสะดวกในการกรอกข้อมูลเรื่องของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้แก่ผู้ต้องเสียภาษีทุกคนอีกด้วย


โดยก่อนที่จะหมดเวลาหรือกำหนดในการจ่ายนั้น ทางกรมสรรพากรจะมีการเตือนผู้ที่เสียภาษี พร้อมทั้งมีอนุโลมวันให้ทุกปี เพื่อเป็นการยืดเวลาให้แก่ผู้ที่อาจจะเพิ่งเริ่มเสียภาษีเองแล้วยังไม่รู้วันตามกำหนด หรืออาจจะยังไม่รู้ขั้นตอนของการยื่นภาษีเท่าที่ควร แต่ในส่วนของผู้ที่อาจจะลืมจนเกินกำหนดหรือตั้งใจก็แล้วแต่ ก็จะมีการโดนปรับจากทางกรมสรรพากรอย่างแน่นอน

โดยอัตราค่าปรับในการยื่นชำระภาษีล่าช้ามีดังนี้ คือ


1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90, ภงด.91) ค่าปรับไม่เกิน 7 วันจะอยู่ที่ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วันจะปรับที่ 200 บาท แต่ถ้าเกินไปถึง 1 เดือนก็อาจจะต้องเสียในอัตรา 1.5% ต่อเดือน หรือระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แต่ก็สามารถที่จะขอลดค่าปรับได้


2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) ค่าปรับไม่เกิน 7 วันจะอยู่ที่ 1,000 บาท ถ้าเกิน 7 วันจะอยู่ที่ 2,000 บาท แต่ถ้าเกินออกไปจนครบเดือนก็จะอยู่ที่ อัตรา 1.5% ต่อเดือน ในส่วนของมูลนิธิหรือสมาคมต่าง ๆ จะเสียค่าปรับที่ 500 บาท ใน 7 วัน ถ้าเกิน 7 วันก็อยู่ที่ 1,000 บาท แต่ถ้าเกินไปถึง 1 เดือน ก็เสียค่าปรับในอัตราเดียวกัน คือ 1.5% ต่อเดือน แต่ถ้าไม่ทันจริง ๆ ก็ควรที่จะยื่นแบบเท่าที่รวมได้ไปก่อน แล้วค่อยยื่นเรื่องเพิ่มเติมทีหลังจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับ เพียงแต่ก็ต้องรีบทำให้เสร็จโดยเร็วที่สุด


3. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.51) ค่าปรับแบบไม่เกิน 2 วันจะอยู่ที่ x 0.105% ถ้าไม่เกิน 7 วันจะอยู่ที่ x0.505% แต่ถ้าเกินไปถึง 1 เดือนก็จะถูกปรับอยู่ที่ 1.5% ต่อเดือน จนกว่าจะชำระจนครบ 20% ของเงินภาษีที่ค้างไว้ทั้งหมด และในกรณีที่ไม่ได้จ่ายเกิน 1 ปี จะต้องมีการยื่นแบบพร้อมชำระภาษีเป็น 2 เท่า X10% แต่ถ้าเกิน 2 ปี ขึ้นไปต้องชำระภาษี 2 เท่า X20% แต่ถ้าไม่ได้มีการยื่นแบบมาก่อนก็จะต้องเสียภาษี 2 เท่า X30% เลยทีเดียว


4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ. 30) ค่าปรับไม่เกิน 7 วันจะอยู่ที่ 300 บาท ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไปจะอยู่ที่ 500 บาท โดยเมื่อครบเดือนก็จะถูกปรับที่ 1.5% ต่อเดือน ทั้งนี้เบี้ยปรับยังมีอีก 2 กรณี คือ


- กรณีไม่เคยยื่นแบบหรือยื่นแบบเกินกำหนดไม่เกิน 15 วัน, 30 วัน, 60 วัน และที่เกิน 60 วันไปแล้ว จะต้องชำระค่าภาษีเป็น 2 เท่า พร้อมด้วยเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นจาก 2% ที่ต่ำสุดไปจนถึง 20% ที่ถือว่าเป็นการปรับที่สูงสุด
- กรณียื่นแบบภาษีเพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา ก็จะโดนปรับแค่เพียง 1 เท่า แต่ก็จะมีเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นตามกำหนดเวลาตั้งแต่ 2% ที่ต่ำสุดไปจนถึง 20% ที่ถือว่าสูงสุด


5. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1, 3 , 53) ค่าปรับไม่เกิน 7 วันจะอยู่ที่ 100 บาท ถ้าแบบเกิน 7 วัน จะอยู่ที่ 200 บาท ในส่วนของเงินเพิ่มจะอยู่ที่ 1.5% ต่อเดือน
โดยค่าปรับของการยื่นแบบภาษีช้าเกินกว่ากำหนดนั้นจะมีอายุความอยู่ที่ 1 ปี และจะมีการปรับเรื่องภาษีอากรที่มีอายุความ 10 ปี โดยมีเบี้ยปรับพิจารณา เป็น 2 แบบ คือ


- เบี้ยปรับ 1 เท่า คือการที่ผู้ยื่นเสียภาษียื่นภาษีขายขาดไป และยื่นภาษีซื้อมากเกินไป
- เบี้ยปรับ 2 เท่า คือการไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ไม่ยอมยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม, ไม่จัดทำใบกับภาษี, ใช้ใบกำกับภาษีปลอม, ไม่จัดทำรายงานตามกฎหมายกำหนด, ออกใบกำกับภาษีโดยที่ไม่มีสิทธิออก และสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ


เรื่องของการนับวัน ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดต้องชำระ หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีซึ่งส่วนมากมักจะตรงกับวันที่ 15 หรือไม่ก็ 30 ของเดือน แต่ถ้าวันนั้น ๆ ติดกับวันเสาร์หรืออาทิตย์ก็สามารถที่จะไปจ่ายในวันจันทร์ได้

ส่วนเรื่องอัตราค่าปรับกองทุนประกันสังคมนั้น ทางบริษัทจะมีการหักเงินสมทบรายเดือนเป็นอัตรา 2% ของเงินเดือน แต่ถ้าเป็นกองทุนเงินทดแทนของประกันสังคม จะมีการชำระแค่ปีละครั้ง โดยคิดจากใบประเมินประจำปีในเรื่องอัตราความเสี่ยงของกิจการแล้วนำมาคูณยอดเงินเดือนทั้งปีของกิจการนั้น ๆ ประกอบกันไป เมื่อมีเหตุให้ต้องยื่นแบบเกินกำหนดเวลา โดยยอดที่ต้องชำระจะอยู่ที่ 3% ต่อเดือน แต่ถ้าต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถไปหาอ่านได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/37392.0.html ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook