กินเที่ยวสงกรานต์ ไม่ถึง 15,000 บาท ใช้สิทธิที่เหลือได้หรือไม่.?

กินเที่ยวสงกรานต์ ไม่ถึง 15,000 บาท ใช้สิทธิที่เหลือได้หรือไม่.?

กินเที่ยวสงกรานต์ ไม่ถึง 15,000 บาท ใช้สิทธิที่เหลือได้หรือไม่.?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“หักลดหย่อนภาษีกินเที่ยวสงกรานต์” ใช้เงินกินอาหาร เที่ยวพักโรงแรม ไม่ถึง 15,000 บาท วงเงินที่เหลือ นำไปใช้สิทธิภายหลังได้หรือไม่. ?

วันที่ 9 เม.ย.59 พรุ่งนี้ก็เป็นวันแรกของมาตรการทางภาษีที่เรียกกันว่า “ภาษีสงกรานต์” หรือ มาตรการหักลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2559 ซึ่งมีระยะเวลาของมาตรการ ตั้งแต่วันที่ 9- 17 เม.ย. นี้

หลายๆคนยังสับสนว่า ตกลง มาตรการนี้หักค่าลดหย่อนจากการกินเที่ยวได้เท่าไร แล้ว สามารถใช้สิทธิประโยชน์ตอนไหน หากช่วงเทศกาลสงกรานต์ใช้เป็นค่าที่พักไปแล้วแต่ไม่ครบ 15,000 บาท สามารถนำยอดที่เหลือ ซึ่งไปเที่ยวหลังเทศกาลมาหักลดหย่อนเพิ่มได้อีกหรือไม่

และตกลงวงเงินที่สามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีคือจำนวนเท่าไรกันแน่ 15,000 บาท หรือ 30,000 บาท
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า มาตรการหักลดหย่อนภาษีนี้มีมาตรการอะไรบ้าง สามารถใช้สิทธิอย่างไร ....


มาตรการภาษีที่ผ่านคณะรัฐมนตรี ที่เรียกว่าภาษีสงกรานต์ มี 2 มาตรการคือ


1. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ ตั้งแต่วันที่ 9-17 เม.ย. 2559 ย้ำ เป็นมาตรการที่ออกมาให้สิทธิสำหรับคนที่ไปกินอาหารนอกบ้าน หรือไปกินอาหารในสถานบริการต่างๆและไป เที่ยวพักโรงแรม หรือซื้อทัวร์ไปเที่ยวในประเทศเท่านั้น และ เป็นมาตรการที่ให้ใช้สิทธิ เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดคือ วันที่ 9 – 17 เม.ย. 2559 เท่านั้น
มาตรการนี้ใช้หลักการเหมือนกับ มาตรการ ช้อปช่วยชาติ ที่ออกมาในช่วงปีใหม่ที่ผ่านมา คือ ให้สิทธิสำหรับการไปจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตามระยะเวลาที่กำหนดเท่านั้น


เพื่อให้ชัดเจน สมมุติ เราซื้อทัวร์กับบริษัทจัดนำเที่ยวในประเทศ ในช่วงสงกรานต์เป็นเวลา 3 วันคือวันที่10-13เม.ย.59 ค่าแพ็คเกจท่องเที่ยวครั้งนี้ราคา 8,000 บาท หลังจากนั้น กลับมาบ้านพาครอบครัวไปกินอาหารในร้านอาหารฉลองวันครอบครัวอีก 2,000 บาท ในวันที่ 15 เม.ย. 59 หลังจากนั้น ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งมีวันหยุดยาว เราไปเที่ยวต่างจังหวัดโดยซื้อทัวร์เป็นเวลา 3 วัน ค่าแพ็คเกจราคา 5,000 บาท

เท่ากับ เราสามารถนำบิล ซึ่งต้องเป็นใบเสร็จเต็มรูปตามกำหนดของกรมสรรพากร จากบริษัททัวร์และร้านอาหาร มาใช้สำหรับหักค่าใช้จ่าย ในการเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งต้องยื่นในเดือน มกราคม ถึง เดือน มีนาคม 2560

จากตัวอย่าง ยอดที่นำมาหักลดหย่อนตามมาตรการนี้ คือ 10,000 บาท เท่านั้น ส่วนรายการที่เที่ยวในเดือนพฤษภาคมอีก 5,000 บาท ไม่สามารถใช้สิทธิตามมาตรการนี้ได้ แม้ว่า ตามมาตรการจะกำหนดสูงสุด 15,000 บาท ก็ตาม

แล้วค่าใช้จ่ายท่องเที่ยว 5,000 บาท ทำอย่างไร..?

2. แต่ทั้งนี้ ในการออกมาตรการของคณะรัฐมนตรีในคราวเดียวกันกับที่ออกมาตรการภาษีสงกรานต์ ได้มีการต่ออายุมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวและสัมมนาในประเทศ โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวพักโรงแรม ซื้อบริการจากบริษัทรับจัดการท่องเที่ยว ได้สูงสุด 15,000 บาท ออกมาอีก 1 ปี คือมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2559

ดังนั้น 5,000 บาท ที่ไปเที่ยวในเดือน พฤษภาคม 2559 เราสามารถนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีในการยื่นภาษีในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปีหน้าได้เช่นกัน

นอกจากนี้ รายการที่เราไปเที่ยวในช่วงก่อนหน้าตั้งแต่เดือน มกราคม และ หลังเดือน พฤษภาคม ยังสามารถนำใบเสร็จเต็มรูปแบบ มาใช้สำหรับลดหย่อนภาษีจนเต็มเพดาน 15,000 อีกด้วย

สรุปสั้นๆคือ

มาตรการภาษีสงกรานต์ หักลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท เฉพาะตั้งแต่ 9-17 เม.ย. 59(ใช้ไม่เต็มไม่สามารถนำไปใช้หลังได้)

มาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวและสัมมนาฯหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาท ได้ตั้งแต่1 ม.ค.- 31 ธ.ค. 59 คือไปเที่ยวพักโรงแรม หรือซื้อทัวร์กี่ครั้งใน 1 ปี ก็ได้ แต่นำมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15,000 บาทเท่านั้นครับ ...

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook