ร้านทองจ๊าก! เสียภาษีนิติบุคคล "ขายยา" โดนคิวต่อไป กันเลี่ยงจ่าย

ร้านทองจ๊าก! เสียภาษีนิติบุคคล "ขายยา" โดนคิวต่อไป กันเลี่ยงจ่าย

ร้านทองจ๊าก! เสียภาษีนิติบุคคล "ขายยา" โดนคิวต่อไป กันเลี่ยงจ่าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สรรพากรเล็งดึงร้านค้าทองคำทั่วประเทศจัดทะเบียนเป็นนิติบุคคลปีนี้ ร้านค้าส่งทองคำเข้าบัญชีตรวจสอบภาษีผู้ประกอบการรายใหญ่ ยันได้ประโยชน์กว่าบุคคลธรรมดา คิวต่อไปร้านขายยา

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่าหลังจากการสัมมนาร้านค้าทองและสมาคมที่เกี่ยวข้องกับการค้าทองคำ ในไทย เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้ข้อยุติว่า ร้านค้าทองคำทั้ง 7 พันกว่าแห่งทั่วประเทศ ที่เสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดาจะเปลี่ยนมาจดทะเบียนในนามนิติบุคคลทั้งหมด ภายในปีนี้ ส่วนร้านค้าส่งทองคำที่มี 75 รายนั้นก็จะเข้ามาอยู่ในบัญชีของการตรวจสอบภาษีผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้การตรวจสอบภาษีในต้นทางของธุรกิจค้าทองคำ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

"การที่ร้านค้าทองคำจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา เช่น ในกรณีราคาทองคำลดลง หรือกรณีร้านทองถูกปล้น ทำให้สูญเสียทองคำ หากเป็นนิติบุคคล ก็สามารถนำผลขาดทุนหรือความสูญเสียจากการถูกปล้นมาลงบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายได้ ขณะที่การเป็นบุคคลธรรมดา ทำไม่ได้" นายประสงค์ กล่าว

นายประสงค์ กล่าวว่านอกจากการดำเนินการกับร้านทองแล้ว กรมยังเตรียมขยายฐานไปยังร้านขายยาทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันเสียภาษีในลักษณะบุคคลธรรมดา กรมพยายามให้เข้ามาเสียภาษีในรูปแบบนิติบุคคล ซึ่งการเป็นนิติบุคคล เกิดผลดีกับร้านค้าเอง เพราะเมื่อขาดทุนจากการค้าขาย ก็ไม่มีภาระภาษี และสามารถหักผลขาดทุนดังกล่าวได้นานถึง 5 ปี หลังจากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจะสนับสนุนให้ร้านค้าเหล่านั้นจัดทำบัญชี เล่มเดียว เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมาก

และในอนาคตร้านค้าที่กู้เงินกับธนาคารต้องใช้บัญชีที่ยื่นเสียภาษีกับกรม สรรพากรในการกู้เงิน พร้อมกันนี้กรมเตรียมเชื่อมระบบภาษีเข้ากับระบบการรับจ่ายเงินด้วยอีเล็กทรอ นิกส์(อีเพย์เมนต์) ทำให้ข้อมูลการซื้อขายสินค้า และภาษีวิ่งตรงมาที่กรม ทำให้รู้ทันทีว่าใครเลี่ยงภาษีบ้าง

กรมต้องปรับระบบไอทีให้ทันสมัย ขึ้น รองรับอีเพย์เมนต์ โดยเปลี่ยนจากการใช้บุคลากร ในการควบคุมการจัดเก็บภาษี เป็นการใช้บุคลากร เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้เสียภาษี ส่วนการควบคุมการเสียภาษีนั้น จะควบคุมด้วยระบบไอที ซึ่งการพัฒนาระบบการบริหารจัดเก็บภาษีด้วยไอทีและนำอีเพย์เมนต์มาใช้จะทำให้ กรมมีรายได้เพิ่มขึ้นราว 5.9 หมื่นล้านบาท/ปี หลังจากนั้นเพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี หากการบริหารการจัดเก็บด้วยไอที มีประสิทธิภาพตามที่คาดหวังไว้ ในอนาคตอาจลดภาษีเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ลงมาอีกได้ รวมถึงไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(แวต) ที่ปัจจุบันอยู่ที่ 7 %

ที่มา นสพ.มติชนรายวัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook