6 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท ด้วยตัวเอง

6 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท ด้วยตัวเอง

6 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท ด้วยตัวเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับเพื่อนๆ ที่ได้ผันตัวเองมาริเริ่มกิจการที่เป็นของตัวเองนั้น มักคิดอยู่เสมอเลยว่าการจดทะเบียนบริษัทด้วยตนเองเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ซับซ้อนและเกินความสามารถของตัวเองอย่างแน่นอน จึงมักจะหาทางออกด้วยการไปเสียเงินจ้างผู้อื่นไปดำเนินการ หรือกระทำแทน ซึ่งบออกได้เลยว่าไม่จำเป็นเลยค่ะ สำหรับการจดทะเบียนบริษัทนั้นไม่ใช่เรื่องที่น่าปวดหัวอีกต่อไปด้วย 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. ก่อนอื่นเลยนั้นหากคุณต้องการจดทะเบียนบริษัท สิ่งแรกที่คุณต้องการทำคือ บริษัทต้องคิดชื่อบริษัทขึ้นมาเพื่อใช้ในการจอง โดยที่ชื่อเหล่านั้นจะต้องไม่ไปซ้ำ หรือคล้ายๆ กับบริษัทที่ได้ทำการจดทะเบียนไปแล้ว

สำหรับการจองต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าสามารถจองได้มากถึง 3 ชื่อ โดยจะมีการพิจารณาจากชื่อแรกไปยันชื่อสุดท้ายตามลำดับ สำหรับการยื่นจองเพื่อจดทะเบียนสามารถกระทำได้ 2 แบบคือ


• ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่ท่านอาศัยอยู่ แต่ถ้าเป็นกรณีที่อยู่ต่างจังหวัดไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่ กทม นะคะ คุณสามารถทำการยื่นได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด

• การจองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยที่คุณเองสามารถทำการกรอกข้อมูลที่ www.dbd.go.th


2. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน


หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่แสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท โดยมีเนื้อความที่ขึ้นต้นด้วยบริษัทและลงท้ายด้วยคำว่าจำกัด จะต้องมีการระบุที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนหุ้น และข้อมูลของผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คนด้วยนะคะ

สำหรับกฎเกณฑ์ในการการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ จะต้องไม่เกิน 30 วัน จากวันที่นายทะเบียนแจ้งผลรับรองชื่อ 

3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมดและนัดประชุม ทุกคนจะต้องมีหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้น หรือมากกว่านั้นก็ได้ แต่ละคนอาจซื้อหุ้นมากน้อยต่างกัน ซึ่งผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถซื้อหุ้นได้


เมื่อมีผู้ซื้อหุ้นครบแล้วจะต้องมีการออกหนังสือเพื่อทำการประชุมผู้ถือหุ้น โดยที่ระยะห่างอย่างน้อย 7 วันนับจากวันที่ออกหนังสือ


4. การประชุม จัดตั้ง จดทะเบียนบริษัท บอกไว้ก่อนเลยว่าข้อดีของการดำเนินการด้วยตัวเองนั้นจะช่วยเรื่องระยะเวลาที่สามารถย่นได้เข้าไปอีก สะดวกและรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลาในการติดต่อหรือประสานงานกับบุคคลที่สามที่เราทำการจ้างมา วาระในการประชุมจะประกอบด้วย


• สิ่งแรกที่สมควรเกรินเลยคือ การทำความตกลงตั้งข้อบังคับของบริษัท

• การเลือกตั้งกรรมการของบริษัท รวมไปถึงการกำหนดอำนาจกรรมการ

• ทำการเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้นนะคะ

• รับรองสัญญาที่ผู้เริ่มก่อการทำขึ้นก่อนที่บริษัท เพื่อประโยชน์ของบริษัท

• กำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ริเริ่มกิจการ

• กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ


5. คณะกรรมการที่เลือกมาจะดำเนินการต่อจากผู้ก่อตั้ง ด้วยการทำหน้าที่เก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาจริง เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว ก็จะทำการขอจดทะเบียนตั้งบริษัท แล้วยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่มีการประชุมแต่ ถ้าไม่จดทะเบียนตามระยะเวลาที่มีการกำหนดดังกล่าว จะถือว่าการประชุมครั้งนั้นเป็นโมฆะ ต้องจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม่อีกครั้ง


6. การชำระค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียมต่างๆในขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้


• ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธินั้น จะดำเนินการจากการคิดจากเงินทุนจำนวนแสนละ 50 บาท สำหรับข้อสงสัยที่คิดว่าเศษที่เหลือจากแสนล่ะ ไม่ต้องเป็นห่วงเลยค่ะเพราะเกินแสนไม่ว่าจะกี่บาทให้คิดเป็นแสนเลย สำหรับการชำระค่าธรรมเนียมเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงได้ไม่เกิน 25,000 บาท

• ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนตั้งบริษัท สำหรับการดำเนินการในช่วงนี้ให้คิดไปตามทุนการจดทะเบียนแสนละ 500 บาทเช่นกันค่ะ แต่จะมีข้อแตกต่างตรงที่ ในการจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท

• ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท

• ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท

• ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาทจะกี่หน้าก็ว่ากันไปนะคะ

• รับใบสำคัญและหนังสือรับรอง

• เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนและมอบหนังสือรับรองแล้ว ก็เป็นอันว่าบริษัทได้จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ โดยสมบูรณ์ทุกประการ


จะเห็นได้เลยว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอย่างที่คิด และที่สำคัญคุณจะไปเสียเงินหรือค่าใช้จ่ายที่บานปลายอยู่ทำไมในเมื่อมีทางเลือกที่ดีกว่า เร็วกว่า ซึ่งทุกวันนี้เป็นยุคเสรีที่สามารถทำการศึกษาหรือเรียนรู้ได้จากอินเตอร์เน็ต ลองกลับไปฝึกหรือทำกันดูนะคะ รับรองได้เลยว่าคุณจะไม่ปวดหัว หรือไกลตัวอย่างที่คิดแน่นอน เรารับประกันได้เลยจ้า


สำหรับเพื่อนๆ คนไหนที่เกรงว่าจะให้ระยะเวลาที่ยาวนาน บอกได้เลยว่ากินเวลาไปไม่เกิน 9 วันอย่างแน่นอน ซึ่งทุกวันนี้ได้มีการออกกฎขึ้นมาใหม่ โดยที่คุณเองสามารถทำการประชุมและดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้เลยภายในวันเดียวกัน ซึ่งสามารถย่นระยะเวลาให้เร็วเข้าไปอีก ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและเงินทองในการจ้างหรือการประสานงานอีกต่อไป

Advertorial

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook