หลักการคิด รีไฟแนนซ์บ้าน เริ่มจากตรงไหนให้คุ้มค่า ?
การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คือการกู้เงินก้อนใหม่เพื่อไปใช้คืนเงินกู้ก้อนเก่า เมื่อคิดจะ “รีไฟแนนซ์” ผู้กู้จะต้องคิดให้ดีว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากเงินก้อนใหม่ เช่น ได้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเดิม สามารถลดเงินต้นได้เร็วขึ้นเงินงวดต่อเดือนถูกลง เป็นต้น เวลาที่คิดจะรีไฟแนนซ์นั้น ผู้กู้ส่วนใหญ่มักจะมองไปที่เรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าแหล่งเงินกู้เดิมเท่านั้น แต่ที่จริงยังมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรีไฟแนนซ์ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องคำนึกถึงหากต้องการจะรีไฟแนนซ์ให้คุ้มค่า
พิจารณาว่าการรีไฟแนนซ์แต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่ ให้พิจารณาจากการประหยัดในส่วนต่างๆ ดังนี้
1.อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง โดยเทียบจากค่างวดที่ต้องผ่อนชำระ ระหว่างแหล่งเงินกู้เดิมกับแหล่งเงินกู้ใหม่ เพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม) หลังจากที่ครบ วาระดอกเบี้ยโปรโมชั่น อาจจะ 1 หรือ 3 ปี แล้วแต่โปรโมชั่นที่คุณรับมาจากธนาคาร เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยมักเป็นไปในลักษณะลอยตัว (MLR) หรือ ลอยตัวแล้วมีส่วนลด คือ MLR- ซึง MLR แต่ละธนาคารก็จะไม่เท่ากัน
ผู้ที่ต้องการจะรีไฟแนนซ์ก็ต้องมาตรวจสอบดูส่วนต่าง ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังจากรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ซึ่งทุกปี แต่ละธนาคารก็จะแข่งขันกันออกโปรโมชั่นดอกเบี้ย ดึงลูกค้ากันเอง เราก็ต้องมาคอยตรวจสอบว่าที่ไหนดี่ที่สุด เทียบกับที่เราใช้อยู่ บวกลบ แล้วมีกำไรคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายไปได้เลย
2. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์ หากเสียค่าใช้จ่ายน้อยแต่ประหยัดได้มากกว่าก็น่าจะรีไฟแนนซ์ได้ ฉะนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจ “รีไฟแนนซ์” คุณควรจะต้องพิจารณารายละเอียดในประเด็นต่อไปนี้ และชั่งน้ำหนักให้ดีว่า “คุ้ม” หรือไม่
ขั้นตอนของการเริ่มรีไฟแนนซ์บ้านจะเริ่มต้นอย่างไร
1.กรณียังผ่อนชำระต้องการรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อให้มีภาระผ่อนชำระน้อยลง (ไม่กู้เพิ่ม) กรณีนี้ท่านเพียงตรวจสอบกับธนาคารว่าที่ใดให้ อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด ก็ยื่นเอกสารกับธนาคารนั้นได้เลย
2.กรณียังผ่อนชำระรีไฟแนนซ์บ้านเพื่อนำส่วนต่างออกมาใช้จ่าย (กู้เพิ่มจากวงเงินเดิม) กรณีนี้ท่านมีภาระต้องดำเนินการอย่างน้อยสองประการคือ
2.1 ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยและ เงื่อนไขที่ดีที่สุด จากธนาคาร
2.2 ยื่นเอกสารกับธนาคารเป้าหมายอย่างน้อย 3 แห่งขึ้นไปหรือมากกว่า
2.3 เลื่อกเอาธนาคารที่ให้วงเงินสูงที่สุด
ใครมีสิทธิ์รีไฟแนนซ์ แบงก์ดูจากอะไร
"ประวัติการผ่อนชำระ" เป็นสิ่งแรกของคนที่ต้องการรีไฟแนนซ์ต้องตรวจสอบตัวเองว่าตลอดเวลาอย่างน้อย 6-12 เดือนที่ผ่านมา ประวัติการชำระค่างวดของคุณเป็นอย่างไร เพราะถ้าคุณเป็นประเภทขี้หลงขี้ลืม ผ่อนชำระไม่ตรงเวลาที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ หรือไม่ชำระค่างวดติดต่อกันสัก 2 งวดแล้วล่ะก็ ลืมเรื่องรีไฟแนนซ์ไปสถาบันการเงินอื่นได้เลย เพราะสถาบันการเงินบางแห่งกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า คนที่ต้องการย้ายจากสถาบันการเงินอื่นมาใช้บริการของเขา จะต้องมีประวัติการผ่อนชำระที่ดีติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 12 เดือน ขณะที่บางแห่งอาจจะระบุไว้เพียง 2-6 เดือน
ค่าใช่จ่ายที่จะเกิดจากการรีไฟแนนซ์
มีอยู่ 6 ข้อ ซึ่งลูกค้าแต่ละรายจะเสียไม่เท่ากัน เพราะนอกจาก สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราที่แตกต่างกันแล้ว ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอีกมากดังนี้
1. ค่าปรับให้กับสถาบันการเงินเดิม กรณีคืนหนี้ก่อนกำหนด ในกรณีที่สัญญาเงินกู้ยังไม่พ้น “ระยะต้องห้าม” คุณจะต้องจ่ายแน่ๆ แล้ว 2-3% ของยอดหนี้คงค้างหรือยอดหนี้ตามสัญญา
2. ค่าจดจำนองใหม่กับกรมที่ดิน อัตรา 1% ของราคาประเมินของกรมที่ดิน
3. ค่าประเมินราคา เป็นอัตราที่ธนาคารแต่ละแห่งกำหนดขึ้นมาในอัตราที่แตกต่างกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ประมาณ 2,500 บาท หรือ 0.24% ของราคาประเมิน ขณะที่สถาบันการเงินบางแห่งอาจจะยกเว้นให้ในบางกรณี เช่น บ้านที่ทำสัญญาเงินกู้ไม่เกิน 3 ปี หรือเป็นช่วงส่งเสริมการขายของสถาบันการเงินนั้น และถ้าเป็นการรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินเดิมอาจจะไม่ต้องประเมินราคาใหม่ก็ได้
4. ค่าธรรมเนียมเงินกู้กับสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งในสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ลอาจจะเรียกชื่อค่าธรรมเนียมนี้แตกต่างกัน และมีรายละเอียดค่าธรรมเนียมต่างกันด้วย บางแห่งอาจจะไม่มีรายการนี้เลยก็ได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยค่าธรรมเนียมเงินกู้จะอยู่ประมาณ 0.25-0.50% ของวงเงินกู้
5. ค่าประกันอัคคีภัย โดยปกติจะอยู่ประมาณ 0.1-0.2% ของวงเงินกู้ใหม่ อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินบางแห่งอาจจะกำหนดอัตราที่แตกต่างจากนี้ ซึ่งจากการทำประกันอัคคีภัยบ้าน จะทำเป็นรายปี เพราะฉะนั้นสำหรับคนที่เพิ่งต่ออายุกรมธรรม์ สามารถใช้กรมธรรม์เดิมได้โดยไม่ต้องทำประกันใหม่
6. ค่าอากรแสตมป์ ที่ผู้กู้จะต้องจ่ายในอัตรา 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ หรือ 10,000 บาทละ 5 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่สูงมากนัก ฉะนั้น บางคนอาจจะลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายตัวนี้ไปแล้ว คุ้มหรือไม่ ในปัจจุบันคุณคงหาสถาบันการเงินที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินเดิมถึง 3-5% ได้ค่อนข้างยาก เพราะส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้เคียงกัน ฉะนั้นหากคุณจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ทั้ง 6 ข้อข้างต้น คุณจะต้องจ่ายประมาณ 2.66-4.90% ซึ่งค่าใช้จ่ายหลักจะมาจากค่าปรับในการไถ่ถอนก่อนกำหนด
Advertorial
สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub