ปชป.อวด รัฐทำเศรษฐกิจขยายตัว 7.5%

ปชป.อวด รัฐทำเศรษฐกิจขยายตัว 7.5%

ปชป.อวด รัฐทำเศรษฐกิจขยายตัว 7.5%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พรรคประชาธิปัตย์ประเมินเศรษฐกิจในฐานะรัฐบาล ชี้ขยายตัวไม่ต่ำกว่า 7.5% เตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจโดยโครงการเมกกะโปรเจ็ก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้ประเมินมาตรการด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ในฐานะที่เป็นแกนนำรัฐบาลจะขับเคลื่อนให้มีการขยายตัวมากขึ้นไม่ต่ำกว่า 7.5% เพื่อสร้างความมั่นใจและฟื้นวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งได้ผลดีเกินเป้าที่คาดไว้

โดยมีดัชนีสำคัญ 5 ด้านที่รัฐต้องดำเนินในทิศทางที่ถูกต้อง คือ 1.การลงทุนภาคเอกชนที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเป็น 22% และเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีการลงทุนจากภาคเอกชน 2.เรื่องการส่งออกในปีนี้สามารถรักษาระดับอยู่ที่ 23-25% ซึ่งรัฐบาลจะละทิ้งไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องค่าเงินบาท 3.การสร้างความมั่นใจในตลาดทุน ตลาดหุ้น ที่มีดัชนีสูงสุดในรอบ 10 ปีและเชื่อว่าจะทะลุ 1,000 จุดภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่งต้องบริหารตลาดทุนที่มีทุนนอกเข้ามาหมุนเวียน แต่ต้องไม่ใช่แบบระยะสั้น ดังนั้น รัฐบาลต้องติดตามตลาดทุนและไม่ให้เกิดความผันผวน 4.ความเชื่อมั่นในครัวเรือนที่มีการบริโภคสูงขึ้น 6.7% และควบคู่กับการท่องเที่ยว ซึ่งสามารถทำให้การท่องเที่ยวสามารถฟื้นกลับมาได้เร็วกว่าที่คาดไว้ และ 5.ภาคการเกษตรที่ลดลงเล็กน้อย แต่เห็นได้ว่าระดับราคาสินค้าเกษตรยังขยายตัวอยู่ที่ 28.8% ซึ่งมีผลมาจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกและการประกันรายได้ของรัฐบาล
      
       นพ.บุรณัชย์กล่าวว่า แม้ว่าการบริหารของภาครัฐทั้งหมดจะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งสำคัญคือค่าเงินบาท เพราะจะเห็นได้ว่า 9 เดือนแรกของปี 53 มีการแข็งตัวขึ้นถึง 9.08% ซึ่งถือว่าเป็นการแข็งตัวของค่าเงินมากกว่าประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียว และขณะนี้มีการแข็งตัวอย่างต่อเนื่อง 45 วัน ดังนั้น การดำเนินนโยบายด้านการเงินของรัฐบาลต้องพุ่งเป้าไปการควบคุมเงินเฟ้อให้ อยู่ในระดับที่จะสามารถทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนได้ ซึ่งทางรัฐบาลได้หารือกับธนาคารแห่งประเทศควบคุมไม่ให้สูงไปมากกว่านี้

 

ดังนั้น การสร้างสมดุลของค่าเงินบาทให้สัมพันธ์การส่งออกต้องไม่ลดลง แต่มีการส่งสัญญาณว่าการส่งออกเริ่มมีการชะลอตัว เนื่องจากรายได้ที่ได้รับจากการส่งออกไม่คุ้มค่ากับต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยก็จะมีผลต่อการไหลเวียนของเงินลงทุนด้วย ซึ่งเศรษฐกิจไทยจะต้องมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาล เอกชน หรือรัฐบาลกับเอกชนร่วมกัน โดยเฉพาะโครงการเมกกะโปรเจ็ก เช่น รถไฟฟ้าความเร็วสูง และการประมูลโครงการ 3 จี ที่คณะกรรมการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี 2554 ดังนั้น หากเพิ่มการแข่งขันและลดต้นทุนได้ประเทศไทยจะก้าวกระโดดขึ้นไปอยู่ในระดับ ต้นๆ ของภูมิภาคเอเชียได้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต้องพัฒนาควบคู่ไปกับเศรษฐกิจโลกภายใต้ การบริหารงานของรัฐบาล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook