ตารางคำนวณแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ ที่ไม่หักลดหย่อน จะเสียภาษีเท่าไหร่? ห้ามพลาด!!
สวัสดีครับเพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกๆท่าน พบกับพวกเราทีมงาน Moneyhub กันอีกแล้วครับ ซึ่งจากบทความที่แล้วนั้น หลังจากที่พวกเราทราบข่าวดีของ การปรับโครงสร้างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560 กันไปแล้วโดยสามารถหักค่าใช้จ่ายเพิ่มได้ 100,000 บาท และใครที่มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง ครับ ซึ่งทำให้มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ จะได้มีเงินใช้จ่ายมากขึ้น หรือ เก็บออมกันมากขึ้นนั่นเองครับ
ถ้าจะพูดถึง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ การเสียภาษี ที่เราๆเรียกกันนั่นแหละครับ ซึ่งหลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่าใครมีหน้าที่ต้องเสียบ้าง ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น บุคคลธรรมดา, ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล, ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี, กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และ วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน นั่นเองครับ
การปรับโครงสร้างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560 มีอะไรใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปบ้าง ?
เพื่อนๆพอทราบกันแล้วใช้ไหมครับว่า การปรับโครงสร้างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 60 นี้ มีจุดเด่นๆก็ตรงที่ ใครที่มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาทนั้น ไม่ต้องเสียภาษี แต่ยังมีค่าลดหย่อนใหม่ กับ โครงสร้างการการจัดเก็บภาษีที่เปลี่ยนแปลงไปครับ เรามาเริ่มกันที่ ค่าลดหย่อนใหม่กันเลยเลยครับ ซึ่งจะมีอะไรแตกต่างจากเดิมบ้าง พวกเราไปดูกันเลครับ
- สำหรับผู้มีเงินได้ส่วนบุคคลจากเดิม 30,000 บาท เพิ่มเป็น 60,000 บาทต่อปีครับ
- สำหรับคู่สมรสจากเดิม 30,000 บาท เพิ่มเป็น 60,000 บาทนั่นเองครับ
- สำหรับค่าลดหย่อนจากการมีบุตร จากเดิมลดหย่อนบุตรคนละ 15,000 บาท ไม่เกิน 3 คนนั้น จะเพิ่มเป็นหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท ซึ่งไม่จำกัดจำนวนบุตรครับ อีกทั้งยังยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตรด้วยครับ
- สำหรับคู่สมรสต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 120,000 บาท
- สำหรับกองมรดก จากเดิม 30,000 บาท ปรับเป็น 60,000 บาทครับ
- สำหรับห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล จากเดิมหุ้นส่วนคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท ปรับเป็นให้หักลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาทครับ
จากการเปลี่ยนแปลงเรื่อง ค่าลดหย่อนใหม่ นั้น มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีเลยล่ะครับ สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีใหม่นี้ถือว่าเป็นเรื่องดีมากๆเลยครับ ต่อไปเราไปดูกันดีกว่าว่า โครงสร้างการการจัดเก็บภาษีแบบใหม่นั้นจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง พวกเราไปดูกันเลยครับ
- สำหรับเพื่อนๆที่รายได้ไม่ถึง 150,000 บาท ต่อปี จะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 150,001-300,000 บาท ต่อปี จะต้องเสียภาษี 5%
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 300,0001-500,000 บาท ต่อปี จะต้องเสียภาษี 10%
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 500,001-750,000 บาท ต่อปี จะต้องเสียภาษี 15%
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 750,001-1,000,000 บาท ต่อปี จะต้องเสียภาษี 20%
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 1,000,001-2,000,000 บาท ต่อปี จะต้องเสียภาษี 25%
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 2,000,001-5,000,000 บาท ต่อปี จะต้องเสียภาษี 30%
- สำหรับเพื่อนๆที่มีรายได้ 5,000,001 บาทขึ้นไป ต่อปี จะต้องเสียภาษี 35%
ซึ่งสำหรับเพื่อนๆที่จะต้องเสียภาษี โดยไม่หักค่าลดหย่อนอะไรเลยจะต้องจ่ายเท่าไหร่บ้าง ไม่ต้องกังวลไปครับ เพราะพวกเราทีมงาน Moneyhub ได้สรุปรายจ่าย สำหรับพนักงานหรือผู้ที่เงินเดือนรายได้อื่นๆ ตรงตามเงื่อนไขที่จะต้องเสียภาษีในปี 2560 ครับ ซึ่งการที่เราต้องเสียภาษีนั้นจะต้องจ่ายเท่าไหร่ พวกเราได้คำนวณไว้ให้คร่าวๆกันแล้วครับ ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างนั้น สำหรับเพื่อนๆที่ไม่หักลดหย่อนอะไรเลย จะได้เสียภาษีตามข้อมูลในตารางครับ
จากตารางข้างต้น แสดงให้เห็นการคำนวณการเสียภาษีคร่าวๆของเพื่อนๆที่ไม่หักลดหย่อนอะไรเลยครับ ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560 นี้เกิดผลดีกับเพื่อนๆอย่างแน่นอนครับ เรื่องเด่นๆก็คือ ใครที่มีเงินเดือนไม่ถึง 26,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเองแหละครับ ส่วนเพื่อนๆที่เงินเดือนตามเงื่อนไขที่จะต้องเสีย ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับประเทศเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ ในส่วนต่างๆนั่นเองครับ อีกทั้งการลดหย่อนแบบนี้ทำให้เพื่อนๆที่มีภาระได้เบาใจขึ้น มีเงินเก็บมากขึ้น เงินใช้จ่ายต่างๆมากขึ้น เพื่อใช้จ่ายสำหรับครอบครัวของเราด้วยแล้วการมีเงินสำรองต่างๆ รายจ่ายน้อยลงก็ถือว่าดีมากๆเลยล่ะครับ
สุดท้ายนี้ถ้าหากเพื่อนๆ ชื่นชอบหรืออยากจะแบ่งให้เพื่อนๆอ่าน บทความดีๆแบบนี้ล่ะก็แชร์กันได้ตามสะดวกเลยครับ เพื่อเพื่อนๆพี่ๆน้องๆท่านอื่นๆที่ยังไม่รู้ข่าวเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปี 2560นี้ ได้ศึกษาข้อมูลที่ดีๆมีสาระแบบนี้ครับ พวกเราทีมงาน Moneyhub หวังว่าบทความของพวกเราจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกๆท่านนะครับ สำหรับวันนี้พวกเราขอลาไปก่อนครับ สวัสดีครับ
Advertorial
สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub