6 ค่าใช้จ่ายสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่ต้องคิดก่อนยื่นกู้

6 ค่าใช้จ่ายสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่ต้องคิดก่อนยื่นกู้

6 ค่าใช้จ่ายสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านที่ต้องคิดก่อนยื่นกู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอาจทำให้พนักงานเงินเดือนบางรายหรือแม้แต่เจ้าของกิจการหมุนเงินไม่คล่อง, รายจ่ายอัดแน่น และประสบปัญหาในการผ่อนชำระหนี้ค่าบ้าน หรือคอนโดต่อไม่ไหว ซึ่งผู้กู้สามารถยื่นความต้องการที่จะขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านได้ โดยอาจจะเป็นการกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อมาปิดบัญชีกับที่เดิม หรืออาจจะเป็นการกู้หนี้จากสถาบันการเงินแห่งเดิมเพื่อขยายเวลาชำระหนี้ออกไป พร้อม ๆ กับยอดการผ่อนต่องวดที่ลดลง เช่น

สมมุติว่าผู้กู้ได้ผ่อนชำระค่าบ้าน หรือคอนโดมาอย่างต่อเนื่อง 2 ปี ภายใต้กรอบการผ่อนชำระทั้งสิ้น 5 ปี แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 ขณะที่ผู้กู้ยังผ่อนชำระค่าบ้านหรือคอนโดไม่หมด แต่กลับประสบปัญหาว่างงาน จึงไม่สามารถทำการผ่อนในอัตราเดิมได้เช่นเคย ผู้กู้ก็สามารถยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านใหม่กับสถาบันการเงินแห่งเดิม หรือรายใหม่ก็ได้

ทั้งนี้ ผู้ขอกู้สามารถนำยอดเงินที่ยังต้องผ่อนชำระทั้งหมดมาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ได้ อย่างในกรณีที่ผู้กู้ผ่อนชำระมาแล้ว 2 ปี เป็นเงิน 2,000,000 บาท คงเหลือระยะเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีก 3 ปี หรือค้างชำระอยู่อีกประมาณ 3,000,000 บาท ทางสถาบันการเงินก็จะจัดรีไฟแนนซ์ใน 3 ปีหลังนี้ให้ โดยขยายระยะเวลาให้ยาวขึ้น เพื่อที่ผู้กู้จะได้สามารถชำระค่างวดน้อยลง

ดังนั้น เพื่อทางออกที่ดีที่สุดในการบริหารเงินให้มีประสิทธิภาพ หากผู้กู้ต้องการจัดรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ ไม่เพียงจะต้องยอมรับสภาพหนี้ระยะยาวที่จะตามมาเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาถึงอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ถูกกว่าและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอรีไฟแนนซ์บ้าน ซึ่งประกอบด้วย


1. ค่าเบี้ยปรับจากการไถ่ถอนก่อนกำหนดกับสถาบันการเงินเดิม : ในการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน ผู้กู้จะต้องรับภาระค่าปรับในการขอคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญาเดิมที่มีอยู่ หรือคิดเป็นค่าปรับเฉลี่ยที่อัตราระหว่างร้อยละ 1 – 5 ของวงเงินที่ขอกู้ หรือวงเงินต้นที่คงเหลือ ทั้งนี้ บางสถาบันการเงินก็ไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ซึ่งมักจะจ่ายชำระให้กับสถาบันการเงินที่ให้กู้เดิม ในกรณีที่กู้เต็มจำนวนก่อนที่จะครบ 3 ปี ตามกำหนด


2. ค่าธรรมเนียมในการจำนองกับกรมที่ดิน : สำหรับการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านแต่ละครั้ง ผู้กู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมการจดจำนอง ซึ่งคิดเป็นเงินร้อยละ 1 ของวงเงินที่ยื่นขอกู้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยจะเป็นการจ่ายชำระให้กับกรมที่ดิน เว้นแต่จะเป็นการจัดรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินเดิม ผู้กู้ก็ไม่จำเป็นต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนนี้


3. ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ของสถาบันการเงินแห่งใหม่ : สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดสินเชื่อรีไฟแนนซ์ในสัญญาฉบับใหม่นั้น บางสถาบันการเงินก็จะไม่ได้เรียกเก็บ ในขณะที่บางแห่งก็จะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมปล่อยกู้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 0 – 3 ของวงเงินกู้ใหม่ โดยผู้กู้จะต้องจ่ายชำระให้กับทางสถาบันการเงินแห่งใหม่นั่นเอง


4. ค่าประเมินราคาของหลักประกัน : โดยทั่ว ๆ ไป ทางสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แห่งใหม่จะคำนวณราคาของหลักประกันจากทำเลของหลักประกัน, จำนวนวงเงินที่ขอกู้และอิงตามราคาประเมินของกรมที่ดิน ซึ่งจะเฉลี่ยอยู่ตั้งแต่ร้อยละ 0.25 – 2 ของราคาประเมินจากกรมที่ดิน หรือคิดเป็นจำนวนเงินตั้งแต่ 1,500 ถึง 10,000 บาท อย่างไรก็ดี หากผู้กู้ต้องการขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านกับทางสถาบันการเงินเดิม ก็อาจไม่จำเป็นต้องชำระค่าประเมินในส่วนนี้


5. ค่าอากรแสตมป์ตามวงเงินกู้ที่ยื่นขอ : สำหรับการยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านทุกครั้ง ผู้กู้จะมีหน้าที่การจ่ายค่าอากรแสตมป์ ซึ่งคิดจากยอดวงเงินกู้ที่ยื่นขอไว้ ในอัตราร้อยละ 0.05 ของวงเงินขอกู้ใหม่


6. ค่าประกันอัคคีภัยกับสถาบันการเงินแห่งใหม่: ไม่ว่าผู้กู้จะยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้านจากสถาบันการเงินเดิมหรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ก็ตาม ค่าทำประกันอัคคีภัยเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้กู้จะต้องชำระ โดยจะคิดจากมูลค่าของหลักประกัน หรือ บ้าน เช่น หากบ้านมีมูลค่า 1 ล้านบาท ค่าประกันอัคคีภัยจะเฉลี่ยอยู่ที่ราว ๆ 2,000 บาท ทั้งนี้ อัตราค่าประกันอัคคีภัยของสถาบันการเงินแต่ละแห่งอาจจะไม่เท่ากัน ผู้กู้จึงต้องพิจารณาจากนโยบายของแต่ละสถาบันการเงินเป็นสำคัญ


อย่างไรก็ดี แม้ว่าการยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านและคอนโดจะช่วยให้ผู้กู้สามารถจ่ายดอกเบี้ยในจำนวนที่น้อยลงและค่างวดที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนลดลงก็ตาม แต่ระยะเวลาผ่อนชำระก็จะขยายออกนานขึ้น หรือเท่ากับมีภาระหนี้ระยะยาวขึ้นนั่นเอง ทำให้ผู้กู้ต้องรักษาสมดุลระหว่างส่วนต่างที่จะประหยัดขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และนำมาเปรียบเทียบกับค่างวดที่ผู้กู้ต้องผ่อนชำระกับสถาบันการเงินเดิมหรือสถาบันการเงินแห่งใหม่ว่ามีข้อแตกต่างที่ดีกว่าอย่างคุ้มค่าหรือไม่

ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บในขั้นตอนการขอรีไฟแนนซ์ด้วย ก็จะพบว่าจุดคุ้มทุนของการรีไฟแนนซ์ครั้งนั้นอยู่ที่ตรงไหน ซึ่งหากผู้กู้พิจารณาจากค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระและอัตราดอกเบี้ยที่ได้ถูกลงแล้ว นับเป็นข้อเสนอที่ลงตัวก็สามารถยื่นขอกู้ได้ เพื่อสร้างสภาพคล่องทางการเงินและยังเป็นการรักษาเครดิตของผู้กู้เองอีกด้วยที่จะได้ไม่ต้องผิดนัดชำระกับทางสถาบันการเงิน จริงไหม

Advertorial

สนับสนุนเนื้อหาโดย MoneyHub

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook